เมื่อวันที่ 28 ก.ย.65 นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย น.ส.บุษบา โชคสุชาติ รองนายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน นางวาสนา ศรีกาญจนา ประธานคณะกรรม การสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรง เรียนเทศบาลบ้านหัวหิน ร่วมแถลงข่าวการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบโรงเรียนสาธิต มี คณะผู้บริหารเทศบาลฯ ส.ท. ปลัดเทศ บาล ผอ.สถานศึกษา คณะครูและนักเรียน เข้าร่วมรับฟังที่ห้องประ ชุม สำนักงานเทศบาลเมืองหัวหิน พร้อมชมการแสดงละครเวทีเวอร์ ชั่นภาษาอังกฤษ การจัดแสดงผลงานของนักเรียน การแนะนำเครื่องแต่งกายนักเรียนรูปแบบใหม่ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน โดย นายบุญทวี บุญให้ ผอ.โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน
นายนพพร กล่าวว่า การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ จึงมีความต้องการที่จะให้ผลผลิตทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองหัวหินมีคุณ ภาพที่สูงขึ้นจากเดิม โดยเพิ่มความเข้มข้นทางวิชาการจึงเป็นที่มาของการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบโรงเรียนสาธิต การเป็นโรงเรียนสาธิตนั้นจำเป็นต้องมีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์เข้ามาดำเนินการและการกำกับติดตาม ตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรที่เข้มข้นร่วมกันฝึกอบรมเทคนิคการสอนให้กับครูผู้สอน การพัฒ นานวัตกรรมและสื่อการสอน การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนให้ทันสมัย ซึ่งเทศบาลเมืองหัวหินได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชา การกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เขตสนามจันทร์ จ.นครปฐม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ร่วมลงนามเพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยกันพัฒนา เมื่อวันที่ 6 ก.ย.65
“เทศบาลเมืองหัวหิน เลือกโรง เรียนเทศบาลบ้านหัวหินเป็นโรง เรียนนำร่องในการพัฒนาการศึกษาด้วยรูปแบบสาธิต เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านการบริหาร เป็นโรงเรียนที่มีคุณ ภาพในระดับหนึ่ง โดยเริ่มจัดการศึกษาด้วยรูปแบบสาธิติในปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหิน” และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายนักเรียนและครูเป็นรูปแบบใหม่ เพื่อเป็นไปตามอัตลักษณ์และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียน สาธิต การใช้คำว่า “สาธิต” มานำหน้าเทศบาลบ้านหัวหินนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษาถึงมัธยมศึกษาให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถและมีทักษะกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์มากขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันและอนาคต เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนานักเรียน พัฒนาครู ในการสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง ด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม ภาษา ดนตรี กีฬา ศิลปวัฒนธรรม โครงงานและสิ่งประดิษฐ์ระหว่างโรงเรียนและสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีผู้เชี่ยว ชาญทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนและครูให้มีคุณภาพมากขึ้น” นายนพพร กล่าว.
Discussion about this post