วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ที่โรงแรมอีสทีน เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโ อยู) กับนายภิญโญ สุขทัต กรรมการผู้จัดการบริษัทกรีนเทค โอโซน โซลูชั่นจำกัด เพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมซักอบรีด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ BCG Model โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) มีนายชัยยศ จินดารัตนะ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชียงใหม่ เป็นสักขีพยาน โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าวว่า เอ็มโอยูดังกล่าว เป็นความร่วมมือ มทร.ล้านนา กับภาคเอกชน ที่นำนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยฯ ไปต่อยอดเชิงธุรกิจ ภายใต้การการสอน ฝึกอบรม และวิจัยงานบริการด้าน ฺBCGที่เน้นเรื่องพลังงานสะอาด พลังานทดแทน เทคโนโลยีชีวมวล และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเป้าหมายลดมลภาวะ และประหยัดพลังงานซึ่งได้ทำ เอ็มโอยูกับภาคเอกชน กว่า 20 บริษัทแล้ว ภายใต้การจดสิทธิบัตรร่วมกัน เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเชิงธุรกิจ
“มหาวิทยาลัยฯ มีเป้าหมายนำงานวิจัยและนวัตกรรม นำมาพัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหึ้ง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยให้คณาจารย์ไปเรียนรู้กับภาคเอกชน เพื่อนำโจทย์มาแก้ปัญหา พร้อมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ให้เรียนรู้ภาคสนาม ไม่ใช่แค่ทฤษฎีปฏิบัติ หรือทดลองในห้องแล็ปเท่านั้น ล่าสุดได้ทำเอ็มโอยู ด้านพลังงานทดแทนกับนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน โดยให้ทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนสาขาดังกล่าว พร้อมจ้างงานหากสำเร็จการศึกษา โดยมีเงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 บาท/เดือน สูงกว่าปริญญาตรีทั่วไป ที่ได้รับค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือนด้วย” ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่าว
ทิศทางและนโยบาย มทร.ล้านนา ที่มีอยู่ 9 แห่งในภาคเหนือนั้น มุ่งงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตรเป็นหลัก มีงานศึกษาวิจัยข้าวกว่า 200เรื่องแล้ว การปลูกกาแฟบนพื้นที่สูง ที่เพิ่มมูลค่าผลผลิตกว่า 100 เท่าภายใต้การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน อาทิ การท่องเที่ยววิถีชุมชนและสมาร์ทฟาร์ม ภายใต้วิสัยทัศน์ ว่า เกษตรนำ เทคโนโลยีตาม ซึ่ง มทร.ล้านนามีโครงการเทิดไท้พระพันปีหลวง ในโอกาสทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา ปลูกข้าววันแม่ 12 สิงหา และเกี่ยววันพ่อ 5 ธันวาคมนี้ พร้อมจัดนิทรรศการงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ในงานโอเพ่นเฮ้าส์ เพื่อแสดงผลงานทางวิชาการและเผยแพร่สู่สาธารณะชนในเร็ว ๆ นี้ด้วย
ด้านนายภิญโญ กล่าวว่า ได้ดำเนินธูรกิจให้บริการซักอบรีด เมื่อปี 2558หรือ 7 ปีที่ผ่านมา โดยให้บริการเช่าผ้าจ่ายแบบ PAY PER USE เพื่อลดต้นทุนแก่ผู้ประกอบการโรงแรม ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการสตาร์ทอัพ กับ สวทช. และ NIA ก่อนนำไปสู่เอ็มโอยูกับ มทร.ล้านนา เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธูรกิจ โดยนำนวัตกรรมด้านการซักผ้าด้วยเทคโนโลยีโอโซนไม่ใช้สารเคมี ประหยัดพลังงาน ติดตามผ้า บริหารสต๊อก ระบบบำบัดและรีไซเคิลน้ำทะเล มีเป้าหมายลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย 30-40 %
“ได้ให้บริการลูกค้าที่เชียงใหม่ มีโรงงานซํกอบรีด กำลังการซัก 2 ตัน/วันเพื่อรองรับโรงแรมขนาด 1,500 ห้อง/วัน เพื่อลดใช้สารเคมีซักผ้ากว่า 10ตัน/ปี และลดปริมาณใช้น้ำซักผ้ากว่า 3 ล้านลิตร/ปี นอกจากนี้ได้ขยายสาขาที่ กระบี่ (อ่างนาง-ไร่เลย์) ซึ่งเป็นโรงแรมขนาด 4,000 ห้อง คาดเปิดบริการตุลาคมนี้ โดยมีเป้าหมายขยายสาขา 10 สาขา รวม 22 จังหวัดภายใน 5 ปีข้างหน้าด้วย” นายภิญโญ กล่าว
//////////////////
Discussion about this post