นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องของการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลในปัจจุบัน ซึ่งมีการ หาแนวทางในการยกระดับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปะการังของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะทรัพยา กรใต้ท้องทะเลเกาะพะงันจ.สุราษฎร์ ธานี ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ
ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจสถานภาพพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจัดวางปะการังเทียม โดยใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของบริษัทเชฟร่อน ประเทศไทย จำนวน 7 ขาแท่น ที่หมดอายุสัมปทานมาจัดวางเป็นปะการังเทียม ในการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลให้สมบูรณ์
สำหรับการดำเนินงานของกรมทรัพยา กรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ที่ผ่านมาได้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อมในการจัดวางเป็นแหล่งปะการังเทียม ได้เริ่มดำเนินมานับสิบปี จัดวางปะการังเทียมไปแล้วกว่า 150,000 แท่ง สร้างแหล่งปะการังแห่งใหม่ใต้ท้องทะเลกว่า 36,000 ไร่ ส่วนบริเวณพื้นที่ปะการังเทียมขาแท่นปิโตรเลียม บริเวณพื้นที่เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี ได้มีการร่วมหาแนวทางในการดำเนินการดังกล่าวไว้ก่อนหน้า จนผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ซึ่งมีพลเอก ประ วิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ ภายหลังการวางขาแท่นเป็นแหล่งปะการังเทียม กรม ทช. ได้ประกาศมาตรการคุ้มครองทรัพยากรในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2564 และจะสิ้นสุดการบังคับใช้วันที่ 8 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นการห้ามการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงทุกชนิด ห้ามดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำ หรือการกระทำที่อาจมีผลกระทบต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตในบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยเร่งการเกาะตัวของปะการังอ่อนและสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยเสมือนแหล่งอนุบาลสัตว์ใต้ทะเล
นายวราวุธ ศิลปอาชา กล่าวว่า สภาพระบบนิเวศใหม่ในปัจจุบันของที่นี่เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งระบบนิเวศปะการังที่สมบูรณ์และสวยงาม สามารถเป็นแหล่งอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ รวมไปถึงการศึกษาเทคนิค เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อช่วยในการพัฒนางานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ การพัฒนาแหล่งปะการังเทียมใต้ทะเลของประเทศไทยเริ่มดำเนินมามากกว่า 20ปี สามารถสร้างระบบนิเวศปะการังแห่งใหม่ในหลายพื้นที่ ด้วยรูปแบบที่แตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการจัดทำปะการังเทียมในปัจจุบันมีความหลากหลายและสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่าง การใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมเพื่อการจัดวางเป็นปะการังเทียม (Rig-to-Reef) นับเป็นนวัตกรรมใหม่ โดยได้จัดวางบริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแห่งแรก นับเป็นความสำเร็จและชื่น ชมผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต.
Discussion about this post