จังหวัดสุโขทัย พบสื่อมวลชน แถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 สภาพอากาศและการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน และโครงการสำมะโนธุรกิจ และอุตสาหกรรม พ.ศ.2565
วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสุโขทัย นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย มอบหมายให้นายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยนางสาวพัชรอร วงศ์กำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมพบปะสื่อมวลชนจังหวัดสุโขทัย ประจำเดือนพฤษภา คม 2565 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องสำคัญของจังหวัดสุโขทัย โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ได้แจ้งว่า ศบค. ได้จัดให้จังหวัดสุโข ทัย อยู่ในกลุ่มสีเหลือง พื้นที่เฝ้าระวังสูง ยังคงปิดสถานบริการ และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ ยกเว้นมีการยื่นปรับรูปแบบบริการเป็นร้านอาหาร ขณะที่กลุ่มผู้เสี่ยงสูง จะไม่มีการกักตัว 5 วัน และสังเกตอาการ 5 วัน โดยปรับเปลี่ยนให้กลุ่มผู้เสี่ยงสูง เฝ้าระวังสังเกตอาการตน เอง 10 วัน ไม่ต้องกักตัว และตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ มีผลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ส่วนผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 มีประชาชนตามที่อยู่จริง อายุ 18 ปี ขึ้นไป ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว จำนวน 146,221 คน คิดเป็นร้อยละ 41.01 ส่วนกลุ่ม 608 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว จำนวน 62,224 คน คิดเป็นร้อยละ 42.28
ด้านการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน จังหวัดสุโขทัย ได้ตั้งศูนย์บัญชา การเหตุการณ์อุทกภัย และดินถล่ม ปี 2565 เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดยได้เฝ้าระวัง วิเคราะห์ และประเมินสถาน การณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ทันต่อเหตุการณ์ ขณะที่โครงการชลประทานสุโขทัย ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ในเขตชลประ ทาน จำนวน 2 เครื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำหลากที่เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่อำเภอคีรีมาศ พร้อมได้กำหนดมาตรการรับมือปัญหาอุทกภัย โดยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่เกษตรเสี่ยงน้ำท่วม รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ รวมทั้งประสานกับหน่วยงานในพื้นที่จัด สรรทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล รถขุดรถแทรกเตอร์ และเครื่องมือต่างๆ เตรียมพร้อมใช้งานตลอดเวลา ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ได้รายงานผลกระทบจากกรณีน้ำหลากที่เอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรในพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอคีรีมาศ รวม 9 ตำบล 40 หมู่บ้าน 837 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ รวมจำนวน 10,472 ไร่ แบ่งเป็น เพาะปลูกข้าว จำนวน 9,837 ไร่ และพืชไร่ 635 ไร่
สำหรับสภาวะอากาศทั่วไป ในช่วงประมาณครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน 2565 บริเวณจังหวัดสุโขทัย ยังคงมีฝนตกชุกและต่อเนื่อง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางวัน จากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เนื่องจากประมาณครึ่งแรกของเดือน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงเป็นระยะๆ จากนั้นจะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนในช่วงครึ่งหลังของเดือน สรุปเดือนมิถุนายน 2565 นี้ คาดว่า บริเวณจังหวัดสุโขทัย ปริมาณฝนรวมและอุณหภูมิเฉลี่ย จะใกล้เคียงค่าปกติ
ด้านนายไชยพจน์ กัณหา สถิติจังหวัดสุโขทัย กล่าวถึง โครงการสำมะโนธุรกิจ และอุตสาหกรรม พ.ศ.2565 ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกประเทศเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นข้อมูลสถิติและสารสนเทศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับภาครัฐและเอกชนใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า และยกระดับศักยภาพการเติบโตของผู้ประกอบการ ในระยะยาวสำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะ โนอุตสาหกรรมทุก 5 – 10 ปีตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐาน ที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาห กรรมการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการได้จัดทำมาแล้ว 4 ครั้ง ในปี 2509 ปี 2531 ปี 2545 และปี 2555 ส่วนสำมะโนอุตสาหกรรม ได้จัดทำมาแล้ว 5 ครั้ง ในปี 2507 ปี 2540 ปี 2550 ปี 2555 และปี 2560 สำหรับในปี 2565 นี้ จะครบรอบ 10 ปี ในการจัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ ครั้งที่ 5 และครบรอบ 5 ปี การจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม ครั้งที่ 6 ของประเทศ ไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้บูรณาการโครงการสำมะโนดังกล่าวไว้ด้วยกัน ภายใต้ชื่อ “สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565”ในการจัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรมพ.ศ. 2565 ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานหรือการนับจดสถานประกอบการทุกประเภททั้งที่อยู่ในระบบทะเบียน และนอกระบบทะเบียน และขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดหรือการแจงนับสถานประกอบการที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเฉพาะสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาห กรรมการผลิต
ข้อมูลพื้นฐานสถานประกอบการโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาห กรรม พ.ศ. 2565 จังหวัดสุโขทัย มีจำนวน31,547 แห่ง ยังคงดำเนินกิจการอยู่ 25,721 แห่ง และอื่นๆ เช่น ย้ายไปประกอบกิจการที่อื่น 1,885 แห่ง หยุดกิจการชั่วคราว 1,681 แห่ง เลิกกิจการ 2,260 แห่งจำนวนสถานประกอบการ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นพื้นฐานพบว่า จังหวัดสุโขทัยมีสถานประกอบการจำนวน 25,721 แห่ง สถานประกอบการส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.7 ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการขายปลีก รองลงมาเป็นการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการผลิต ร้อยละ 25.0 การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 12.7 การขาย การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 7.1 การขายส่ง ร้อยละ 4.3 ตามลำดับ สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านอื่นมีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 4.0 ขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนคนทำงาน)
เมื่อพิจารณาขนาดของสถานประ กอบซึ่งวัดด้วยจำนวนคนทำงาน พบว่า สถานประกอบการของจังหวัดสุโขทัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.0 (จำนวน25,452 แห่ง) จัดอยู่ในขนาดเล็ก (คนทำงาน 1 – 15 คน) สถานประกอบการที่มีคนทำงานตั้งแต่ 16 คนขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 1.0 (จำนวน 269 แห่ง) ในจำนวนนี้เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16 – 25 คน จำนวน 165 แห่ง ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงานขนาด 31 – 50 คน 26 – 30 คน และ 50 – 200 คน มีจำนวน 47 แห่ง 28 แห่ง และ 27 แห่ง ตามลำดับ สำหรับสถานประ กอบการขนาดใหญ่ที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป มีเพียง 2 แห่ง.
ธนกฤต ท้าวบุญยืน / สุโขทัย
Discussion about this post