วันนี้ 29 มี.ค.65 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานประชุม ซักซ้อมการ ขับเคลื่อนดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐ กิจพอเพียงในระดับพื้นที่ โดยมี นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายพูลทรัพย์ สมบูรณ์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายอำเภอ 11 อำเภอ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างมีประสิทธิ ภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรมและเกิดการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในทุกมิติ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ โดยมีกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบาย โดยคณะกรรมการฯ ระดับชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ไปจนถึง ระดับจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติในระดับตำบล และได้มีการตั้ง “ทีมพี่เลี้ยง” ดูแลในระดับพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP เป็นฐานข้อมูลในการขับเคลื่อน ซึ่งในปี 2565 จังหวัดฉะเชิง เทรา มีคนจนเป้าหมายในระบบ 6,461 ครัวเรือน
โดยเรื่องนี้ ถือเป็นวาระแห่งชาติ วาระจังหวัด วาระอำเภอ ที่ต้องมุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเทขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยบูรณาการกลไก/เครือข่ายในพื้นที่ ร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหา จับมือกลไกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยนายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ทีมปฏิบัติการตำบล และ “ทีมพี่เลี้ยง” ต้องวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก ด้วยการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
ทีมปฏิบัติการตำบล จึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจให้ทีมพี่เลี้ยงไปสำรวจให้รู้ปัญหา รู้แนวทางการทำงาน และวิเคราะห์ปัญหาทั้ง หมดให้ออกมา ด้วยการนำข้อมูลบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมายจากระบบ TPMAP ไปกำหนดแนวทางการแก้ ไขปัญหาร่วมกับครัวเรือน พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ ดูแลอย่างใกล้ชิด และบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง ศจพ.อำเภอ ต้องมีความเข้าใจ “เมนูแก้จน” ทั้ง 5 เมนู รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้า โดยนายอำเภอเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบูรณาการร่วมกัน.
Discussion about this post