
เมื่อวันที่ 13 พ.ค.65 ที่ศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล บ้านปากตะโล้ หมู่ที่ 2 ต.บ่อนอก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการ จ.ประจวบฯ เป็นประธานเปิดงานวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2565 (วันวิสาขบูชา) กิจกรรมปลูกต้นไม้และปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ภายใต้ชื่อ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” สืบสานสู่ 100 ล้านต้น โดยมี ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายดำรงค์ มากระจัน พัฒน าการ จ.ประจวบฯ คณะสงฆ์จากวัดบ่อนอก เครือข่ายผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น คณะครู/นักเรียน และประชาชนราว 200 คน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง พะยูง ตะแบก เพกา มะฮอกกานี และอื่นๆ จำนวน 500 ต้น และกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ได้แก่ การหว่านปอเทือง การห่มดินด้วยฟาง และปลูกผักสวนครัว เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์กล้าไม้จากศูนย์เพาะชำกล้าไม้ประจวบฯ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบฯ สนับสนุนปอเทือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อนอกสนับสนุนน้ำเพื่อรดต้นไม้

ด้วยคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2532 กำหนดให้ วันวิสาข บูชาของทุกปี เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อเป็นการสร้างและกระ ตุ้นจิตสำนึกให้ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็น การปลูกป่าในใจคน อีกทั้งช่วยป้อง กันและลดผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงทางสภาพภูมิอากาศ ลดมลภาวะเป็นพิษจากฝุ่นและหมอกควัน โดยวันวิสาขบูชาอยู่ในเดือนพฤษภาคมและเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการปลูกต้นไม้ จังหวัประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2565 วันวิสาขบูชา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ภายใต้ชื่อ “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” สืบสานสู่ 100 ล้านต้น อีกทั้งเพื่อเฉลิมพระ เกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมกันตั้งปณิธานทำความดีและกระทำความดีเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว องค์กรและประเทศชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ให้มีความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมาดังเดิม และเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ตามหลัก “บวร” ในการร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน.
Discussion about this post