ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home ทุกมุมทั่วไทย

อ่างทอง – เลขาฯ สทนช.ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ยก จ.นครสวรรค์ ตัวอย่างการเตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมล่วงหน้า ชี้บึงบอระเพ็ดถูกใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำก่อนลงพื้นที่ตอนล่างได้เต็มศักยภาพ ก่อนน้ำเหนือลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งประเมินสถานการณ์น้ำเตรียมเปิดศูนย์ส่วนหน้าภาคกลาง จ.ชัยนาท

6 เดือน ago
in ทุกมุมทั่วไทย
Reading Time: 1 min read
2 1
A A
0
อ่างทอง – เลขาฯ สทนช.ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ยก จ.นครสวรรค์ ตัวอย่างการเตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมล่วงหน้า ชี้บึงบอระเพ็ดถูกใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำก่อนลงพื้นที่ตอนล่างได้เต็มศักยภาพ ก่อนน้ำเหนือลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งประเมินสถานการณ์น้ำเตรียมเปิดศูนย์ส่วนหน้าภาคกลาง จ.ชัยนาท
1
SHARES
6
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

วันที่ 13 กันยายน 2565  ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา โดยได้หารือร่วมกับนายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรับฟังการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฤดูฝนของจังหวัดนครสวรรค์ และความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ก่อนลงพื้นที่ต่อไปยังประตูดำ บึงบอระเพ็ด เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำบึงบอระเพ็ด ก่อนเดินทางต่อไปยังเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาและการบริหารจัดการน้ำ ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จ.ชัยนาท ก่อนคณะจะเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ม.3 ต.จรเข้ร้อง อ.ไชโย จ.อ่างทอง ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมปี 2564 ผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามถึงสถานการณ์ หรือจุดพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ ถึง จ.อ่างทอง ว่ามีจุดใดที่ควรเฝ้าระวังหรือเร่งแก้ไขบ้าง

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ต้องชื่นชมจังหวัดนครสวรรค์ที่เป็นด่านหน้าก่อนปริมาณน้ำเหนือไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งจากการรับฟังการเตรียมแผนป้องกันและบรรเทาผลกระทบในช่วงฤดูฝนของจังหวัด ตาม 13 มาตรการของ กอนช. พบว่าดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ตัวอย่างการจัดการน้ำป้องกันผลกระทบในช่วงฤดูฝนในพื้นที่อื่นได้เป็นอย่างดี โดยบูรณาการข้อมูลร่วมกับ กอนช.ในการประเมินติดตามสถานการณ์น้ำในภาพรวม มีการตั้งศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และมอบหมายให้ทุกหน่วยงานแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ทันทีโดยเฉพาะการลดผลกระทบให้กับประชาชน ทั้งในเรื่องการพร่องน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนในช่วงน้ำหลาก อาทิ การใช้บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่หน่วงน้ำก่อนไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง การเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือในการจัดการน้ำและบรรเทาสาธารณภัย การแจกถุงยังชีพ การซ่อมแซมสะพานขาด โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยทหาร ซี่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ สทนช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กอนช. ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานที่พร้อมให้การสนับสนุน ประสานงาน อำนวยการ รวมถึงแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการจัดการมวลน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ กอนช.มีการติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดและสั่งการให้ สทนช.วิเคราะห์ประเมินแนวโน้มการเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคกลางหากสถานการณ์เข้าสู่เงื่อนไขการเปิดศูนย์ฯ ให้เร่งรัดทันที ซี่งในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์กันอีกครั้งก่อนประกาศเปิดศูนย์ฯ ที่ชัดเจนต่อไป

สำหรับสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยาปัจจุบันมีการระบายน้ำผ่านเขื่อน 1,799 ลบ.ม./วินาที ซึ่ง กอนช.ได้เน้นย้ำแผนการระบายน้ำหากมีการปรับแผนการระบายน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนที่มีมากรวมถึงแนวโน้มฝนที่จะตกเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลต่อปริมาณน้ำไหลลง 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ ต้องมีการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าอย่างชัดเจนว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อเตรียมการเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง โดยตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.65) เขื่อนเจ้าพระยาจะเริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันไดในอัตรา 1,800 – 2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันที่เคยท่วมเดิมอาจได้รับผลกระทบ พร้อมยืนยันว่าปริมาณน้ำดังกล่าวจะไม่ลงไปกระทบพื้นที่กทม.อย่างแน่นอน

Tags: อ่างทอง
อ่านเพิ่มเติม
Previous Post

ม.แม่โจ้ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2566” ตั้งเป้าพลิกโฉมองค์กร สู่การเป็นมหาวิทยาลัย กลุ่ม 2

Next Post

ททท.สุราษฎร์ฯ เผยสถานการณ์ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

อำนาจเจริญคณะกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรประจำเขตเลือกตั้งอำเภอเมือง ลงพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1,4 เพื่อให้กำลังใจ และตรวจสอบความเรียบร้อย
การเมืองท้องถิ่น

อำนาจเจริญคณะกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรประจำเขตเลือกตั้งอำเภอเมือง ลงพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1,4 เพื่อให้กำลังใจ และตรวจสอบความเรียบร้อย

21 นาที ago
1
“ศรีสะเกษ” ตร.เร่งล่าโจรใจบาปขโมยตู้บริจาคฉกเงินวัดโยนทิ้งข้างทาง
ที่นี้มีปัญหา

“ศรีสะเกษ” ตร.เร่งล่าโจรใจบาปขโมยตู้บริจาคฉกเงินวัดโยนทิ้งข้างทาง

24 นาที ago
12
คณะสงฆ์จังหวัดนครนายก จัดการประชุมพระสังฆาธิการ ตามมติมหาเถรสมาคม ที่ 143/2546 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566
ทุกมุมทั่วไทย

คณะสงฆ์จังหวัดนครนายก จัดการประชุมพระสังฆาธิการ ตามมติมหาเถรสมาคม ที่ 143/2546 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566

28 นาที ago
1
กลุ่มผู้เสียหายโร่แจ้งความ สองสามีภรรยาเท้าแชร์ ปิดวงเชิดเงินหลบหนีสูญเงินกว่า 10 ล้าน !!
ที่นี้มีปัญหา

กลุ่มผู้เสียหายโร่แจ้งความ สองสามีภรรยาเท้าแชร์ ปิดวงเชิดเงินหลบหนีสูญเงินกว่า 10 ล้าน !!

32 นาที ago
2
Next Post
ททท.สุราษฎร์ฯ เผยสถานการณ์ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

ททท.สุราษฎร์ฯ เผยสถานการณ์ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

คณะสงฆ์จังหวัดนครนายก จัดการประชุมพระสังฆาธิการ ตามมติมหาเถรสมาคม ที่ 143/2546 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566

28 นาที ago
1

อุบลฯ อสม. 4 พันคน แสดงพลังสุดยิ่งใหญ่ รณรงค์ป้องกันโรคอุบัติใหม่ !!

41 นาที ago
4

อุบลฯ 30 ปี ศูนย์อนามัยที่ 10 รวมพลัง อบจ.ขับเคลื่อนสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

43 นาที ago
6

เชิดชูเกียรติ อสม.เมืองน้ำดำ จัดรถโมบายเอกซเรย์เคลื่อนที่ให้บริการประชาชน

3 ชั่วโมง ago
4

นครพนม – กรมควบคุมโรค จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนฯ โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

3 ชั่วโมง ago
3

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : gumpon999@gmail.com
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเราในการนับจำนวนและที่มาของการเข้าชม เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพไซต์ของเราได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดได้รับความนิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และทราบว่าผู้เยี่ยมชมเข้าดูส่วนใดบ้าง ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้จัดเก็บไว้จะถูกรวมไว้ด้วยกัน จึงทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน เราจะไม่ทราบว่าคุณเข้าชมไซต์ของเราเมื่อใด

บันทึกการตั้งค่า