
มกธ.โชว์ความสำเร็จ“มหาวิทยา ลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนสี่แยกมหานาค – บางโพงพาง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมจัดกิจกรรม “พยาบาลใจดี” ตรวจสุขภาพฟรีแก่ประชาชน
รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการ “U2T for BCG มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่คณะทำงาน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านหัตถกรรมประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยมี รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มกธ. และประ ธานโครงการ “U2T for BCG มหา วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ซึ่งมีผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชนต่าง ๆ และประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมาร่วมในพิธีปิดโครง การดังกล่างอย่างคับคั่ง
ทั้งนี้ มกธ.เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “U2T for BCG” เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐาน รากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่ง มกธ.ได้ตั้งคณะทำงาน โดยคณาจารย์ ประชาชน และบัณฑิตจบใหม่ให้ดำเนินโครงการร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อร่วมสร้างกลไกในการขับเคลื่อนยกระดับเศรษฐกิจฐานรากแก่ชุมชนต่าง ๆ ให้เข้มแข็ง และสามารถเสริมสร้างรายได้ หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
การดำเนินโครงการ “U2T for BCG” ในส่วนของมกธ.นั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และสอดคล้องตามเป้าหมายของกระทรวง อว. กล่าวคือ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทั้งประชาชนจากชุมชนสี่แยกมหา นาค แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต และชุมชนบางโพงพางรอบ ๆ วัดปริวาสราชสงคราม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเ ทพมหานคร สามารถพัฒนางานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ตะกร้า กระเป๋า กระบุง เป็นต้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากชุมชนในการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้วิชาชีพสรรค์สร้างงานหัตถกรรมจากวัสดุเหลือใช้ในชุมชน และสามารถต่อยอดนำไปพัฒนาสร้างเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง คณะทำงานของมกธ. ยังได้จัดทำสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเสริมช่องทางการสื่อสารทาง การตลาด และเพิ่มช่องทางการขายให้กับตลาดผลไม้ของชุมชนสี่แยกมหานาค และผลิตภัณฑ์ของชุมชนแขวงบางโพงพาง โดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) และเฟสบุ๊ค ไลน์ (Facebook Lite) อีกทั้งได้จัดวางฐานข้อมูลตั้งต้นเชิงประวัติศาสตร์วัดปริวาสราชสงคราม เพื่อเสริมศักยภาพด้านข้อมูลข่าวสารต่อการท่องเที่ยวเชิง และจัดเก็บข้อมูลตามบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกด้าน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชนสำหรับการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตอีกด้วย
ในการนี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มกธ. ได้จัดทีมพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมโครงการ “พยา บาลใจดี” เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพฟรีแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมกธ. ด้วย เช่น ตรวจวัดความดัน น้ำ ตาลในเลือด ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และนำเสนอนวัตกรรมทางการพยาบาล เป็นต้น ซึ่งกิจ กรรมดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนในชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ มกธ.ยังได้จัดกิจกรรมเสานา และถอดบทเรียน “เรื่องเล่า U2T ชุมชนดี วิถีเศรษฐกิจยั่งยืน” และจัดนิทรรศการแสดงผลงานหัตถกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งชุมชนต่าง ๆ ได้พัฒนาขึ้นตามโครงการ“มหาวิท ยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชม และเลือกอุดหนุนได้ตามความสนใจอีกด้วย ณ อาคารสปอร์ต คอมเพล็กซ์ ชั้น 4 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565.
Discussion about this post