
วันที่ 22 ส.ค.65 นายปริญเดช ศิริพานิช อธิบดีอัยการภาค 4 เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ โดยมีนายพงษ์นรินทร์ นิลจันทร์ อัยการจังหวัดชุมแพ นางสาววรวรรณ วงศ์ปัญญา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมคณะอัยการประจำจังหวัดชุมแพ และคณะกรรมการการมีส่วนของประชาชน ที่ปรึกษาคณะกรรม การการมีส่วนร่วมฯ ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทราบวัตถุประสงค์ในการประชุม พร้อมร่วมให้การต้อนรับ อธิบดีอัยการภาค4 และคณะผู้บริหารสำนัก งานอัยการภาค4
นายพงษ์นรินทร์ นิลจันทร์ อัยการจังหวัดชุมแพ กล่าวว่า ด้วยสำนักงานอัยการสูงสุดได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม” โดยกำหนดให้การ “พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ” การสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ปี พ.ศ.2560-2564
สำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ เป็นหน่วยงานภายใต้บังคับบัญชาสำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา สำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 -2566 เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติ ธรรมอย่างเท่าเทียม เป็นช่องทางในการให้ความสำคัญกับความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเพื่อพัฒนาสำนัก งานอัยการจังหวัดชุมแพ
ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว สำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ จึงได้มีการแต่งตั้ง โดยได้คัดเลือกจากผู้สมัครภาคเอกชน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอชุมแพ ซึ่งมีชื่อเสียงอันดีงามและเป็นที่นับถือของประชาชนในชุมชน ในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดชุมแพ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการสูงสุด ในสำนัก งาน อัยการจังหวัดชุมแพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี พร้อมมอบเกียรติบัตร และบัตรประจำตัว ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการ 1.นายพงษ์นรินทร์ นิลจันทร์ ประธานคณะกรรมการ
2.นางสาววรวรรณ วงศ์ปัญญา 3.นายภสุ โคตรศรี 4.นายวีระชัย ราบรื่น 5.นายสุวัฒน์ ประจงการ
6.นายสุขชัย พงษ์กังสนานันท์
7.นายประสิทธิ์ ศรีภา 8.นายธนาศักดิ์ สติมั่น ที่ปรึกษาคณะกรรม การ 1.นายไพทูรย์ มาเมือง 2.นายประสันต์ เขมะประสิทธิ์
3.นายฉัตรชัย ธุรกิจเสรี 4.นายอดิศร กาญจนหฤทัย 5. นายอาณัติ ศิริธนชัย 6. นายเสกสิทธิ์ สัธนะกุล 7. นายฉัตรชัย มินารัมย์ นายวรกิต ทองใบ 9. นางสาวสมฤทัย หมื่นภูเขียว
ด้านนายปริญเดช ศิริพานิช อธิบดีอัยการภาค4 กล่าวในที่ประชุมอีกว่า ที่ผ่านมาเราไม่สามารถที่จะระดมคนให้คณะกรรมการและอัยการเพื่อเผยแพร่เรื่องกฎหมายแก่ประชาชนได้เต็มที่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 เมื่อผมเป็นอธิบดีอัยการภาค 4 เห็นว่าลำพังอัยการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ให้กับชาวบ้านอาจไม่ทั่วถึง เพราะทำงานด้านกฎ หมายในสำนักงานเป็นหลัก พอมีคดีความเข้ามาสู่อัยการ สำนวนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งมาให้ เมื่อดูสำนวนการสอบสวนก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพยานที่ตำรวจสอบมาจริงหรือเท็จ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องอาศัยคณะกรรมการฯในการเป็นหูเป็นตาให้กับอัยการในพื้นที่ เพราะเมื่อมีคดีเกิดขึ้นที่ไหน ใครเป็นใครทุกท่านพอจะรู้ ใครเป็นคนร้ายใครเป็นผู้กระทำผิด ในการอำนวยความยุติธรรมตรงนี้ลำพังฝ่ายอัยการอาจไม่เข้าถึงก็เลยต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมามีส่วนร่วมในการให้ความยุติธรรมกับชาวบ้าน โดยอัยการจังหวัดเองก็ยินดีที่จะรับฟังข้อมูลข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการทุกท่าน เพราะเป็นคนในพื้นที่ เป็นประโยชน์กับชาวบ้าน เพราะบางเรื่องไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล หรือก่อนจะขึ้นมันก็มีระบบความยุติธรรม มีขั้นตอนอยู่ ตนเห็นว่าทุกคดีไกล่เกลี่ยได้หมด โดยเฉพาะคดีที่ยอมความกันได้ คดีเล็กๆน้อยๆบางทีชาวบ้านไม่รู้ช่องทางของกฎหมาย รู้อย่างเดียวว่าเมื่อเขาทำผิดจะทำอย่างไรโทษหนักจะได้กลายเป็นเบา อันนี้ต้องอาศัยอัยการ นักกฎหมายที่จะชี้ช่องให้ว่าเมื่อเป็นคดีเป็นสำนวนการสอบสวนขึ้นมาแล้วสมควรที่จะสู้คดีไหม ในขั้นตอนนี้ถ้าเป็นคดีที่ยอมความได้ ทุกเรื่องทางคุ้มครองสิทธิ์ก็จะมีหนังสือแจ้งไปยังฝ่ายผู้เสียหาย และผู้กล่าวหาว่าคุณจะยอมความกันหรือไม่คุยกันก่อนไหม ทางอัยการก็จะชี้ทางให้ หรือแม้คดีที่ยังไม่ถึงตำรวจ อัยการท่านก็มีความสามารถเจรจาในระดับพื้นที่ได้
ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ของสำนัก งานอัยการสูงสุดซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ของอัยการในฐานะเป็นองค์ กรนำการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของภาครัฐสมัยใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการขับเคลื่อนวาระในการขับเคลื่อนภารกิจของอัยการเป็นเหตุผลในการแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาชน ทั้งนี้การมีส่วนร่วมภาคประชาชนเป็นช่องทางสำคัญยิ่งที่จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจ บท บาทหน้าที่ของอัยการ วิธีการติดต่อราชการ เวลาติดต่อกับอัยการไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ต้องหา เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนทางกฎหมายก็สามารถติดต่อกับอัยการได้ในการอำนวยความยุติธรรมนอกจากว่าจะสั่งสำนวนการสอบสวนที่รับมาจากโรงพักที่ถูกตำรวจจับมาเป็นผู้ต้องหามาส่งอัยการ ไม่ใช่ว่าอัยการจะสั่งฟ้องทุกคดีนะครับ เมื่อรับสำนวนมาเรามีหน้าที่พิจารณาว่าตำรวจนั้นทำสำนวนการสอบสวนถูกต้องหรือไม่ด้วย วันนี้เราจะเห็นโลโก้ OAG สีส้ม ของสำนักงานอัยการสูงสุด (office of the attorney general) ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้สร้างแบรนด์ขึ้นมาไม่ใช่แบรนด์สินค้าหรือโลโก้เครื่องหมายการค้า แต่เป็นแบรนด์แห่งคุณภาพ แบรนด์แห่งความยุติธรรม แบรนด์แห่งความเสมอภาค เมื่อประชาชนเดือดร้อนให้นึกถึงโลโก้นี้ เป็นแบรนด์แห่งความยุติธรรม ความสามัคคี นักกฎหมายที่พึ่งของประชาชน ให้แบรนด์ OAG สีส้มตัวนี้เป็นจุดขาย และอัยการไม่ใช่มีหน้าที่ฟ้องคนเข้าคุกอย่างเดียว อัยการยังมีหน้าที่นำคนออกจากคุก ปล่อยคนบริสุทธิ์ ให้คำปรึก ษา ปัญหาสำหรับชาวบ้านให้ความยุติธรรมสำหรับประชาชน การแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวจะได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่อำนวยความยุติธรรมร่วมกับอัยการ เราก็คงมีโจทย์ร่วมกันคือ สร้างแบรนด์ OAG เพื่อสำนักงานอัยการสูงสุด.
Discussion about this post