วันนี้ 19 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ห้องประชุม (1) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลตรี ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองแม่ทัพน้อยที่ 4 /รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้การต้อนรับ นายเกษมสันต์ มีทิพย์ โฆษกคณะกรรมาธิการ/รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ และคณะ เดินทางมาศึกษาดูงาน “ภารกิจการป้องกันชายแดนของกองทัพ และการรักษาความมั่นคงของหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้” พร้อมรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานด้านความมั่นคงและการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ จตช. โดยมี ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า,ผู้แทนหน่วยเฉพาะกิจยะลา, หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินกองทัพเรือ, ผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้,ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายเกษมสันต์ มีทิพย์ โฆษกคณะกรรมาธิการ/รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ กล่าวว่า การลงพื้นที่ จชต.ในครั้งนี้ เพื่อเยี่ยมหน่วยกำลังทหารในพื้นที่และรับฟังการบรรยายผลการดำเนินงาน ให้กำลังใจกับหน่วยและร่วมหารือแนวทางถึงสถานการณ์งานด้านความมั่นคงและการพัฒนา จชต. ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับแก้ไขให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ใจประชาชนในการอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุข ทั้งนี้ ด้านการปฏิบัติการทางทหาร เป็นเรื่องของการป้องกัน การปราบปราม ดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญขอเน้นย้ำถึงการศึกษาเป็นสิ่งที่ยั่งยืนที่สุดจะต้องมีการแนะแนวเยาวชนในพื้นที่ นอกจากการศึกษาด้านศาสนาแล้วในด้านการประกอบอาชีพคือส่วนสำคัญที่สร้างอาชีพสร้างรายได้เป็นการพัฒนาระยะยาว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้นสร้างการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมต่อไป
ทั้งนี้ ทางคณะฯ ได้ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปงานด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหารือถึงความคืบหน้าเหตุการณที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งภัยคุกคามต่าง ๆ ปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาการลักลอบนำสิ่งของผิดกฎหมายเข้าประเทศตามแนวชาย แดน ร่วมถึงติดตามความคืบหน้าการพูดคุยเพื่อสันติสุข,โครงการมัสยิดสานใจสู่สันติ,โครงการ 1 ครอบครัว 1 และโครงการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือ “โอรังอัสลี” ที่ได้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งปัจจุบันออกบัตรฯ แล้ว 40 คน รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพทางเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้ทางคณะฯ ได้เน้นย้ำให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันส่งเสริมแนะแนวแก่เยาวชนให้มีความรู้ด้านการอาชีพอาชีพเพื่อให้มีคุณภาพชีวิที่ดีต่อไป.
Discussion about this post