วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุม ชั้น 2 สถาบันสอนภาษามหาวิทยาลัยนครพนม นางกรร ญา ศูนย์คำ วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการดำเนินโครงการ เทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทั้งในและต่างประเทศผ่านกิจกรรมด้านศิลปะร่วมสมัยแขนงต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดการนำอัตลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างสรรค์และพัฒนาต่อยอดก่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจกับประชาชนในชุมชนและท้องถิ่น และจังหวัดนครพนมก็มีวัฒนธรรมการทอผ้ามุก ที่เป็นภูมิปัญญาและมีเอกลักษณ์ทอลายเฉพาะถิ่นสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยปัจจุบันได้มีการประกาศให้ผ้ามุก เป็นผ้าลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครพนม และมีนโยบายในการส่งเสริมและรักษามรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้ ดังนั้นในวันนี้สำนัก งานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนมจึงได้บูรณาการร่วมกับมหาวิทยาลัยนครพนม โดยการสนับสนุนของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดการฝึกอบบรมการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าพื้นเมืองแบบไทยร่วมสมัยให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการในพื้นที่ที่สนใจ จำนวน 30 คน ให้ได้มีความรู้ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดความยั่งยืนในการสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้ามุกให้อยู่คู่กับชาวนครพนมตลอดไป
โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้จะได้รับความรู้เริ่มตั้งแต่การหาจุดเด่น จุดแข็งของผ้าทอมือของแต่ละชุมชน การใช้สีสันเพื่อกำหนดโทนสีให้เข้ากับรูปแบบ การเลือกใช้วัตถุดิบ การใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเครื่องเเต่งกาย เช่น เชื้อแขนยาว ชุดกระ โปรง กางเกงขายาว เสื้อสูท เสื้อพื้นเมือง เสื้อเดรสสั้น เสื้อคลุม เสื้อโค้ช กางเกงลำลอง รวมถึงการพัฒนาให้เป็นเครื่องประดับ เช่น ผ้าสไบ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ หมวก รองเท้า นาฬิกา สร้อยข้อมือ กำไล เข็มขัด พวงกุญแจ กระเป๋า และพัฒนาให้เป็นของแต่งบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หมอนอิง เบาะรองนั่ง ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ผ้ารองจาน ผ้าคาดโต๊ะ ผ้าเช็ดมือ ผ้ากันเปื้อน และผ้าแขวนผนัง ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบต้องมีความทันสมัยตอบโจทย์ลูกค้าในหลากหลายกลุ่มและช่วงอายุ นอกจากนี้ทางมหา วิทยาลัยนครพนมยังได้เอาต้น แบบที่กำลังอยู่ระหว่างการขอจดสิทธิบัตรมาให้ทุกคนได้ชม เพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจในการออกแบบและการรักษาสิทธิ์ของตัวเองให้คงอยู่กับลูกหลานตลอดไป
โดยในโอกาสนี้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนมยังได้จัดให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้มีการประกวดการออกแบบเครื่องแต่งกายแบบไทยร่วมสมัยด้วยผ้าพื้นเมืองของจังหวัดนครพนมด้วย ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนจากแนวคิดในการออกแบบ การใส่ความคิดสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับหัวข้อการประกวด การนำเทคนิคต่างที่ได้อบรมมาใช้ในการออกแบบ และผลงานสามารถนำไปใช้ประ โยชน์ได้ หากใครชนะจะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร พร้อมกับการนำผลงานไปจัดแสดงในวันที่มีการจัดประชุมประจำเดือนของจังหวัดนครพนมเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับคณะหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราช การ เจ้าหน้าที่ ได้นำไปขยายต่อยังประชาชนในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับทุกคน.
Discussion about this post