
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ที่ ศาลาอเนกประสงค์ โรงเรียบบ้านบางสำโรง ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการท่าเทียบเรือ บริษัท พีบี มารีน จำกัด โดยมี นายเกรียงศักดิ์ มากมี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน นายวิเชียร สมจิตร ผู้จัดการท่าเรือ พีบี มารีน นายธีรวีร์ ปาติปา ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม บริษัท สิ่งแวด ล้อมสยาม จำกัด พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้องและประชาชนผู้เข้ารับฟังการประชุมฯ
นายวิเชียร กล่าวว่า ท่าเทียบเรือ บริษัท พีบี มารีน จำกัด จัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ตั้งอยู่ที่ 161/1 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินกิจการบริการขนส่งและผ่านท่า ตามใบอนุญาตเลขที่ 001/2553 ให้ก่อสร้างท่า เรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส เป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าประเภทแร่ยิบซั่มที่เปิดดำเนินการอยู่แล้วก่อสร้างภายในเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 30707 ขนาดความยาว 107 เมตร กว้าง 15 เมตร โดยส่วนใหญ่จะรับสินค้าจากกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ยิบซั่ม ในเครือเดียวกันเพื่อขนส่งไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ จึงได้มอบหมายให้ บริษัท สิ่งแวดล้อมสยาม จำกัด ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อ มูลข่าวสารและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นตั้งแต่เริ่มต้น ทางโครงการฯ จึงได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ของท่าเทียบเรือ บริษัท พีบี มารีน จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสาระสำคัญ ความเป็นมา รายละเอียดโครงการ และขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครง การ ภายหลังจากที่ดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เมื่อวันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 ณ วัดท่าทองใหม่ ตำบลบางกุ้ง อ.เมืองสุราษฎร์ ธานี ที่ผ่านมาให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการรับรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อกังวลใจ และข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการ และร่างขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้งรวบรวมแนวคิด ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาโครงการที่เหมาะสม แนว ทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวด ล้อม กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการพัฒนาโครงการฯ และการศึกษาให้สอด คล้องกับความต้องการของชุมชนต่อไป
ทางด้านนายธีรวีร์ ปาติปา ผู้ชำ นาญการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการท่าเทียบเรือฯ เป็นท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าประเภทแร่ยิปชั่ม ที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว ในปัจจุบันเพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นและปริมาณที่ผ่านท่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โครง การจึงจำเป็นต้องทำศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อนำมาประ กอบการขออนุญาตการเปลี่ยน แปลงวัตถุประสงค์การใช้ท่าเทียบเรือให้สามารถรับเรือได้มากกว่า 500 ตันกรอส ต่อกรมเจ้าท่าต่อไป ซึ่งการที่มีโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีประโยชน์หรือผลดีด้านต่างๆ ดังนี้ (1) ทำให้การดำเนินกิจการท่าเทียบเรือของโครงการเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการกำหนด (2) ทำให้เกิดการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมครอบคลุมในทุกด้าน (3) ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชา ชนในท้องถิ่นในการเสนอแนะข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อห่วงกังวลที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะได้ร่วมกันพิจารณามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน (4) ทำให้มีการกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้การดำเนินโครงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด ประกอบด้วย มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (5) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ปรากฎอยู่ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบจากทางราชการแล้ว จะมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมและมีผลทางกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานอนุญาตหรือแม้แต่ภาคประชาชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยติดตามตรวจสอบและกำกับดูแลโครงการต่อไป.
////รัตติยา พูลศิริ/สุราษฎร์ฯ////
Discussion about this post