สัมผัสดอยสกาด ผ่านประเพณีกินสโลดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ช่วงเช้าๆ ชาวบ้านจะพากันเข้าป่า เพื่อไปตัดไม้ใผ่ เพื่อทำพิ ประกอบในพิธีกรรม ช่วงบ่ายชาวบ้านก็จะทยอยกันเดินมาจากป่าเข้าสู่หมู่บ้าน เพื่อไปยังบ้านจุดหมายที่ใช้ประกอบพิธี ณ ดอยสกาด ต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน นายสมเกียรติ อาจสังข์ นายอำเภอปัว ร่วมงานประเพณีกินสโลด หรือตีพิ โดยมีนายหวน รกไพร นายก อบต.สกาด ผู้นำชุมชน กลุ่มพลังมวลชน พร้อมด้วยนักท่องเที่ยว เป็นจำนวนมากที่ขึ้นมาท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ต่างในงานนี้โดยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเลี้ยงขวัญข้าวเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในช่วงหลังการเพาะปลูกพืชไร่ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ได้รับฟัง บ้านพิ แบ่งออกเป็น 2 บ้าน บ้านพิจอง คือ บ้านที่พิตกลงมาจากฟ้า ร่วงบนบ้าน จะทำพิกันบนบ้าน บ้านพิหลวง เป็นบ้านที่พิ ร่วงมาจากฟ้าตกถึงพื้นดิน การแห่พิ จะแห่จากบ้านพิจองมาสู่บ้านพิหลวง ระหว่างการแห่ จะมีชาวบ้านร่ายรำประกอบการตีพิ ผ่านตลอดเส้นทางในหมู่บ้าน มีผู้นำขบวน เรียกว่า ข้าวจ่ำ เดินนำหน้า ถ้าข้าวจ่ำหยุดตรงไหน ขบวนก็จะหยุดด้วย และมีการตีพิและร่ายรำ เป็นระยะๆ จนถึงบ้านพิหลวง เพื่อประกอบพิธีกินโสลด และจะนำพิทั้งหมดมากองรวมกันที่บ้านพิหลวง หลังจากนั้นชาวบ้านจะมีการออกไปยังบ้านเรือนต่างๆ เพื่อตีพิและขอข้าวป๋วง ชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งมงคลถ้าได้กินแล้วจะเป็นศิริมงคลต่อตนเองและคนในครอบครัว บ้างก็จะนำไว้ในยุ้งฉาง(ลูนข้าว) ซึ่งเชื่อว่าจะมีข้าวปลาอาหารกินตลอดทั้งปี บ้างก็นำไปไว้ในไร่ข้าวซึ่งเชื่อจะมีผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อีกทั้งยังเชื่อกันว่าสามารถไล่นกหนูหรือแมลงต่างๆไม่ให้มารบกวน กัดกินและทำให้ข้าวเสียหายอีกด้วย เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนจะมีการฆ่าพิ(ทำลายพิ) ตามประเพณีดั้งเดิม

หมายเหตุ พิ คือ เครื่องดนตรีของชาวลัวะที่ทำขึ้น จากไม้ไผ่(ไม้เฮี๊ยะ) เป็นไม้ไผ่เฉพาะถิ่น จะเล่นเฉพาะในงานโสลดนี้เท่านั้น ประเพณีนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการการเลี้ยงขวัญข้าวเลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน ในช่วงหลังการเพาะปลูกพืชไร่ เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านหยุดพัก อีกทั้งเป็นช่วงฤดูฝนอีกด้วย โดยจะหยุดพักผ่อนเพื่อประกอบพิธีกรรมนี้ในทุกๆปี พิธีโสลดของชาวลัวะสกาด ใช้ระยะเวลาในการจัด 7 วัน (ซึ่งจะไม่นับวันที่ไปเอาพิในป่า)
การนับวันของชาวลัวะ : ใน 1 สัปดาห์ มี 10 วัน ได้แก่ วันขาบ วันดั๊บ วันว้าย วันเมิง วันเพิ๊ก วันคั๊ด วันค๊ด วันล่วง วันเต่า และวันก่า (1 รอบ(สัปดาห์) เท่ากับ 10 วัน, 10 วัน เท่ากับ 1 ขวบ และ 3 ขวบ เท่ากับ 1 เดือน)ตลอดสัปดาห์ ถือว่าเป็นกิจกรรม ที่ช่วยสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้าน หลังจากตลอดทั้งปีมานี้ต่างคนต่างทำมาหากิน ต่างหน้าที่การงานไม่ค่อยมีเวลาพบปะสังสรรค์กัน พิธีกรรมนี้จึงเป็นพิธีกรรมที่สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนปีนี้จัดระหว่างวันที่ 18 – 24 สิงหาคม 2565 วันที่ 24 สิงหาคม ถือว่าเป็นวันสุดท้ายของประเพณี มีขบวนแห่ ช่วงเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป และตลอดทั้งสัปดาห์ จะมีกิจกรรมขบวนแห่พิ, พิธีกรรม ตามความเชื่ออื่นๆ สลับกันไป
ประเพณีโสลด ชาวลัวะแห่งจังหวัดน่าน มีเครื่องดนตรีประจำเผ่าเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ กลุ่มปรัย เรียกเครื่องดนตรีของเขาว่า “เประห์” และกลุ่มมัล เรียกว่า “ปิอ์” หรือที่คนเมืองเรียกว่า “พิ” เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ทำจากไม้ไผ่เหมือนกัน แต่มีรูปทรงลักษณะ วิธีการเล่น ตลอดจนโอกาสในการเล่นที่แตกต่างกันออกไป
“พิ” หรือในภาษาลัวะ เรียกว่า “ปิอ์” เป็นเครื่องดนตรีของชาวลัวะมัล ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ตีให้จังหวะ เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในพิธีโสลดหลวง “พิ” ทำขึ้นจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ไม้เฮียะ” พิจัดเป็นเครื่องดนตรีพิเศษของชาวลัวะและประเพณีโสลดของ หมู่บ้านสกาด ต.สกาด อ.ปัว จ.น่าน ได้จัดขึ้นในทุกๆปี

สำหรับประเพณีการกินสโหลด(ตีพิ) วิถีชนเผ่าลัวะ ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
วันแรกของประเพณี ตีพิ บ้านสกาด ชาวบ้านจะต้องออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อเข้าป่าลึกเพื่อหาไม้ไผ่ (ไม้เฮี้ย) ที่จะมาทำเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “พิ”โดยมีหมอผีประจำหมู่บ้านเป็นผู้กำหนด ระหว่างที่เดินทางจะเข้าป่า จะไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพราะว่าถือว่าเป็นการอยู่กรรม เมื่อไปถึงป่าไม้ไผ่ที่เป็น หมอผีจะเป็นผู้ลงมือตัดเป็นคนแรก จากนั้นชาวบ้านก็จะช่วยกันตัด โดยจะเลือกไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรงได้ที่ขนาดพอเหมาะ ตัดเป็นปล้องๆ ส่วนใต้ข้อลงไปและเหนือข้อขึ้นไป ขนาดเกือบ 1 ฟุต เมื่อได้ขนาดที่ต้องการตามที่กำหนด จะเจาะรูทั้งสองด้านของปล้องไม้ไผ่ แล้วเหลาไม้ยาวเท่าๆ ขนาดของปล้องไมไผ่ ใช้ เสียบทะลุตรงรูที่เจาะเหนือข้อปล้อง โดยทิ้งปลายไม้ทั้งสองด้าน ปลายส่วนหนึ่งสั้นทำไว้จับ อีกปลายส่วนหนึ่งยาวกว่าไว้ใช้ตี เพื่อทำให้เกิดเสียง จากนั้นชาวบ้าน จะทำการทดสอบโดยใช้ไม้เคาะส่วนปลายไม้ที่ยาวกว่า เพื่อให้เกิดเสียง และความไพเราะ หากไม่ได้ตามต้องการ จะค่อย ตัดปลายไม้ออก จนกว่าจะได้เสียงที่ดีและไพเราะ เมื่อได้ตามต้องการ ชาวบ้านจะทำต่อแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ชาวบ้านคนหนึ่ง จะต้องประกอบพิขึ้นมา และทำให้ครบชุด 1 ชุดหนึ่งจะมี 3 ตัว เพื่อให้เกิดเสียงแตกต่างกัน ชาวบ้านที่เข้าป่าไปเอาพิ มีจำนวนร่วมสองร้อยคน ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาที่ทุกคนทดสอบเสียงพิที่ทำขึ้นมา เสียงเคาะจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งเมื่อทำเสร็จก็จะส่งเสียงพร้อมๆ กันจนเสียงเประห์จะดังก้องกังวานไปทั้งหุบเขา ปีนี้ประเพณี ตีพิ ชนเผ่าลัวะ นี้ที่จัด ขึ้นเป็นเวลา 7 วัน การเดินทาง จากน่าน ไป อ.ท่าวังผา – อ.ปัว ตามเส้นทาง 101 ประมาณ 65 กม. เลี้ยวขวา หน้า อบต.สถาน ใช้เส้นทางหลวงชนบท ไปบ้านนาฝาง เลี้ยวซ้ายมือทางหลวงชนบท นน. 4001 ขั้นไปดอยสกาด ระยะทางร่วม 22 กม. สามารถเยี่ยมชมวิถีลัวะ บนดอย ผ่านประเพณีตีพิ หรือกินโสลด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Discussion about this post