
ขณะเดียวกันทางเขื่อนฯได้มอบพันธุ์ปลาให้กับกลุ่มเกษตรกร 9 แห่ง เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำริบเขื่อนสร้างแหล่งอาหารโปรตีนให้กับชุมชน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย โดยนางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานพัฒนาไฟฟ้า (ชพผ.) , นายสังวาล พรมสำลี หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร (กธอ-ฟ.) ร่วมกล่าวต้อนรับคณะฯ พร้อมด้วย นายเอกรัฐ สมินทรปัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานพัฒนาไฟฟ้า (อผร.) , นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน (อพพ.) และผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน อชค. , อขว. , อพพ. , อผร. , เขื่อนสิรินธร ร่วมต้อนรับคณะหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกาญจนบุรี , องค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน ในพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าพลัง งานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำฯ เขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผา ภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ นำโดย นายสมหวัง บุญระยอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 40 คน ศึกษาดูงานเชิงประจักษ์งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-Floating Solar Hybrid) กำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ (MWac) ซึ่งก่อนจะเริ่มการบรร ยาย นายธนภัทร ฉัตรสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ-1 (ช.อขว.-1) ได้กล่าวถึงภารกิจของเขื่อนวชิราลงกรณ และ นายวิมลไชย มงคล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ (ช.อชค.) ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจของ ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ (อชค.) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานภารกิจของ กฟผ. พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงไฟฟ้ากับ หัวหน้าส่วนราชการ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเขื่อนวชิราลงกรณ โดยในครั้งร่วมรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและภารกิจในภาพรวมของ กฟผ.เขื่อนสิรินธร จาก นายอาทิตย์ พรคุณา วิศวกรระดับ 10 ทำการแทนหัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนฯ พร้อมฟังบรรยายเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จาก นายนิคม โกเอียม หัวหน้าแผนกประสานงานการดำเนินโครงการ (หกค-พ. อพพ.) และฟังบรรยายสรุปโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนวชิราลงกร จาก นายณัฐ เฑภาสิต (กผศม-พ. อผร.) ณ อาคารช้างน้อย เขื่อนสิรินธร
จากนั้น ได้นำคณะฯ ลงแพท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำไฮบริดใหญ่ที่สุดในโลก ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร โดยมี นายนิคม โกเอียม (หกค-พ. อพพ.) บรรยายระหว่างล่องแพ พร้อมเยี่ยมชมทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) อาคารสิรินธารประภากร และร่วมลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสาน ผัง 16 (เลี้ยงแพะ / ปลาดุกไบโอฟล็อก) บ้านคำวังยาง ตำบลนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร เพื่อเยี่ยมชมการเลี้ยงแพะของทางกลุ่มวิสาหกิจ โดยมี นายวสันต์ สุนทรนิกรกิจ ประธานฯ และสมาชิกกลุ่มฯ ร่วมให้การต้อนรับคณะฯ
ขณะเดียวกันวันนี้ นายอาทิตย์ พรคุณา วิศวกรระดับ 10 ทำการแทนหัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร (วศ.10 ทกท.กธอ-ฟ.)พร้อมด้วย นายนที ศรีสมรรถการ หัว หน้าแผนกประชาสัมพันธ์ฯ เขื่อนสิรินธร (หชขธ-ย.) และผู้ปฏิบัติงานเขื่อนสิรินธร ร่วมมอบพันธุ์ปลา ให้กับชุมชน หน่วยงาน ในพื้นที่รอบเขื่อนสิรินธรและเขื่อนปากมูล เป็นพันธุ์ปลาตะเพียนและปลายี่สก จำนวน 255,000 ตัว เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารโปรตีนสำหรับการบริโภคในชุมชน และสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพประมงท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนหน่วยงาน ในพื้นที่ ณ ศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จำนวน 9 พื้นที่ประกอบด้วย 1. กลุ่มเกษตรบ้านดงเมย ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 15 ถุง (15,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 15 ถุง (15,000 ตัว) 2. แหล่งน้ำสาธารณะ บ้านดงเมย ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 25 ถุง (12,500 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 25 ถุง (12,500 ตัว) 3. สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 50 ถุง (25,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 50 ถุง (25,000 ตัว) 4. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านหนองโดน ตำบลแมด อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 20 ถุง (20,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 20 ถุง (20,000 ตัว) 5. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 30 ถุง (15,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 30 ถุง (15,000 ตัว) 6. แหล่งน้ำสาธารณะ บ้านหนองเรือ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 10 ถุง (5,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 10 ถุง (5,000 ตัว) 7.เกษตรกรบ้านห้วยไผ่ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 10 ถุง (5,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 10 ถุง (5,000 ตัว) 8. วิสาหกิจชุมชนแก๊สชีวภาพบ้านโนนกลาง ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราช ธานี ได้แก่ ปลาตะเพียน 50 ถุง (25,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 50 ถุง (25,000 ตัว) 9. เกษตรกรบ้านโนนปก ตำบลบัวงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้ แก่ ปลาตะเพียน 10 ถุง (5,000 ตัว) , ปลายี่สก จำนวน 10 ถุง (5,000 ตัว).
Discussion about this post