เมื่อวันที่ 8-9 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น.เจ้าหน้าที่สนธิกำลังของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ โดยการอำนวยการสั่งการของนายจีระ ทรงพุฒิ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ นายชาตรี สัทธรรมนุวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้ สจป.ที่ 3 สาขาแพร่ นำโดยนายพิษณุพันธุ์ วงค์ขันธ์ กับพวกนายลอย ใจจูน ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้น่าน เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้น่าน และชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้ศูนย์ป่าไม้น่าน ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ นน.1
(เฉลิมพระเกียรติ) นน.2 (ทุ่งช้าง) นน.3 (สองแคว) นน.4 (ท่าวังผา) นน.6(ปัว) และ นน.5 (เชียงกลาง) , นายเจษฎา เอนกคณา หัวหน้าชุดกับพวก เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 3 ภาคเหนือ กรมป่าไม้ , จนท.อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน , จนท.อุทยานแห่งชาติดอยภูคา , จนท.ตร. ศปทส. ประจำจังหวัดน่าน , จนท.ตร.สภ.บ่อเกลือ , จนท.ตร.ตชด.325 อ.เชียงกลาง , จนท.ตร. ศปทส. ประจำจังหวัดน่าน จนท.ปกครองบ่อเกลือ พร้อมด้วย ผู้นำชุมชนท้องที่ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จนท.กก.4 บก.ปทส. , พร้อมด้วย ผู้นำชุมชนท้องที่ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ร่วมกันตรวจยึด/ดำเนินคดีรีสอร์ท จำนวน 3 แห่งประกอบด้วย 1.ขุนเขาโฮมสเตย์ เนื้อที่ 0-0-48 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 3 รายการ
2.ต่อเวลา ณ สะปัน เนื้อที่ 4-1-10 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 17 หลัง ผู้ต้องหา 1 คน ชื่อนายเชาวลิต สำอาง ราษฎรตำบลปากน้ำสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทร์บุรี
3.แปลงที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ติดรีสอร์ทดอยอิงดาว เนื้อที่ 0-3-99 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 5 รายการ เหตุเกิดท้องที่ป่า บ้านสะปัน ม.1 ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยภูคาและป่าผาแดง/ป่าไม้ 2484 พร้อมได้ความคุมตัว นายชวลิต สำอาง อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 22/3 หมู่ที่ 3 ตำบลปากน้ำสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ในฐานะเจ้าของสถานประกอบการพร้อมทำการตรวจยึด พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกทำลายทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ 4 – 1 – 10 ไร่ แยกเป็นในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง จำนวน 1 – 0 – 58 ไร่ (สิ่งปลูกสร้าง จำนวน 7 หลัง) และอยู่ในพื้นที่ป่าพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 3 – 0 – 52 ไร่ (สิ่งปลูกสร้าง จำนวน 10 หลัง) คิดมูลค่าความเสียหายของรัฐเบื้องต้นในอัตราไร่ ละ 68,244.22 บาท เป็นเงิน จำนวน 291,744.04.บาท ตามมูลค่า ทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สิ่งปลูกสร้างถาวร ประกอบด้วย สำนักงาน,บ้านพักนักท่องเที่ยว,ห้องสุขา,โรงซักล้าง,โกดังเก็บของ,ลานชมวิว และบ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 17 หลัง สูญหาย หรือเสียหายโดยละเอียด
จะได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทำการประเมิน และแจ้งเพิ่มเติมต่อไป โดยกล่าวหาว่ากระทำผิด 1.พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
-มาตรา 54 ประกอบมาตรา 72 ตรี ฐาน “ก่อสร้าง หรือกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
-มาตรา 55 ฐาน “ผู้ใดครอบครองป่าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น”
2.พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
-มาตรา 14 ประกอบมาตรา 31 ฐาน “ยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่”
3.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 – มาตรา 9 มาตรา 108 ทวิ ฐาน “เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้าง หรือเผาป่า ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
4.พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 -มาตรา 21 ฐาน ประกอบมาตรา 65 ฐาน “ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ”
5.พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
-มาตรา 15 ประกอบมาตรา 59 ฐาน “เปิดดำเนินกิจการโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาต”
สืบเนื่องจากคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน ที่ 50/2565 ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบ้านพัก/รีสอร์ท พื้นที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ และบ้านสกาด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการก่อสร้างบ้านพัก/รีสอร์ท เพื่อบริการนักท่องเที่ยว ในพื้นที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ และบ้านสกาด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในเรื่องการใช้ที่ดิน การปลูกสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้าง การบุกรุกลำน้ำตลอดจนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเป็นนายทุนมาจากนอกพื้นที่ และคำสั่งสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ ที่ 32/2565 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เรื่อง ให้เจ้าหน้าที่สนธิกำลังไปตรวจสอบบ้านพัก/รีสอร์ทพื้นที่บ้านสะปัน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ และบ้านสกาด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน ต่อมา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเจ้าหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบบ้านพัก/รีสอร์ท พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงเบื้องต้นในพื้นที่บ้านสะปัน หมู่ที่ 1 ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ได้ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลการครอบครองพื้นที่ของราษฎรในพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ของสถานประกอบการราย “ต่อเวลา ณ สะปัน” เลขที่ 392 หมู่ที่ 1 ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยมีนายชวลิต สำอาง อายุ 35 ปี บ้านเลขที่ 22/3 หมู่ที่ 3 ตำบลปากน้ำสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มาให้การต้อนรับพร้อมทั้งแสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ว่าเป็นเจ้าของสถานประกอบการดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการเข้ามาดำเนินการตรวจสอบให้นายชวลิตฯ ทราบ นายชวลิตฯ รับทราบพร้อมทั้งมีความยินดีและยินยอมให้ความร่วมมือในการนำคณะเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ผลการตรวจสอบจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางที่ดินปรากฏว่า ผู้ครอบครองไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด และจากการตรวจสอบข้อมูลการถือครองที่ดินของราษฎรตามมติครม. 30 มิถุนายน 2541 และมติครม. 26 พฤศจิกายน 2561 ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนมือจากผู้ถือครองที่ดินรายเดิมเป็นผู้ถือครองที่ดินรายใหม่
จริง
จากการสอบถามนายส่ง อินสุด ได้ให้การว่าพื้นที่บริเวณสถานประกอบการ “ต่อเวลา ณ สะปัน”เดิมเป็นของปู่ย่าของตนเองซึ่งได้มอบต่อให้กับมารดาตนเองเพื่อทำประโยชน์ด้านเกษตรกรรมมาโดยตลอด จนกระทั่งมารดาได้มอบให้ตนเองทำประโยชน์ และเมื่อประมาณปี พ.ศ.2563 ตนเองได้ให้นายชวลิต สำอาง ซึ่งเป็นบุตรเขย เข้าไปทำประโยชน์ประกอบกิจการเปิดบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และที่ดินแปลงดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด พร้อมนี้นายส่งฯ ได้มอบเอกสารให้คณะเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบ
จากการสอบถามนายชวลิต สำอาง ได้ให้การว่า เดิมตนเองเป็นคนพื้นเพ จังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้มีภรรยาเป็นบุตรสาวของนายส่งฯ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นทางการ ต่อมานายส่งได้ยกพื้นที่แปลงดังกล่าวให้ตนเองใช้ทำประโยชน์ ตนจึงนำเงินที่ได้จากการค้าขายและทำธุรกิจส่วนตัวประมาณ 2 ล้านบาท มาลงทุนเปิดสถานบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว “ต่อเวลา ณ สะปัน” เมื่อประมาณปีพ.ศ.2564 โดยได้จดทะเบียนพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่ได้ขออนุญาตประกอบกิจการธุรกิจโรงแรม ส่วนการขออนุญาตก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้นตนเองได้เคยยื่นคำขอที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงพญาแล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต สำหรับอัตราค่าใช้จ่ายในการเข้าพักแรม ตนเองจะคิดค่าบริการ หลังละ 3,500 – 4,000 บาทต่อหนึ่งคืนรวมบริการอาหารและบริการรถรับ-ส่ง ส่วนการชำระเงินส่วนใหญ่เก็บเป็ยเงินสด พร้อมนี้นายชวลิตฯ ได้มอบเอกสารให้คณะเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบประกอบคดีดังกล่าวนี้ด้วย โดยมอบให้นายภานุ ชมภูมิ่ง จพป.ชำนาญงาน หน.หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นน.7 (บ่อเกลือ) นำเรื่องราวส่งให้พนักงาน สภ.บ่อเกลือ ดำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเอกสารอ้างอิงจำนวน 2 แห่ง
Discussion about this post