เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 20.20 น. ศูนย์วิทยุ 191 ได้รับแจ้งจาก ปกครองของเด็กชายวัย 12 ปี ของตนเองได้แจ้งขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาช่วยระงับเหตุเนื่องจากลูกชายของตนเองได้อาละวาดแล้วเข้าไปหลบในห้องนอนขังตัวเอง หลังจากได้รับแจ้งแล้วได้ประสานแจ้งให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองน่าน พร้อมด้วยอาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย เข้างัดประตูห้อง เพื่อเข้าช่วยเหลือนำตัวลูกชาย ที่ขังตัวเองอยู่ในห้อง เมื่อไปถึงพบว่า ประตูห้องไม่สามารถเปิดได้ซึ่งเข้าใจว่าลูกชายขยับตู้เสื้อผ้ามาขวางประตูไว้ไม่ยอมเปิดประตู และเข้าใจว่าเกรงจะทำร้ายตัวเอง
โดยที่ผู้ปกครองของเด็กชายวัย 12 ปีเล่าว่าเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. เนื่องจากเด็กชายรายดังกล่าวได้อาละวาดแล้วเข้าไปหลบในห้องนอนขังตัวเองไว้ซึ่งตนเองได้ พยายามพูดคุยแล้วแต่ไม่ได้ผล เกรงจะทำร้ายตัวเอง หลังรับแจ้งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาสากู้ชีพกู้ภัยกว่า 20 นายเข้าให้การช่วยเหลือโดยใช้ยุทธวิธีคือการเจรจาให้ลูกชายให้เปิดประตู โดยใช้เวลาเจรจาดังกล่าวให้เปิดประตูกว่า 2 ชั่วโมงก็ไม่เป็นผล
โดยทางทีมงานที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือจึงได้ขออนุญาตมารดาของเด็กชายวัย 12 ปีรายดังกล่าวเพื่อพังประตูเข้าไปเนื่องจากเด็กไม่ตอบสนองหรือตอบรับใดๆ โดยมารดาของเด็กได้อนุญาต เพราะเกรงว่าเด็กจะคิดสั้นหรือทำร้ายตัวเองไปแล้วก็ได้
ทีมงานเจ้าหน้าที่ใช้กำลังกว่า 15 ผลักดันพังประตู เข้าไปจนตู้เสื้อผ้า ที่กันไว้ได้ ล้มก็ไม่สามารถเข้าประตูไปได้ จึงตัดสินใจปีนหลังคาเข้าไปทุบกระจกห้องแล้วเข้าไปนำตัวเด็กชายวัย 12 ที่อยู่ในสภาพนอนชักเกร็งนำตัวส่งโรงพยาบาลน่านอย่างเร่งด่วนเพื่อให้การช่วยเหลือ ในเบื้องต้นพบว่าทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
ซึ่งทางญาติของเด็ก ที่อยู่ในเหตุการณ์ ที่มีความรู้ทางการแพทย์ คาดว่าเด็กเกิดอาการ Hyperventilation Syndrome ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง รวมทั้งมีการลดลงของค่าแคลเซียมที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลงด้วย อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิด ปัญหาทางครอบครัว หรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ หรือเรียกร้องความสนใจ จากบุคคลภายในครอบครัว เป็นต้น
อย่างไรก็ตามลักษณะ อาการดังกล่าว อาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด (asthma) ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และอื่นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป
ทั้งนี้หากพบเด็กที่มีภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวน เสี่ยงที่จะก่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือมีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเองหรือคิดสั้นควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อจะได้ทำการรักษาหรือให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
@@@@@@@@
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น
Discussion about this post