
นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งและมอบหมายให้ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราช ธานี เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 พร้อมด้วย นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี กรรม การและเลขานุการ นายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนิเทศการพัฒนาชุมชน นางมนัส แก้วประพันธ์ ผู้แทนประธานคณะกรรม การพัฒนาสตรีจังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนปลัดจังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ผู้แทนประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะกรรมการ รวมถึง นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และนางสาวนิภาภร บุญประสิทธิ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ลงพื้นที่เพื่อตรวจผลงานการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2565 ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลและเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้ารับรางวัล เป็น การสร้างขวัญและกำลังใจแก่หมู่บ้าน ตำบล กลุ่มองค์กรและผู้นำกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น โดยมีนายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้นำกลุ่มองค์กรเครือข่ายและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ร่วมให้ การต้อนรับและนำเสนอผลงาน/กิจกรรมฯในการคัดสรรกิจกรรมการพัฒนาชุมชนดีเด่นฯ ในครั้งนี้ ทั้งนี้ ได้มีการกำชับให้ผู้เข้าร่วมการคัดสรรฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
โดยคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ของกลุ่มอำเภอที่ 4 ประกอบด้วย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียม อำเภอสิรินธร และอำเภอตาลสุม ณ บ้านแขมเหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านแขม อำเภอพิบูลมั่งสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการนำเสนอผลงานประกอบด้วย 1)หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ระดับจังหวัด ได้แก่ บ้านแขมเหนือหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านแขม อำเภอพิบูลมังสา หาร 2)ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ดีเด่นระดับจังหวัด ได้แก่ นายบุญนาค หน่อท้าว (ชาย) ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร และนางสาวอิสราภรณ์ คลังอาจ (หญิง) ตำบลนาเลิน อำเภอศรีเมืองใหม่ 3)กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านนามน ตำบลตาลสุม อำเภอตาลสุม และ 4)ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม
จากนั้นคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจผลงานการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นจังหวัดอุบลราช ธานี ประจำปี 2565 ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลและเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเข้ารับรางวัล เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่หมู่บ้าน ตำบล กลุ่มองค์กรและผู้นำกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ของกลุ่มอำเภอที่ 3 ประกอบด้วย อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก อำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน และอำเภอนาจะหลวย ณ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 5 ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ระดับจังหวัด ได้แก่ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 5 ตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม 2)ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ดีเด่นระดับจังหวัด ได้แก่ นายณัฐพล พนมใส (ชาย) ตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น และนางกัญญา สารทัย (หญิง) ตำบลยาง อำเภอน้ำยืน 3)กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.) บ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอนาจะหลวย และ 4)ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ตำบลสำโรง อำเภอสำโรง

โอกาสนี้ นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ได้กล่าวในลงพื้นที่คัดสรรฯ ครั้งนี้ว่า “กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่ บ้านและชุมชน ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้นำชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐ กิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต และในปี 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” และโล่พระราชทานให้กับหมู่บ้านที่มีการพัฒนาตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และยึดหลักการพัฒนาชุมชน พ้นความยากจน และให้พสกนิกรร่วมสืบสานปณิธานตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยจัดให้มีการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นและเชิดชูเกียรติผู้นำ กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายและชุมชน ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดดเด่น เป็นที่ประจักษ์และยอมรับของสาธารณชน ซึ่งประกอบด้วย 1) หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” 2) ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ชายและหญิง 3) กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และ 4) ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐ กิจพอเพียง เพื่อเข้ารับโล่รางวัล รวมทั้งเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการกระทำความดีและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ชายและหญิง กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน และตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ทุกชุมชนดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1)เพื่อคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ที่มีผลการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน สำหรับเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติ รวมทั้งเข้าเฝ้า ทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2)เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้นำกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประเภทรางวัล 1)หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัด : โล่รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2)ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ชายและหญิง ดีเด่นระดับจังหวัด : โล่รางวัล “สิงห์ทอง” 3)กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ดีเด่นระดับจังหวัด : โล่รางวัล “สิงห์ทอง” 4)ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดีเลิศระดับจังหวัด:โล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ขอชื่นชมและแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมคัดสรรฯ ทุกประเภท ซึ่งผู้ที่ผ่านเข้ารอบการประกวดระดับกลุ่มอำเภอ จะได้รับประกาศเกียรติคุณจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในโอกาสต่อไป”.
Discussion about this post