ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระ ราชทาน ได้จัดโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง ปี พ.ศ.2565 โดยมีแนวความคิด คือ ดำเนินการสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติมจังหวัดละ 1 แห่ง ลักษณะการดำเนินงานเป็นการลงแขกเอามื้อสามัคคี ให้แต่ละหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุน คน เครื่องจักรงบประมาณ โดยประชาชนมีส่วนร่วมจังหวัดอุบลราชธานีทจึงได้คัดเลือก ห้วยสาธารณะคำปลากั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นโครงการนำร่อง และจะได้ขยายผลไปในทุกอำเภอ อย่างน้อยอำเภอละ ๑ แห่ง พื้นที่การดำเนินโครงการ ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 100 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์ จำนวน ๖๐๐ ไร่ อีกทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ด้วยสำนึก ด้วยสำนึกในพระมหากรุ ณาธิคุณ ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี จะยึดมั่นในการปฏิบัติดี รักษาชาติบ้านเมือง และสร้างสรรค์คุณประ โยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนสนองพระมหากรุณาธิคุณอันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี การน้อมนำแนวพระราชดำริ มาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและความร่วมมือร่วมใจกันทำความดีด้วยหัวใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน
โดยในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี วันนี้ 21 มีนาคม 2565 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราช ธานี เป็นประธาน เปิดกิจกรรมจิตอาสาเฉพาะกิจ โครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง ปี พ.ศ.2565 ณ ห้วยสาธารณะคำปลากั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลนาโพธิ์อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายสมเพชร สร้อยสระคู นายศุภภิมิตร เปาริก นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการภาครัฐ ภาคเอกชน จิตอาสา 904 จิตอาสาพระ ราชทาน และพี่น้องประชาชนชาวอุบลราชธานี ได้พร้อมใจกัน ดำเนินโครงการจิตอาสาเฉพาะกิจโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง ปี พ.ศ.2565 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ กล่าวว่า โครงการจิตอาสาต้านภัยแล้งในวันนี้ เป็นการขุดลอกคลองสาธารณะประ โยชน์ที่ตื้นเขิน กำจัดวัชพืชที่ขึ้นกีด ขวางทางน้ำ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 300 เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้แหล่งน้ำดังกล่าว สามารถกับเก็บน้ำได้ ชาวบ้านกว่า 100 หลังคาเรือน 11 หมู่บ้านจะได้ใช้ประโยชน์ สามารถสูบน้ำมาทำการเกษตรกร และเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติของชาวบ้านต่อไป.
Discussion about this post