ที่ฝายน้ำล้นลำห้วยคล้า บ้านหนองเข็งน้อย ต.กฤษณา อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะ เกษ นายจำรัส สวนจันทร์ ผอ.โครง การชลประทานศรีสะเกษ พร้อมด้วย ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา คณะที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายกรฤต มีเกิดผล หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการชลประทานศรีสะเกษ และคณะ ลงพื้นที่ร่วมประ ชุมประชาคม เรื่องการขุดลอกห้วยคล้า บริเวณฝายน้ำล้นห้วยคล้าหนองเข็งน้อย และรับฟังความคิดเห็น พร้อมนั่งเรือสำรวจพื้นที่ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการร่วมกันกับประชาชนในพื้นที่ลำห้วยคล้า ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาพลำน้ำที่มีความตื้นเขินและมีวัชพืชจำนวนมาก ส่งผลให้ลำน้ำไม่สามารถรองรับน้ำได้ในฤดูน้ำหลาก และมีความแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้ง โดยมี พระอาจารย์บุญมี เตชะธรรมโม เจ้าอาวาสวัดป่าหนองม่วง และนายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรม การประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมประชุมด้วย
นายจำรัส กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อปี 2560 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ ต.หัวเสือ ต.สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธ์ บางส่วน และที่ ต.โพนยาง ต.บุสูง อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ ทำให้ไร่นาได้รับความเสียหาย ภาคประชาสังคมจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้เปิดเวทีประชาคม ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าภาวะน้ำท่วมใหญ่ครั้งนั้น มวลน้ำไหลมาจากเทือกเขาพนมดงรัก ไม่สามารถระบายลงลำห้วยคล้า ได้ มูลเหตุเพราะพื้นที่แก้มลิงของลำห้วยคล้าตื้นเขิน มีวัชพืชขึ้นกีดขวางทางน้ำอยู่จำนวนมาก ตั้งแต่บ้านศาลาสระบาน ต.สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธ์ จนถึงอ่างเก็บน้ำวังหิน หน้าโรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา ต.บุสูง อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร และเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยคล้านิคม 1 ต.หมากเขียบ อ.เมืองศรีสะเกษ
ต่อมาทางโครงการชลประทานศรีสะกษ ได้ออกไปทำการสำรวจพื้นที่ ได้ข้อสรูปว่าต้องใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาท ในการขุดลอกแก้มลิงในพื้นที่ดังกล่าวทั้งระบบ ซึ่งเกินความสามารถที่โครงการชลประ ทานศรีสะเกษ จะดำเนินการได้ จึงได้ของบประมาณไปยังส่วนกลาง ถ้าการดำเนินการขุดลอกแก้มลิงห้วยคล้าประสบผลสำเร็จจะเกิดผลดีทั้งในเรื่องของการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ที่ ต.หัวเสือ ต.สำโรงตาเจ็น ต.สะเดาใหญ่ อ.ขุขันธ์ บางส่วน และที่ ต.ศรีสำราญ ต.โพนยาง ต.บุสูง อ.วังหิน อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ประชาชนมีน้ำเพียงพอในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร แก้ปัญหาการบุรุกลำห้วยและการล้มตายของสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรตามลำห้วย
อย่างไรก็ตามขณะนี้โครงการชล ประทานศรีสะเกษ ได้ตรวจสอบแล้ว โดยจัดเข้าแผนงานประจำปีงบประ มาณ 2565-2568 แล้ว ซึ่งเป็นการขุดลอกลำห้วยค้าพร้อมกับทำขุดลอกแก้มลิงบริเวณหนองเข็งน้อย ที่มีพื้นที่ตื้นเขินมากกว่า 600 ไร่ งบประมาณจำนวน 600 ล้านบาท หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะส่งผลดีต่อราษฎรที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตรใน อ.ขุขันธ์ และบริเวณใกล้เคียง เป็นแหล่งสร้างรายได้ด้านประมงและปศุสัตว์พื้นบ้าน ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ด้าน ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตนเองนั้นจะเป็นส่วนในการประสานงานผลักดันงบประมาณในการจัดทำโครงการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ส่วนโครงการชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ จะเป็นผู้เขียนโครงการนำเสนอของบประมาณ จึงขอให้ประชา ชนในพื้นที่ต้องเข้มแข็งเพื่อการพัฒ นาท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ ขจัดปัญหาต่างๆของโครง การ ขอให้ร่วมใจร่วมแรงกันอย่างจริง จังทุกอย่างก็จะสำเร็จตามที่ประชา ชนต้องการมีน้ำเพื่อการเกษตรกรรมต่อไป.
Discussion about this post