
วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจการคัดสรรฯ แก่คณะกรรมการและคณะทำงานดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางจุฑาธิป วรรณสาย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และคณะกรรมการฯ ตามคำสั่งจังหวัดอุบลราชธานี ที่ 17810/2565 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เข้าร่วมการประชุมฯ ณ ห้องประชุมอาคารอำนวยการ ชั้น 2 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) ให้รับผิดชอบดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิต ภัณฑ์ (OTOP Product Champion) ต่อเนื่องจากการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุน ให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีโอกาสพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีมาตรฐานในระดับสากล
โอกาสนี้ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวในที่ประชุมฯ ถึงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) ระดับจังหวัด ถือเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้มีโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ส่งเสริมชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานในระดับสากล และเป็นการเตรียมความพร้อมในการคัดสรรฯ ระดับประเทศ
ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำโครง การการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) ระดับจังหวัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนา (Product Development) ระดับประเทศ และจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประชาสัม พันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิต ภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไปจนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ขณะที่ นายพิสดาร ประดา พัฒนา การจังหวัดอุบลราชธานี และนางจุฑาธิป วรรณสาย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบล ราชธานี ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ได้แจ้งผลการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปี 2562 จังหวัดอุบลราชธานี แยกเป็น ระดับ 1 ดาว 21 ผลิตภัณฑ์, ระดับ 2 ดาว 85 ผลิตภัณฑ์, ระดับ 3 ดาว 329 ผลิตภัณฑ์, ระดับ 4 ดาว 275 ผลิตภัณฑ์ และระดับ 5 ดาว 83 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังได้แจ้งสรุปจำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP ที่จะสมัครเข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย จังหวัดอุบล ราชธานี ปี พ.ศ.2565 ซึ่งประกอบด้วย ประเภทอาหาร 149 รายการ, เครื่องดื่ม 7 รายการ, ผ้าและเครื่องแต่งกาย 218 รายการ, ของใช้ 232 รายการ และประเภทสมุนไพร 18 รายการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 624 รายการ
นอกจากนั้น พัฒนาการจังหวัดอุบล ราชธานี และฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ยังได้แจ้ง Roadmap การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิต ภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) ระดับจังหวัด รวมถึงคู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรร และข้อเน้นย้ำในการพิจารณาให้คะแนนผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถามของคณะกรรมการฯ ก่อนนัดหมายการเข้าร่วมคัดสรรฯ ในวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมค้ำคูณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ต่อไป.
Discussion about this post