
นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน นางสาวนิภาภร บุญประสิทธิ์ นางสาวปฏิญญา ปงหาญ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และเจ้าหน้าที่จากสำนัก งานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุน พร้อมเยี่ยมชมผลผลิตและความสำเร็จของแปลงโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นาโมเดล” แปลงศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล (Community Lab Model for quality of Life : CLM) ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
โดยได้รับความเมตตาจากพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ได้เมตตา เอื้อ เฟื้อ แบ่งปันผลผลิตจาก “โคก หนอง นา วังอ้อ โมเดล” มาประกอบอาหาร พร้อมได้เก็บผักกูดมาผัด หาหน่อไม้มาแกง เป็นพาแลงมื้อค่ำ และยังได้แบ่งปันผลผลิตให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้านวังอ้อ-โนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน ถือเป็น การสร้างความรักสามัคคีในชุมชน และถือได้ว่า อิ่มกาย อิ่มใจ ผู้รับก็อิ่ม ใจ ผู้ให้ก็ได้บุญ สมดังคำกล่าวที่ว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาอาหารนี่สิของจริง” นอกจากนั้น ยังถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความมั่นคงขั้นพื้นฐาน (4 พ) คือ พอกินพอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความมั่นคงขั้นก้าวหน้า (5 ม) คือ มีบุญ มีทาน มีเก็บ มีขาย มีเครือข่าย ตรงตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้น เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวอำนวยอวยพรว่า “ขออนุโมทนาแด่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระ ทรวงมหาดไทย นายสมคิด จันมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และบุคคลากรในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนทุกท่าน รวมไปถึง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้บริหารและข้าราชการทุกท่าน ที่ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือน ชมผลผลิตจาก “โคก หนอง นา วังอ้อ โมเดล” ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จะส่งเสริมศูนย์เรียนรู้เพื่อขยายผลการดำเนินงาน “โคก หนอง นา โมเดล” ที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ ตามหลัก “บวร” หรือบ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ที่สามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายภายใต้ชื่อแบรนด์ “ชาววัง” และ “บวร” ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยตรง และยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ในเรื่องของทักษะการประกอบอาชีพ การลดรายจ่าย และช่วยขับเคลื่อนและขยายผลโครงการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงโครง การเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นต้นแบบไปทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้”.
Discussion about this post