ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจกิจกรรมท่องเที่ยวถ้ำมากยิ่ง และเพื่อให้กิจ กรรมการท่องเที่ยวถ้ำมีอรรถรส ปลอดภัย ชุมชนมีส่วนร่วม และเกิดความยังยืน กรมทรัพยากร ธรณีได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีดำเนินการศึกษา เรื่อง “การประเมินสถาน ภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจัยแวดล้อม ร่องรอยทางประ วัติศาสตร์ของระบบนิเวศถ้ำเขาหินปูนเพื่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการถ้ำเพื่อการท่องเที่ยว : ถ้ำเขาช้างหาย ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง” เพื่อเป็นต้นแบบการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารจัดการถ้ำ เพื่อให้มีการศึกษา สำรวจ วิจัย การพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่น
หลังจากโครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ทีมวิจัย อันประกอบมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และได้รับการสนับสนุนจากวิจัยจากกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการดำเนินการจัดประชุม ระดมความคิดร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น เช่น สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง ฯลฯ หาแนวทางการบริหารจัดการถ้ำเขาช้างหายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งทุกภาคส่วนให้ความสนใจและได้ข้อมูลที่ดีสำหรับจัดทำเป็นนโยบายต่อไป
นอกจากดำเนินการประชุมภาคีเครือข่ายแล้ว ในวันที่ 28 สิงหา คม 2565 ทีมวิจัยยังได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาด้านธรณี ประติมากรรมถ้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ ประวัติศาสตร์ของถ้ำเขาช้างหายให้กับเจ้าหน้าที่ขององค์ การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี และนักเรียนของโรงเรียนที่อยู่โดยรอบถ้ำเขาช้างหาย ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจเป็นอย่างดี และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง
อาจารย์ ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญ จนบุรี ซี่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวส่งท้ายว่า กิจกรรมทั้งสองกิจกรรมที่กล่าวข้างต้นจะทำให้การท่องเที่ยวถ้ำในประเทศ ไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประ ชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงกับถ้ำเขาช้างหายได้รับประโยชน์จากการเที่ยวถ้ำอย่างแท้จริงและยั่งยืน นอกจากนี้แล้ว คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติสามารถนำข้อมูลไปใช้กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารจัดการถ้ำ เพื่อให้มีการศึกษา สำรวจ วิจัย การพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่น ด้วยการกำ หนดกรอบแนวคิดการบริหารจัดการถ้ำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2564-2580) ต่อไป
Discussion about this post