
ผู้สื่อข่าวจังหวัดพัทลุงรายงานว่าเมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 12 ก.ย.นี้ ที่หอประชุมจังหวัดพัทลุง นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)พัทลุง เป็ฯประธานเปิดงานเสวนาขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ ซึ่ง อบจ.พัทลุง ร่วมกับจังหวัดพัทลุง และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวขัองจำนวน 42 องค์กร เข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมกระบวนการ การมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม มีหัวใจส าคัญ คือ การมีส่วนก าหนดของหลากหลายภาคส่วน มีข้อเท็จจริง มีหลักวิชาการรองรับ ผนวกรวมทุกยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน โดยกลไกการขับเคลื่อน ประกอบด้วย 1 สภาขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายก อบจ.พัทลุง กล่าวว่า อบจ.พัทลุง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคส่วนวิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ร่วมกันกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเพื่อขับเคลื่อน แผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง เสนอนโยบายหรือแนวทางในพัฒนาและ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชน ประสานความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ส่วนราชการและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดระบบบริการสาธารณะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ตลอดจนแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ หรือคณะท างานเพื่อดำเนินการใดๆ เพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และจังหวัดพัทลุง ได้ดำเนินการเพื่อกำหนดเป้าหมายของการดำเนินงาน เริ่มจากการเปิดเวทีการประชุม ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ โดยจากเวทีดังกล่าวได้ข้อค้นพบและสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้จำนวน 8 ประเด็นหลัก
1. จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการท าการเกษตรและเป็นแหล่งผลิตทางการ เกษตรที่มีชื่อเสียงสามารถสร้างงาน สร้างรายได้แก่จังหวัด เช่น ยางพารา การปลูกข้าวสังข์หยด การเลี้ยงสัตว์น้ า และปศุสัตว์ (ไก่เนื้อ สุกร โคเนื้อ โคนม) และยังเป็นแหล่งผลิต รวบรวม และแปรรูป ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ปศุสัตว์ น้ านมโค ของภาคใต้ เป็นต้น 2. สภาพภูมิประเทศตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคใต้เชื่อมโยงกับจังหวัดที่เป็นศูนย์กลาง การค้า การเดินทางจากฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ตอนล่าง และเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่าง ประเทศมาเลเซีย
3. มีเหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีปราชญ์ชาวบ้านที่หลากหลาย มีชื่อเสียง ระดับประเทศ ทั้งด้านการเกษตรชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังมีโครงการ พระราชด าริที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนที่เป็นแหล่งศึกษาดูงานของจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียง และ ระดับนานาชาติ สร้างชื่อเสียง รายได้และโอกาสในการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 4. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดมีศักยภาพและมีความหลากหลาย ทั้งด้าน นิเวศธรรมชาติ วัฒนธรรม แหล่งอารยะธรรม มีแหล่งประวัติศาสตร์ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดสู่วิถีชีวิตมากมาย มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพของประชาชนทั้งในจังหวัด และพื้น ใกล้เคียง รวมทั้งในระดับนานาชาติ
5. มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์จากภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของ จังหวัดที่โดดเด่นและมีศักยภาพ สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ชุมชน อย่างหลากหลาย เป็นจ านวน มาก มีที่มาและวิวัฒนาการที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง 6. ระบบการดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิและเชิงพื้นที่ มีความเข้มแข็งในการสร้างเสริม สุขภาพและมีภาคีเครือข่ายในระดับชุมชน หมู่บ้านและต าบลที่มีศักยภาพ และเข้มแข็ง วิถีชีวิต ประชาชนเป็นไปอย่างเรียบง่าย ยังมีค่านิยมการพึ่งตนเองทางสุขภาพ
7. ทรัพยากรทางธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ดินดี น้ าพอเพียง มีพื้นที่ป่าเป็นแหล่ง ต้นน้ าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ า (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ คงความหลากหลาย ทางชีวภาพ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส าคัญของจังหวัด 8. มีสถานศึกษาในทุกระดับ มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ มีผลงานการวิจัยและพัฒนาที่ สามารถรองรับการพัฒนาทางการเกษตร สังคม และการพัฒนาในมิติอื่นๆ ของจังหวัด สำหรับ 8 ประเด็นที่น่าสนใจ ภาคประชาชนได้ดำเนินการเดินหน้าไปไกลแล้ว ภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นขนาดใหญ่ คอยประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน
Discussion about this post