ที่ห้องประชุม ศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ พ.ศ 2566 – 2570 อบจ.นคร สวรรค์ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพมั่นคง
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายกอบจ. นครสวรรค์ นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง รศ. ดร.วรรณา ประยุกต์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายธนานนท์ ศรีนนท์ ผอ.รพสต.บ้านดงเมืองใต้ นางสาวทัศนีย์ โชติกเจริญสุข รักษาการผอ.กองสาธารณสุข อบจ. นางนิศากร ชูเมือง นักวิชาการสาธารณ สุขชำนาญการ
โดยในแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่มีการนำเสนอคณะทำงาน 6 คณะประกอบด้วย 1. คณะทำงานพัฒนางานด้านสาธารณสุขมูลฐาน 2. คณะทำงานพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทยฯ 3. คณะทำงานพัฒนา การแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อผู้ป่วย
- คณะทำงานพัฒนาศูนย์กายอุปกรณ์ฯ 5. คณะทำงานพัฒนาสมรรถนะเชิงกลยุทธ์ของบุคลากร 6. คณะทำ งานพัฒนาระบบสารสนเทศ
” จุดมุ่งหมายหลักในแผนพัฒนาสุขภาพก็คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพมั่นคง ซึ่งหัวใจสำคัญก็คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพสต. ที่มี อสม.เป็นกำลังสำคัญ ซึ่งหาก รพสต.และ อสม. ได้มีส่วนร่วมและได้มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ถือว่าเป็นการรบชนะในตำบลหมู่บ้าน ที่มี รพสต.เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน การที่อบจ. เชิญผู้ทรงปัญญามาเป็นคณะทำงานแผนพัฒนาสุขภาพฯ ก็เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่า อบจ.จะสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนได้แน่นอน” พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ กล่าว
ต่อมา ที่ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ อบจ.นครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ พร้อมด้วย นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายก อบจ.นครสวรรค์ นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัดอบจ.นครสวรรค์ ดร.อร่าม วัฒนะ ผอ.กองการศึกษาฯ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมการประชุมคณะทำงานพิจารณาในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนและนักศึกษาผู้ยากจนหรือผู้ด้อยโอกาส โดยพิจาร ณาให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นัก ศึกษาที่เป็นชาวนครสวรรค์ แบ่งเป็น ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 2/2565 (ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2565) และโครงการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาผู้ยากจนหรือผู้ด้อยโอกาส ระดับอนุปริญญา แต่ไม่เกินระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประ มาณ 2565 ซึ่งได้ดำเนินการรับสมัครในระหว่างวันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2565 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาขอความเห็นชอบผู้ที่ขอรับทุนการศึกษา ประกอบด้วย นักเรียนระดับมัธยมศึก ษาตอนต้น รายต่อเนื่อง จำนวน 66 ราย รายใหม่ จำนวน 57 ราย รวม 123 ราย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รายต่อเนื่อง จำนวน 138 ราย รายใหม่ จำนวน 25 ราย รวม 163 ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 286 ราย เป็นเงิน 735,000 บาท และระดับอนุปริญ ญา-ปริญญาตรี ภาคเรียนละ 16,500 บาท แต่ไม่เกิน33,000 บาท /ภาคเรียน ประกอบด้วยรายต่อเนื่อง จำนวน 49 ราย และรายใหม่ 225 ราย รวม 274 ราย เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 2,886,360 บาท ซึ่งการมอบทุนในโครงการนี้ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เด็ก และเยาวชน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น
” ทางอบจ. เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ซึ่งการ การศึกษาจะสามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความคิด ความสามารถสูงขึ้นได้ จึงจัดสรรงบประมาณมาเป็นทุนการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสหรือขาดแคลน ได้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป ขอให้ทุกคนที่ได้ทุนการศึกษาไป จงขยันและตั้งใจเรียน”
ขณะที่ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เดินทางไปเป็นประธานเปิดงาน โดยพร้อมด้วย พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ สิบเอกพิทยา นาคกุญชร รองปลัด อบจ.นครสวรรค์ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ณ ตลาดอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ หน้าที่ว่าการอำเภอหนองบัว จ.นครสวรรค์ โดยมีนางจิรภา เชื้อดวงผุย พัฒนาการจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวรายงาน มีนายอรรถการณ์ จิตถวิล นายอำเภอหนองบัว และหัวหน้าส่วนราชการท้องถิ่น ให้การต้อนรับ
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยพัฒนา การจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมช่องทางการตลาดของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม 2565
ภายในงานมีการแต่งกายด้วยชุดผ้าไทย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบท บาทสตรี การจำหน่ายสินค้าเกษตร กร ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่อำเภอหนองบัวและจังหวัดนครสวรรค์ กว่า 40 ร้านค้า หลังจากนั้นทางคณะได้เดินเยี่ยมชมซุ้มจำหน่ายสินค้า พร้อมชมการสาธิตการทำอาหารพื้นถิ่น และชมการแสดงเต้นกำรำเคียว ซึ่งเป็นศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ” กิจกรรมวันนี้เป็นงานที่ดี เป็นวัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์ไว้ มีการจำหน่ายสินค้าชุมชน ในส่วนของ อบจ.นครสวรรค์ ได้ทำเพจตลาดนัด อบจ. เป็นที่รวบรวมสินค้าท้องถิ่น จัดให้จำหน่ายสินค้าของจังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อขยายช่องทางการตลาดชุมชน ซึ่งทุกวันนี้เราขายผลิตภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ ทำให้มีข้อจำกัดห้วงเวลาการขาย ระยะเวลาสั้น เราควรมาเรียนรู้การถนอมอาหาร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีผลดีคือ สินค้าอยู่ได้นานขึ้นและเดินทางได้ไกลเราจะขยายช่องทางการตลาดได้ และนำมาสู่การผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต” พลตำรวจเอกสมศักดิ์ กล่าว.
Discussion about this post