วันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่หอประชุมอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยอดเยี่ยม ประจำปี 2565 ของอำเภอเมืองนครพนม เนื่องในวันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำปี 2565 โดยมีปลัดจังหวัดนครพนม นายอำเภอเมืองนครพนม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ร่วมในพิธี
โดยนายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้กล่าวชื่นชมและยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท วิริยะ อุตสาหะ และเสียสละ จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับจากทุกภาคส่วน ไม่เคยมีประวัติหรือมีพฤติการณ์เสื่อมเสียใดๆ โดยรางวัลเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขวัญและกำลังใจจากการทำงาน แต่สิ่งที่ฝ่ายปกครองมุ่งหวังคือ การดูแล บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่พี่น้องประชาชน และขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหลาย จงได้มุ่งมั่น ทุ่มเท และตระหนักถึงภาระหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อพี่น้องประชา ชนในตำบล หมู่บ้าน ต่อไป
สำหรับวันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กระ ทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้วนที่ 10 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานกำเนิดสถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้าน และถือเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ที่ได้ปฏิบัติงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” และเป็นส่วนสำคัญแห่งความสำเร็จในการดูแลประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถตลอดมา นับเป็นระยะเวลา 130 ปีมาแล้ว ที่สถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงมหาดไทยไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองระดับฐานรากที่เป็นจุดเชื่อมในการยึดโยงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหลอมรวมประชาชนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยกระทรวงมหาด ไทยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระดับฐานรากในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้กินดี อยู่ดี มีความมั่นคงในชีวิต และมีความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงมหาด ไทย เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างมีประสิท ธิภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรม และบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกมิติได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ห้องประชุมพระธาตุนคร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายวรรณพล ต่อพล รองผู้ว่าราช การจังหวัดนครพนม เป็นประธานนำคณะกรรมการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จังหวัดนคร พนม เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงหลักเกณฑ์การสรรหาและการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราช ทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2566 (ประเทศ
ไทย) กับกระทรวงมหาดไทยผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (Video Conference System) ที่มีนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม
โดยรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี (Princess Maha Chakri Award) เป็นรางวัลที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้แก่ครูผู้มีความทุ่มเทเสียสละตนจนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับลูกศิษย์ และมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการศึกษา จาก 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ซึ่งคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลจะต้องประกอบไปด้วย คุณสมบัติทั่วไป คือมีสัญชาติไทย และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย โดยเป็นหรือเคยเป็นครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาของรัฐ เอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหรือเคยเป็นครูนอกสถานศึกษาที่สอนผู้เรียนในวัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประสบการณ์ปฏิบัติงานสอนอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี นับถึงวันที่ออกประกาศโดยยังปฏิบัติงานสอนอยู่จนถึงวันประกาศผลการพิจารณาตัดสิน และไม่เป็นครูสอนพิเศษเป็นอาชีพหลัก ส่วนคุณสมบัติเฉพาะคือต้องเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา ซึ่งในการสรรหานั้นจะให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเสนอชื่อให้กับคณะกรรม การส่วนกลาง ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคม มูลนิธิ และองค์กร ลูกศิษย์ที่เป็นศิษย์เก่าที่มีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี และคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษาเสนอชื่อต่อคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัด พิจารณาและคัดเลือกครูที่ได้รับการเสนอชื่อ จากนั้นประกาศรายชื่อเพื่อรับฟังข้อทักท้วงผลการคัดเลือก และร่วมกันวินิจฉัยหากมีข้อทักท้วงเมื่อดำเนินการเสร็จตามขั้นตอนแล้วจะส่งรายชื่อต่อให้คณะกรรมการส่วนกลาง พิจาร ณาคัดเลือกผู้ที่มีความโดเด่นให้เหลือ 20 คน โดยจะมีการพิจาร ณาจากเอกสาร หลักฐาน ศึกษาข้อมูลเชิงลึก และลงพื้นที่พิจาร ณาคัดเลือกเพื่อจัดลำดับผลการคัดเลือก จากนั้นเสนอชื่อต่อคณะกรรมการวิชาการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอรายชื่อครูต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ เพื่อพิจารณาตัดสินครูผู้สมควรได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 1 รางวัล รางวัลคุณากร 2 รางวัล รางวัลครูยิ่งคุณ 17 รางวัล และรางวัลครูขวัญศิษย์จากรายชื่อที่เสนอโดยคณะกรรมการวิชาการ จากนั้นจะประกาศผลการตัดสินให้ทราบโดยทั่วไป.
Discussion about this post