
ที่ห้องประชุม ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสาร คาม นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า พร้อมคณะทำงานลงพื้นที่ จ.มหาสารคาม ติด ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอนงัว ตำบลหนองม่วง พื้น ที่อำเภอบรบือ และตำบลห้วยเตย พื้นที่อำเภอกุดรัง โดยมีตัวแทนชาวบ้านและคณะทำงานภาคีเครือข่ายของคณะก้าวหน้าในพื้นที่ร่วมประชุมสรุปข้อมูลชี้แจงความคืบหน้าและวางแผนพัฒนา ซึ่งล่าสุดแผนงานถือว่าเป็นที่น่าพอใจโดยเฉพาะพื้นที่ ต.ดอนงัง อ.บรบือ ที่เกิดโครงการทำระบบน้ำประปาให้กับพี่น้องประชาชน โดยมีการทำประชาคมขอความเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ ให้ทำโอนระบบน้ำประปาหมู่บ้านที่มีทำงานได้ไม่เต็มที่หลังจากใช้งานเป็นระยะเวลายาวนาน ให้เป็นระบบประปา ในการดูแลของ อบต. ซึ่งผลการประชาคมของประชาชนมีมติเห็นชอบ โดยหลังจากนี้คณะก้าวหน้าจะส่งทีมออก แบบระบบน้ำและผู้มีประสบการณ์ด้านจัดการน้ำเพื่อทำให้น้ำประปาหมู่บ้านเป็นน้ำประปาดื่มได้ เป็นน้ำคุณภาพดีที่ให้ชาวบ้านอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี ซึ่งจะลงมือทำได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป และคาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือนก็จำสามารถให้ประชาชนใช้ประ โยชน์ดื่มกินได้
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบว่าหน่วยงานท้องถื่นในหลายพื้นที่มีความตั้งใจในการแก้ ไขปัญหาให้กับประชาชน แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณและติดขัดเรื่องขั้นตอนการขอรับการช่งยเหลือจากองค์การส่วนกลาง ทำให้ประชา ชนในพื้นที่ได้รับความเดือนร้อน การแก้ไขปัญหาล่าช้าไม่ทันการณ์ ลำพังงบประมาณที่จัดเก็บในท้องถิ่นทำได้เพียงซ่อมแซมถนนหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไม่สามารถขจัดปัญหาได้ทั้ง หมด
ทั้งนี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาเราร่วมสนับสนุนแคมเปญขอรายชื่อจากประชาชน เพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งการแก้ไขรัฐธรรม นูญ หมวด 14 ของรัฐธรรมนูณ พศ.2560 ที่ว่าด้วยองค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่นเนื้อหาใจความหลัก คือ บริการสาธารณะที่อยู่ในท้องถิ่นทั้งหมด อำนาจหลักให้อยู่ที่ท้องถิ่นสามารถจัดสรรดูแลตนเองได้ เพื่อจะได้ไม่เกิดอำนาจทับซ้อน และจัดสรรงบประมาณให้เป็นธรรมมากขึ้นระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น เนื่องจากทุกวันนี้ท้องถิ่นได้รับภารกิจมามากมาย แต่ไม่มีงบประมาณในการจัดสรรภารกิจในการให้บริการสาธารณะที่ได้รับ หากจัดสรรภาษีให้เป็นธรรมระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น จากปัจจุบันส่วนกลางได้ 70% ของรายได้ท้องถิ่น ส่วนท้องถิ่น 7,800 แห่ง แบ่งงบประมาณ 30% ของรายได้ มาเป็น 50:50 เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีงบประมาณเพียงพอที่จะจัดการดูแลบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้กับประชาชน ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เร็วขึ้น สามารถกำหนดอนาคตทิศทางการพัฒนาของท้องถิ่นได้
ที่ผ่านมา กว่าเงินงบประมาณจะเดินทางมาถึงประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ มักจะติดขัดขั้นตอนระบบราชการ ตั้งแต่ทำเรื่องจากท้องถิ่น ไปสู่อำเภอ ผู้ว่าฯ อธิบดีไปจนถึงรัฐมนตรี กว่าจะเข้าถึงงบประมาณก็ล่าช้าและระหว่างทางอาจเกิดปัญหาตัวกลาง หรือที่เรียกว่า “นายหน้าค้างบประมาณ” เกิดปัญหา “เอเย่นต์โครงการ” บ่อเกิดการทุจริตต่าง ๆ แต่ถ้ารัฐเอางบประมาณมาอยู่ใกล้ประชาชน อยู่กับท้องถิ่น ประชาชนกับงบประมาณห่างกันแค่ขั้นเดียวก็จะเกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ นี่คือไอเดียหลักของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปลดล็อคท้องถิ่น ที่จะเข้าสู่วงประชุมร่วมของสมาชิกวุฒิสภาและรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายนนี้.
Discussion about this post