วันนี้ 25 สิงหาคม 2565 ที่สำนักงานผู้ว่าราชการ จังหวัดยะลา ทาง นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลา นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา ประธานชมรมศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ยะลา(ตาดีกา) ประธานชมสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดยะลา ได้นำหนังสือแถลง การณ์และข้อเสนอแนะของสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ ที่มีความเป็นห่วงกับสถาน การณ์หลังจากที่ รัฐบาลมีการออกกฎหมาย กัญชาเสรี ปลดกัญชาจากยาเสพติด พระราชบัญญัติสุราก้าวหน้า และ พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม – คู่ชีวิต เพราะขัดแย้งกับหลักการศาสนาอิสลาม ศาสนธรรมที่จะกระทบกับวิถีชีวิตและจะยิ่งเพิ่มปัญหาในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาเด็กและเยาวชนของชุมชนและประเทศชาติในอนาคต มายื่นให้กับ นายภิรมย์ นิลทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เพื่อนำส่งไปยัง นายกรัฐมน ตรี โดยทาง นายภิรมย์ นิลทยา ผู้ว่าราชการ จังหวัดยะลา ได้รับหนังสือ พร้อมทั้ง จะแจ้งความประสงค์ของพี่น้อง ประชาชนชาวยะลา ที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ และมองว่าไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาไปถึง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาด ไทย , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อไป
ทั้งนี้ สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้นั้นประกอบด้วยโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวน 400 โรงเรียนทั่วภาคใต้ ครูจำนวน 80,000 คน นักเรียนจำนวน 500,000 คน มีเป้าหมายผลิตนักเรียนให้เด็กมีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นอนาคตสำคัญของชาติหากเยาวชนของชาติติดยาเสพติด มัวเมาในอบาย มุขใครจะรับผิดชอบดังนั้นสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ จึงขอเรียกร้องและให้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1.คัดค้านกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ 2.ในเรื่องกัญชาเสรีนั้นเสนอแนะให้ปิดสภาวะสุญญากาศทันที โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้ชะลอการบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดออกไปก่อน จนกว่าจะมีมาตรการควบคุมที่เพียงพอ หรือประกาศให้กัญชา (ครอบคลุมดอก ยาง สารสกัด และทิงเจอร์ จากดอกและยางกัญชา) เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 (ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ เหมือนมอร์ฟีน และประเทศ ไทยจะไม่ผิดฐานละเมิดอนุสัญญายาเสพติด ปี 1961 และ ปี 1972 ที่ได้ลงนามสัตยาบันไว้อีกด้วย) หรือ นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจในการออกพระราชกำหนดกำหนดให้กัญชายังเป็นยาเสพติดจนกว่าจะมีกฎหมายกัญชาออกมาบังคับใช้เป็นต้น และ 3.หารือหาทางออกร่วมกันเพื่อสร้างชุมชนแห่งศาสนธรรมโดย จัดให้มีกระบวนการรับฟังผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อร่วมกันออก แบบนโยบายทั้งสามที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิมหรือศาสนธรรมเช่นประกาศเป็นปลอดกัญชา ยาเสพติด และอบายมุขทุกชนิด ซึ่งสมาคมสมาพันธ์ยินดีร่วมปรึกษาหารือในการหาทางออกร่วมกันเพื่ออกแบบชุมชนแห่งศาสนธรรมสู่สันติภาพ สันติสุขอย่างยั่งยืน
ทางด้าน นายไพศาล อาแซ นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา กล่าวว่า สำหรับในเรื่องของกัญชา ได้เข้าในวงการนักเรียน – นักศึกษา เป็นเรื่องน่ากลัวมาก ซึ่งจังหวัดยะลา ก็มีนักเรียนที่เรียนอยู่ในระบบเอกชนประมาณ 6 หมื่นกว่าคน ไม่รวมกับโรงเรียนตาดีกา ไม่รวมสถาบันปอเนาะ และไม่รวมของภาครัฐ ซึ่งตรงนี้เองเยาวชนอนาคตจะเป็นอย่างไร การสูบกัญชาซึ่งเป็นห่วงมาก ทางผู้บริหารต้องการให้รัฐบาลคิดถ้าเป็นไปได้ขอให้ดึงกัญชาเสรีให้เป็นยาเสพติดใหม่ ให้เป็นเฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น ภาคใต้ ก็เจ็บปวดกับเหตุการณ์ความรุนแรงมามากพอแล้ว ก็ต้องมาพบกับเรื่องยาเสพติดอีก ด้วยเหตุนี้ก็ต้องมายื่นให้ผู้หลักผู้ใหญ่ จะได้รับรู้ว่าเราไม่ต้องการ ที่ผ่านมาเราก็มีการณรงค์ต่อเนื่องใน รูปแบบของการสร้างจิตสำนึก แต่ละโรง เรียนจะมีการบรรยาย มีการชูป้ายที่หน้าโรงเรียน ในกิจกรรมต่างๆมีการขึ้นป้ายคัดค้านกัญชาเสรี อย่างน้อยสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนได้รู้จักโทษภัยต่างๆ แต่เนื่องจากว่าวันนี้ไม่สามารถมีหลักฐานได้ชัดเจนแต่สามารถดูจากพฤติกรรมที่เห็นว่าพฤติกรรมของคนที่สูบเสพจะมีพฤติกรรมแบบไหน “นายไพศาล กล่าว”.
Discussion about this post