
กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดกิจกรรม Army Farm Army Chef กองทัพภาคที่ 3 ตามนโยบายกองทัพบก ในแนวความคิด “ครอบครัวกองทัพบก ประ กอบอาหารอร่อย โภชนาการดี มีความพอเพียง”
วันที่ 28 เมษายน 2565 กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดกิจกรรม Army Farm Army Chef กองทัพภาคที่ 3 ตามนโยบายกองทัพบก ในแนวความคิด “ครอบครัวกองทัพบก ประกอบอาหารอร่อย โภชนาการดี มีความพอเพียง” ณ พลับพลาเกษตรเขาฟ้า โครงการทหารพันธุ์ดี กองพลพัฒนาที่ ๓ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พลเอก อุกฤษฎ์ นุตคำแหง ที่ปรึกษาพิเศษผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในการเปิดการแข่งขัน การประกอบอาหารจะนำวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษจากโครงการพระราชดำริ “โครงการทหารพันธุ์ดี กองทัพภาคที่ 3” มาประกอบอาหารเพื่อฝึกฝนการทำอาหาร แบบเรียบง่าย ปรุงสุก ใหม่ สด สะอาด อุดมไปด้วยโภชนาการที่ดี มีรสชาดอร่อย และราคาประหยัด บนรถครัวสนามของกองทัพบก สำหรับมอบให้กับพี่น้องประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้เกิดขึ้น โดยได้เชิญข้าราชการและทหารกองประจำการ หรือนักศึกษาวิชาทหาร ที่เป็นสุดยอดฝีมือพ่อครัว รถครัวสนามของกองทัพบก หน่วยละ 3 นาย จากทั่วภาคเหนือ ใน 15 หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3 มาฝึกฝนและแข่งขันพัฒนาฝีมือด้วยการประกอบอาหาร ตามเมนูต่างๆ ที่นำวัตถุดิบมาจากโครงการแปลงเกษตรกรทหารพันธุ์ดีตามหน่วยต่างๆที่ขึ้นตรง มาทำอาหารตามเมนูต่างๆ อาทิ ต้มยำไก่บ้าน น้ำพริกผักสด ปลาทอด หลามไก่ ปลานึ่ง เป็นต้น

สำหรับรถครัวสนามของกองทัพบก นั้น เกิดจากดำริของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (เมื่อปี 2553) และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 จึงได้สั่งการให้ปรับปรุงรถครัวสนามเป็นรถบรร ทุกที่มีอุปกรณ์จำเป็นในการประกอบอาหารครบถ้วนในรถคันเดียว เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ในการปฏิบัติภารกิจของทางราชการ ทั้งงานในราชการสนาม และประกอบเลี้ยง ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยหรือตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการสร้างเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ ติดกล้องสำหรับมองภาพด้านหน้า/หลัง ด้านหลังติดไฟพรางทางยุทธวิธี มีอุปกรณ์สำหรับประกอบเลี้ยง และชุดเลี้ยงดูวางอยู่ในตำแหน่งส่วนบรรทุกส่วนครัวทั้งด้านขวาและด้านซ้าย โดยส่วนบรรทุกส่วนครัวด้านขวาประกอบด้วยอ่างล้างจาน, ปั๊มน้ำพร้อมอุปกรณ์และระบบเชื่อมต่อน้ำภายนอก, หัวเตาแก๊ส 2 หัวเตาพร้อม โครง, เตาสำหรับวางกระทะและหม้อต้ม, เตาทอดอาหารแบบ Deep– Frying, ตู้เก็บของ และถังเก็บน้ำดื่มขนาดไม่น้อยกว่า 200 ลิตร ชนิดเปิด – ปิดด้วยเท้าเหยียบ สำหรับส่วนครัวด้านซ้ายประกอบด้วยถังบรรจข้าว สารขนาด 60 กิโลกรัม, หม้อหุงข้าวแบบใช้แก๊สขนาดความจุ 10 ลิตร จำนวน 4 หม้อ, ตู้เก็บของและ ถังแก๊สขนาดความจุแก๊ส 48 กิโลกรัม จำนวน 4 ถัง, ตู้แช่แบบบานเปิด 4 บาน ความจุ 36 คิวบิก, ตู้เก็บของ, ถังหูหิ้ว กระทะใบบัว, หม้อต้ม, เครื่องบด/สับอาหาร, โต๊ะประกอบเลี้ยง และมีระบบไฟส่องสว่างในจุดต่างๆ ของตัวรถ โดยรถครัวสนาม 1 คัน จะมีเจ้าหน้าที่ทหารประจำรถ ทั้งหมด 12 นาย โดยประสิทธิภาพของรถครัวสนามคันนี้ทำให้สามารถผลิตข้าวกล่อง (Box Set) ได้ถึง 3,000 กล่อง/มื้อ/คัน เลยทีเดียว
ทั้งนี้การปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยยึดถือหลัก DMHTT อย่างเคร่งครัด.
Discussion about this post