
นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี เยี่ยมให้กำลังใจและมอบแนวทางการดำเนินงานแก่คณะกรรมการและคณะทำงานรับผิดชอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) จังหวัดอุบลราช ธานี ในการพิจารณาตรวจสอบและกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ โดยมี นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นายวิลาศ บุญโต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์จากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้ประกอบการ OTOP ในจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมดำเนินการคัดสรรผลิตภัณฑ์ฯ ณ ห้องประชุมค้ำคูณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบล ราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาด ไทย ได้รับมอบหมายจากคณะกรรม การอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิต ภัณฑ์แห่งชาติ (กอ. นตผ.) ให้ดำเนินโครงการคัดสรร สุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion : OPC) ปี พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับผลิต ภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนา (Product Development) ระดับประเทศ และจัดระบบฐานข้อ มูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไปจนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดกระ บวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประ กอบการ OTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ กลุ่มอาชีพ กลุ่มสัมมาชีพชุมชน ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประ กอบการ OTOP ได้เข้าร่วมคัดสรรฯ นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
สำหรับการคัดสรรฯ ในปี 2565 นี้ ได้มีการกลั่นกรอง ให้ค่าคะแนนโดยใช้หลักเกณฑ์พิจารณาเฉพาะแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1)หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน 2)หลักเกณฑ์ด้านการตลาด ความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และ 3)หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ ซึ่งจะมีการแบ่งเป็นระดับการคัดสรรฯ ดังนี้ ระดับ 1 ดาว หมายถึง เป็นสินค้าที่ยังไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาว ได้ เนื่องจากมีจุดอ่อนมากและพัฒนายาก, ระดับ 2 ดาว หมายถึง เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ, ระดับ 3 ดาว หมายถึง เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ระดับกลาง ที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาว ได้, ระดับ 4 ดาว หมายถึง เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล และระดับ 5 ดาว หมายถึง เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานหรือมีศักยภาพในการส่งออก
ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี มีขั้นตอนกระบวนการหรือ Road map ในการดำเนินงาน ได้แก่ อำเภอดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ 1-10 พฤษภาคม 2565, ประชุมชี้แจงกรอบแนวทางแก่เจ้าหน้าที่ พช. กลุ่ม OTOP เครือข่าย OTOP และกรรม การคัดสรรฯ วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2565, อำเภอดำเนินการรับสมัครผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรรฯ วันที่ 11-13 พฤษภาคม 2565, อำเภอนำส่งผลิตภัณฑ์ให้จังหวัดฯ วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี, ซึ่งจังหวัดฯ ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบและกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ก่อนพิจารณารับรองผลิตภัณฑ์ให้กรมการพัฒนาชุมชน 24-25 พฤษภาคม 2565

ซึ่งการคัดสรรฯ ในครั้งนี้นั้น มีผลิต ภัณฑ์ OTOP ที่เข้ารับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 660 ผลิต ภัณฑ์ แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1)ประเภทผ้าและเครื่องกาย จำนวน 255 ผลิตภัณฑ์ 2)ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก จำนวน 219 ผลิตภัณฑ์ 3)ประเภทอาหาร จำนวน 150 ผลิตภัณฑ์ 4)ประเภทเครื่องดื่ม จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ และ 5) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 26 ผลิตภัณฑ์ โดยประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีการสมัครเข้ารับการคัดสรรฯ มากที่สุดในครั้งนี้ คือประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายเนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มทอผ้าพื้นถิ่นที่มีคุณค่า เป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี ในการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทย ศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยให้ชาวโลกได้ชื่นชม และยังเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้ประชาชนเพิ่มมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การดำเนินการพิจารณาตรวจสอบและกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ ในการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิต ภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 จะดำเนินการอีก 1 วัน คือวันที่ 19 มกราคม 2565 ซึ่งจะทำการพิจารณา ตรวจสอบ กลั่นรองผลิตภัณฑ์ที่เข้ารับการคัดสรร และให้ค่าคะแนนตามกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) กำหนด ก่อนส่งผลพิจารณารับรองผลิตภัณฑ์ให้กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยระดับประเทศต่อไป.
Discussion about this post