วันที่ 25 พ.ค.65 ที่วัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม นางสาวพัชญทัฬห์ กิณเรศ นักวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม สถาบัน วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนคร พนม พร้อมด้วยตัวแทนชุมชนวัดมหา ธาตุ เข้ารับมอบสินค้าอาหารส่วนเกิน (สินค้าใกล้หมดอายุ) จาก บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) ที่สนับสนุนชุมชนนำร่องเพื่อลดปริมาณขยะอาหารในพื้นที่ โดยมีพระครูกิตติสุตานุยุต เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะอำเภอเมืองนคร พนม กล่าวต้อนรับผู้แทนจากโลตัส และชุมชนวัดมหาธาตุที่มาร่วมกิจกรรม
นางสาวพัชญทัฬห์ กิณเรศ กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบการลดปริมาณขยะอาหาร ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนวัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนคร พนม ซึ่งได้บูรณาการร่วมกันหลายฝ่าย อาทิ มหาวิทยาลัยนครพนม , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยา เขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกล นคร , ท้องถิ่นจังหวัดนครพนม , เทศ บาลเมืองนครพนม , สภาอุตสาห กรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม , สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครพนม , ชุมชนวัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมืองนครพนม และชุมชนบ้านหนองจันทร์ ต.ท่าค้อ อ.เมือง โดยเป็นการนำร่องผลดำเนินงานจากชุมชนวัดมหาธาตุ
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดการร้องเรียนเรื่องปริมาณขยะอาหารสะสมในพื้นที่ชุมชน และส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ จึงเกิดแนวทางบูรณาการร่วมกันจัด การกับปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2563 จนถึงขณะนี้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น พบขยะอินทรีย์และขยะอาหารลดน้อยลง ชุมชนมีความร่วมมือจัดการขยะระดับต้นทางตั้งแต่ภายในครัวเรือน และพบว่าคนในชุมชนบางส่วนได้นำขยะอินทรีย์ ขยะอาหาร ไปเพาะเลี้ยงกับหนอนแมลงวันลาย เพื่อช่วยย่อยสลายขยะ ก่อนจะนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ เนื่องจากหนอนแมลงวันลายให้ปริ มาณโปรตีนที่สูง อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์เลี้ยงให้กับชุม ชนได้อีกด้วย นางสาวพัชญทัฬห์ กล่าว
นอกจากนี้ ผู้แทน บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) ยังได้นำสินค้าของบริษัท มอบให้กับชุมชนวัดมหาธาตุ ในซอยพินิจรัง สรรค์ และซอยทัศนปทุมด้วย
นายเปรม ทรัพย์บุญเลิศมา ผู้จัดการแผนกความยั่งยืนองค์กร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) เปิดเผยว่า โลตัสมีการจัดการด้านการลดขยะอาหารมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว ที่ผ่านมาได้มีการบริหารจัดการภายในองค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการวางแผนการเพาะปลูกร่วมกับเกษตรกร ควบ คุมปริมาณและมาตรฐานของผลิตผล เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานและความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของอาหารที่ต้นน้ำ ตลอดจนการขนส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ และการจัดทำสินค้าป้ายเหลือง ลดราคาสินค้าใกล้หมดอายุ เพื่อลดการสูญเสียและก่อให้เกิดขยะอาหาร รวมทั้งได้มีการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในสาขา แต่ยังคงสามารถรับประทานได้ บริจาคให้กับผู้ยากไร้และมูลนิธิที่ขาดแคลน นอกจากจะได้ช่วยผู้ที่ขาดแคลนแล้ว ยังถือเป็นการลดปริมาณขยะอาหารสู่พื้นที่ฝังกลบขยะ ซึ่งช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน นายเปรม กล่าว.
Discussion about this post