
วันที่ 18 ส.ค.65 จากสภาพพื้นที่ชายขอบ นักเรียนโรงเรียนบ้านในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่อง สอน ส่วนใหญ่เป็นไทใหญ่ และชนเผ่ากะเหรี่ยง แม้โรงเรียนจะอยู่ห่างจากชายแดนเพียง 16 กิโล เมตร แต่หมู่บ้านชุมชนที่เด็ก ๆ นักเรียนเหล่านี้อาศัยอยู่ติดแนวตะเข็บชายแดน รายล้อมไปด้วยป่าภูเขาและการสัญจรยากลำบากโรงเรียนบ้านในสอย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2479 โดยอาศัยศาลาวัดบ้านในสอยเป็นสถานที่เล่าเรียน ใช้ชื่อ โรงเรียนประชาบาล ตำบลปางหมู 2 (บ้านในสอย) ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษา ยน 2481ได้จัดซื้อที่ดิน จำนวน 12 ไร่ ในราคา15 บาท เพื่อเป็นสมบัติของโรงเรียน เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2482 ได้ขอแรงราษฎรช่วยกันปลูกสร้างอาคารเรียนคิดค่าก่อสร้างเป็นเงิน 290 บาท วันที่ 10 มิถุนายน 2482ได้ย้ายมาทำ การสอนที่โรงเรียนหลังใหม่ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2535 ได้เข้าโครง การขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนทั้งสิ้น 21 คน แยกเป็น ชาย 4 คน หญิง17 คน จนถึงปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอน ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึง มัธยม ศึกษาตอนต้น เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา มีเด็กนักเรียน จำนวน 291 คน
นางพัชราภรณ์ วิมาลัย ครูชำ นาญการพิเศษโรงเรียนบ้านในสอย กล่าวว่า การเรียนการสอนของโรงเรียนใช้หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ มาทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนของ มีอัตลักษณ์เป็นโรงเรียนวัฒนธรรม มีหลักสูตรเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่นำมาใช้ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ด้านภาษา ศิลปะการแสดง งานฝีมือ การสร้างสินค้าของที่ระลึกของชนเผ่า หมู่บ้านในสอยเป็นชาวไทใหญ่ ประมาณร้อยละ 60 เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงแดงร้อยละ 40 เนื่องจากหมู่บ้านและโรงเรียน อยู่ติดศูนย์พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในสอย ชาวบ้านในศูนย์อพยพกับชาวบ้านในหมู่บ้านจะเป็นเครือญาติไปมาหาสู่กัน ปัญหาคือเรื่องสัญชาติ เพราะเด็กบางส่วนก็จะมาอยู่ในหมู่บ้าน บางส่วนอยู่ในศูนย์อพยพ ทำให้มีปัญหาเด็กไม่มีสัญชาติ เมื่อก่อนทางทะเบียนของโรงเรียนเด็กไม่มีสัญชาติไม่มีเลข 13 หลัง ต้องมีตัว G นำหน้า แต่ปัจจุบันเราก็ได้พัฒนาระบบให้มีเลข 13 หลักเฉพาะ เด็กๆเป็นห่วงและกังวนเรื่องบัตรประจำตัวประชาชน โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลมีครูที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เคยไปประกวดงานศิลปะหัตกรรม สามารถพูดภาษาอังกฤษชนะเด็กที่อยู่ในเมืองได้ในระดับ ม.ต้น บางส่วนเวลาเราไปสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนประจำจังหวัดเด็กสามารถสอบเข้าห้อง 1 หรือห้องเด็กเก่งได้ ทุกปี ส่วนหนึ่งเด็กก็จะไปเรียนต่อด้านสายอาชีพเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยการอาชีพนวมินราชินีที่ตอบโจทย์ของชุมชน และเด็กบางส่วนเมื่อจบจากสายสามัญ ก็สามารถไปเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอนได้ด้วย ไม่ต้องไปเรียนไกลต่างจังหวัดซึ่งเป็นความต้องการของคนในพื้นที่ เด็กนักเรียนเมื่อเรียนจบจากโรงเรียนไปแล้วส่วนใหญ่จะเป็นเรียนต่อสายอาชีพมากกว่าสายสามัญ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ความสามารถเกตเฉลี่ยและความพร้อมของครอบครัวด้วย
นอกจากสิ่งที่ทางโรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนให้กับเด็ก ๆ เหล่านี้แล้ว สิ่งที่ต้องการ คือความเสมอภาคทางด้านสัญชาติ เพราะเป็นโอกาสที่เด็ก ๆ จะได้ศึกษาต่อในอนาคต อีกเรื่องคือสื่อเทคโนโล ยี เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะใช้งานมานานไม่เพียงพอ เวลาเด็กเรียนจะต้องนั่งรวมกัน 2-3 คนต่อเครื่อง ช่วงที่มีโควิดระบาดจะเป็นอุปสรรคมาก จะต้องจัดกิจ กรรมเสริม เพื่อไม่ให้นั่งใกล้ชิดกัน บนความขัดสนนี้ทางรัฐบาลก็ให้อินเทอร์เน็ตชุมชนคือห้องยูโซ่มาให้ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เด็กๆ ได้ใช้ร่วมกับประชาชนในชุมชนมาหาข้อมูลมาใช้ติดต่อสื่อสาร แต่จำนวนเครื่องก็ยังไม่เพียงพอ โรงเรียนบ้านในสอยเด็กที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนบ้านในสอยจะเป็นเด็กที่ไร้สัญญาติและมีสัญชาติประมาณ 50/50

นางสาว นิชา ดรุสัณท์ อายุ 16 ปี นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านในสอย ชนเผ่ากะเหรี่ยงแดง บอกว่า การเรียนการสอนของโรงเรียนสอนตามหลักสูตร แต่จะมีคาบสเต็ม STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics หรือการบูรณาการความรู้ระหว่าง 4 สาขาวิชา ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ และคณิต ศาสตร์STEM Education หรือ “สะเต็มศึกษา” คือการนำเอาทักษะ STEM มาจัดเป็นรูปแบบการศึกษา ที่ผสานรวมหรือบูรณาการความรู้ทั้ง4 สาขาเข้าด้วยกัน การค้นหาสำรวจอนุรักษ์และแบ่งปันที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมมาแล้ว เช่นเรื่องนาดำ ซึ่งโรงเรียนชายขอบ เพื่อน ๆที่อยู่ในโรงเรียนหลายคนไม่มีสัญชาติไทย บางคนคิดว่าเมื่อเรียนจบ ม.3 แล้ว จะไปเรียนต่อให้จบ ป.ตรี เพราะต้องการสัญชาติไทย ที่โรงเรียนสิ่งที่อยากได้คือเครื่องคอม
พิวเตอร์ซี่งไม่เพียงพอ บางเครื่องใช้งานมานาน นอกจากนี้สิ่งที่เราขาดและอยากได้มากคือโรงยิม เพราะเราไม่มีโรงยิมทำกิจกรรม เล่นกีฬา หลังเรียนจบ ม.3 จากโรงเรียน ก็จะไปเรียนต่อในตัวเมืองส่วนใหญ่ผู้ชายก็จะไปเรียนต่อสายอาชีพ ส่วนผู้หญิงก็จะไปเรียนต่อสายสามัญ
นายอ่อม (ไม่มีชื่อสกุล )อายุ 16 ปี นักเรียนชั้น ม.3 บอกว่า นอก จากการเรียนการตามปกติแล้ว ก็จะมีกิจกรรมการแข่งขันเกมส์ ROV ในโรงเรียน เพื่อคัดเลือกทีมที่ชนะ ไปแข่งกับโรงเรียนในตัวเมือง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเกมส์ความสามัคคี การเล่น ROV นี้เพื่อเสริมทักษะเกี่ยวกับการวางแผน น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนและการทำงานเป็นทีม จะได้นำมาใช้ในวันข้าหน้าต่อไป และอยากให้โรงเรียนเพิ่มจอมอนิเตอร์ให้มากกว่านี้ น้อง ๆ หลาย ๆ ชั้น จะได้มาดูการแข่งขันด้วย ก็จะมีการแข่งขันกันเองในโรงเรียน ผู้ชนะก็จะได้รับรางวัลจากโรงเรียน และคัดที่ 1 ที่ 2 เป็นตัวแทนโรงเรียนไปแข่งกับโรงเรียนในตัวเมือง.
Discussion about this post