
น.ส.นันทวัน ศิริโภคพัฒน์ ผอ.ททท.สำนักงานสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยว วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 13 ก.ค. 2565 ถึง 17 ก.ค. 65 มีเงินสะพัดในพื้นที่ กว่า 8 ร้อยล้านบาท การท่องเที่ยวของพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 50.94 (เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต 49.00%) วันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว 3.89 วัน ผู้เยี่ยมเยือนเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 74,182 คน/ครั้ง ชาวไทย 46,429 คน/ครั้ง ชาวต่างประเทศ 27,753 คน-ครั้ง รายได้ทั้งหมด 833.18 ล้านบาท ชาวไทย 330.16 ล้านบาท ชาวต่างประเทศ 503.02 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยว 3,121.10 บาท ชาวไทยคนละ 2,523.11 บาท ชาวต่างประเทศ 3,700.32 บาท
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม หรือสินค้าท่องเที่ยว ในพื้นที่ เกาะราบ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะสมุย ยังมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแต่ยังไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก กิจกรรมฟูลมูนปาร์ตี้ ยังอยู่ในกระแสนิยมของนักท่องเที่ยว กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving) ยังอยู่ในกระแสนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen Y และวัยทำงาน แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม หรือสินค้าท่องเที่ยวยังคงเป็นสินค้าเดิม แต่ยังคงได้รับความนิยมหรืออยู่ในกระแสนิยม อาทิ เขื่อนรัชชประภา ป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด อุทยานธรรมเขานาในหลวง อุทยานแห่งชาติเขาสก ตลาดน้ำประชารัฐบางใบไม้ ฯลฯ ละการเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ภายในประเทศ เส้นทาง ไป/กลับ กรุงเทพ-สมุย วันละ 19-24 เที่ยวบิน ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงพื้นที่ การเสริมเที่ยวเรือโดยสารเฟอร์รี่พิเศษข้ามฟาก เส้นทาง ไป/กลับ ดอนสัก-สมุย ช่วงที่มีปริมาณรถรอคิวลงเรือจำนวนมาก การเพิ่มเที่ยวเรือโดยสารในการเดินทางเข้าเกาะพะงัน ในช่วงการจัดงานฟูลมูนปาร์ตี้ มีการให้บริการของเรือเร็วสปีดโบ้ทช่วงกลางคืน เส้นทาง ไป/กลับ เกาะสมุย-เกาะพะงัน การเพิ่มจำนวนเรือโดยสารที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เส้นทางไป/กลับ ชุมพร-เกาะเต่า มีการปรับปรุงหรือเพิ่ม/ลดความถี่ ให้เป็นไปตามจำนวนของนักท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์โควิด ส่งผลต่อการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง มีเที่ยวบินเปิดบริการเฉลี่ยวันละ 8-12 เที่ยวบิน (ขาเข้า) ณ สนามบินสุราษฎร์ธานี

และในส่วนของปัจจัยภายนอกอิ่น ๆ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศที่มีการปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้เรือโดยสารเฟอร์รี่ข้ามฟาก สำหรับผู้โดยสารและค่าระวางรถลงเรือประเภทต่าง ๆ มีการปรับอัตราค่าโดยสาร เส้นทาง ไป/กลับ ดอนสัก-เกาะสมุย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและแนวโน้มราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นทำให้ภาพรวมของค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น นโยบายของภาครัฐ ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว ที่มีการผ่อนคลายด้านสาธารณสุข ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีการรวมตัวได้ ทำให้เกิดผลบวกกับพื้นที่ ในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้ การขยายสิทธิ์ห้องพัก จำนวน 1.5 ล้านสิทธิ์ ของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 คาดว่าจะส่งผลให้วันหยุดที่ถึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาใช้สิทธิ์ในพื้นที่เพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่นิยมขับรถท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวน้อยลง นักท่องเที่ยวมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนาน
Discussion about this post