เมื่อเวลา 9.00 น.วันที่ 22 สิงหาคมนี้ ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยดร.ชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยราช ภัฏนครสวรรค์ ผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิด้านผ้าทอจากมหาวิทยา ลัยราชภัฏนครสวรรค์ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกันแถลงข่าวกิจกรรมคัดเลือกผลิต ภัณฑ์ผ้าทอชั้นเลิศจังหวัดนคร สวรรค์
โดยคณะกรรมการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ผ้าทอชั้นเลิศจังหวัดนครสวรรค์ประกอบด้วย พัฒนา การจังหวัดนครสวรรค์ รศ.ดร. สุชาติ แสงทอง ผศ.รพีพัฒน์ มั่นพรหม ผศ.อธิกัญญ์ มาลี ดร.จตุพร งามสงวน ดร.ชาตรี วงสายสิน หัวหน้าแผนกวิชาการออกแบบวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ และหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่นำมาแสดงในวันนี้นั้นมาจาก กลุ่มผ้าทอ 18 กลุ่ม จาก 10 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 113 ชิ้นซึ่งในการพิจารณาคัดเลือกนั้นก็จะดูในเรื่องของ คุณภาพ มาตรฐาน เส้นใย ลวด ลาย ความสวยงาม
สำหรับผ้าทอที่ได้ผ่านการคัดเลือกในวันนี้จากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ อบจ.นครสวรรค์ จะได้ดำเนินส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดให้กับกลุ่มผ้าทอดังกล่าว โดยการจัดหาตลาดผ่านทางชมรมบ้านบึงบอระเพ็ด รวมทั้งอบจ. จะดำเนินการจัดหาในเรื่องของการตลาดการจำหน่าย การกำหนดราคาและพัฒนาคุณภาพเพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าเข้าสู่ตลาดโลกต่อไป และจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าทอ ผ้าแปรรูปหรือผ้าไทยในจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อ.เมือง อ.แม่เปิน อ.ไพศาลี อ.ตากฟ้า อ.บรรพตพิสัย อ.ตาคลี อ.ชุมตาบง อ.ท่าตะโก อ.แม่วงก์ และอ.หนองบัว
พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ ร่วมกับดร.ชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ดร.ชุติพร ซึ่งเป็นผู้ดูแลหน่วยงาน พช. พม. และวัฒนธรรมจังหวัด โดยได้ดำเนินการลงพื้นที่และจัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มผ้าทอในแต่ละอำเภอทั้ง 18 แห่ง ตลอดระยะเวลา 5–6 เดือน ได้พบว่า การทอผ้าจะทำกันเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำเกษตรกรรม ชาวบ้านที่ทำไม่ได้มุ่งหวังทำเป็นอา ชีพหลัก เพราะเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมและไม่สามารถที่จะเปลี่ยนวิธีคิดได้ สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้ฝีมือในการทอผ้าแต่ละที่มีความแตกต่างกันออกไป และส่งผลทำให้กำลังการผลิตน้อยลง คนรุ่นใหม่ไม่มีแนวความคิดที่จะสืบทอดวิชาชีพทอผ้า เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน และรายได้ไม่ดึงดูดใจ โดยได้กำไรเฉลี่ยประมาณผืนละ 100 บาทเท่านั้น ทำให้ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ยึดติดกับสังคมแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารสมัยใหม่ และยังมีความคิดที่จะเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่อีกด้วยเป็นหลัก อีกทั้งไม่มีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายเพราะผ้าทอส่วนใหญ่ จะอยู่เฉพาะกลุ่มคนทำงานในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นหลักเท่านั้น
อาชีพทอผ้ายังไม่สามารถแพร่หลายหรือสร้างแรงจูงใจให้กับกลุ่มประชาชนทั่วไปได้ จึงทำให้การสั่งซื้อน้อยลงไปด้วยเพราะคนส่วนใหญ่จะมีความคิดว่าผ้าทอจะต้องตัดเย็บเป็นชุดได้เท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีแนวคิดและวิธีการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอเป็นสินค้าประเภทอื่น เพื่อกระตุ้นกำลังการซื้อของกลุ่มประชาชนทั่วไปได้ รวมถึง การกำหนดราคาซึ่งเป็นไปตามราคาท้องถิ่นและการต่อรองในการขายผ้าทอแต่ละที่ ไม่มีการปรับราคาให้สูงขึ้นได้และไม่มีการกำหนดราคากลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปัญหาหลักของกลุ่มผ้าทอได้แก่ 1)ด้านคุณ ภาพ 2)ด้านมาตรฐานของผลิต ภัณฑ์ 3)ด้านเงินทุนหมุนเวียน
4)ด้านการสั่งซื้อ 5)ด้านการตลาด
ส่งผลให้คนรุ่นหลังละทิ้งอาชีพที่ทรงคุณค่านี้ ซึ่งในอนาคตผลิต ภัณฑ์ผ้าทอจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนถ้ามีการส่งเสริมพัฒนา และต่อยอดเพื่อช่วยให้ผ้าทอสามารถเข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้
สืบเนื่องจากปัญหาดังกล่าว องค์ การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ จึงได้มีแนวคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มผ้าทอในจังหวัดนครสวรรค์ โดยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 องค์ การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาผ้าทอจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ 1) สำนัก งานพัฒนาชุมชนจังหวัดนคร สวรรค์ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) โรงเรียนช่องแคพิทยาคม 4) วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ 5) หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อที่จะมาร่วมปรึก ษาหารือเกี่ยวกับการกำหนดแนว ทางในการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานของผ้าทอที่แต่ละกลุ่มผ้าทอ โดยได้กำหนดจัดกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มผ้าทอส่งผลงานชิ้นที่ดีที่สุดของกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือก
และเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร สวรรค์ ร่วมกับ ดร.ชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนคร สวรรค์ ได้ร่วมประชุมกับกลุ่มผ้าทอทั้ง 18 กลุ่ม เพื่อรับฟังวิธีการ นำเสนอผลงานผ้าทอให้กับ อบจ. ที่คัดเลือกผ้าทอชิ้นที่ดีที่สุดให้ อบจ. โดยทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ได้มอบทุนสนับสนุนกลุ่มผ้าทอ เพื่อเป็นทุนในการผลิตผ้าทอกลุ่มละ 5,000 บาท โดยกำหนดให้ส่งผลงานภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 และจะพิจารณาคัดเลือกผ้าทอในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ผ้าที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1.พัฒนาการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ 2.รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3.ผศ.รพีพัฒน์ มั่นพรม หัวหน้าสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราช ภัฏนครสวรรค์ 4.ผศ.อธิกัญญ์ มาลี หัวหน้าสาขาวิชาคอมพิว เตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
5.ดร.จตุพร งามสงวน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนช่องแคพิทยา คม 6.ดร.ชาตรี วงศ์สายสิน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนช่องแคพิทยาคม 7.หัวหน้าแผนกวิชา การออกแบบ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ 8.ประธานหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ อบจ. จะได้ดำเนินส่งเสริมและสนับสนุนต่อยอดให้กับกลุ่มผ้าทอดังกล่าว โดยการจัดหาตลาดผ่านทางชมรมบ้านบึงบอระเพ็ด ต่อไป
ต่อมาเมื่อเวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นคร สวรรค์ พร้อมด้วย นางสุดฤทัย เศรษฐนันท์ รองนายก อบจ. นคร สวรรค์, นางสาวพิมพ์ปวีณ์ นิลสุพรรณ เลขานุการนายก อบจ. นครสวรรค์,นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัด อบจ. นครสวรรค์ ผู้แทน ที่เข้าร่วมในการประชุมประกอบด้วย ผู้แทนโรงพยาบาลศรีสวรรค์ สำนักงานสาธารณสุข จ.นคร สวรรค์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยราช ภัฏ จ.นครสวรรค์ ผู้แทน อบต. ตะเคียนเลื่อน โดยมีนักวิชาการที่เข้ามาร่วมประชุมตามโครงการ ” ถอดบทเรียนและวิเคราะห์กลไกการบริหารจัดการปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ อบจ.นครสวรรค์ อบจ.นนทบุรี อบจ.นครราชสีมา ” ประกอบด้วย
- ดร.ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และกรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
- อาจารย์รัศมี สุขรักษา อาจารย์ประจำศูนย์ศึกษากฎหมายการกระจายอำนาจการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยรังสิต และกรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายการดระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
- นายเมธา มาสขาว นักวิชาการอิสระ และเลขาธิการคณะกรรม การรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
โดยมีหัวหน้าคณะวิจัยผู้รับผิดชอบโครงการ คือดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล อาจารย์ประจำและหัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชน คณะนิจิศาสตร์ มหาวิท ยาลัยรังสิต ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีความคาดหวังว่า 1. ได้ราย งานทางวิชาการถอดบทเรียนและวิเคราะห์กลภกการรับมือสุานการณ์โควิด 19 ของทั้ง 3 อบจ. รวมทั้งกลไกความร่วมมือในลักษณะกัลยาณมิตรในพื้นที่ 2. ได้นำองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนฯ มาใช้ต่อยอดทางวิชาการเพื่อพัฒนางานวิจัย หรือการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพโดยรูปแบบหรือวิธีการอื่นๆ ภายใต้กลไกเครื่องมือตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ 3. สช.สามารถนำผลการดำเนินการตามโครงการนี้มาใช้ประกอบการสำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพเพื่อจัดทำเป็นรายงานหรือเพื่อประ โยชน์ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ
โดยในการประชุมได้กล่าวถึงวิธีการดำเนินการ การจัดหางบประมาณ การวางแผนการบริหารจัดการด้านกำลังคน อุปกรณ์ ยา และความร่วมมือจากองค์กรอื่นในพื้นที่ รวมถึงปัญหาที่พบและการแก้ไขปัญหา ซึ่งทาง อบจ.นคร สวรรค์ดำเนินการด้วนการใช้หลักการ ” แยกปลาออกจากน้ำ ” แยกให้ชัดเจนระหว่างผู้ป่วยกับผู้ไม่ป่วย จะได้รักษาตรงจุด นอกจากนี้ยังได้มีการพูดถึงเรื่อง การกระจายอำนาจด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ มีความเห็นอย่างไร และจะมีผลอย่างไร ต่อการบริหารจัดการต่างๆในจังหวัด ในที่ประ ชุมเห็นว่าควรมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯได้แล้ว เพราะการบริหารจัดการเงินภาษีของประชาชนในพื้นที่ ควรเป็นไปตามความต้องการของคนในพื้นที่ มากกว่าที่จะมีการจัดสรรลงมา โดยไม่รู้จักพื้นที่หรือไม่ทราบความเดือดร้อน หรือความต้องการที่แท้จริงของประชาชน.
ิ
Discussion about this post