พช.นครพนม Live Action นำเสนอความสำเร็จของการดำเนินงาน “กลุ่มนาหว้าโมเดล” ในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ “การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัภฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทย ในงาน Sustainability Expo 2022”
วันที่ 2 ตุลาคม 2565 ที่ศูนย์หัตถกรรมและจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านวัดธาตุประสิทธิ์ บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนายนพดล พลซื่อ นายอำเภอนาหว้า นางรัชต์วรรณ ไวยากรณ์ พัฒนา การอำเภอนาหว้า เจ้าหน้าที่พัฒ นาชุมชนจังหวัด/อำเภอ และสมาชิกกลุ่มนาหว้าโมเดล ดำเนินการกิจกรรม Live Action นำเสนอความสำเร็จของการดำเนินงาน “กลุ่มนาหว้าโมเดล” ในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ “การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทย ในงาน Sustainability Expo 2022” ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินงาน ภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธาน “นาหว้าโมเดล” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี โครงการศิลปาชีพ
นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม นำเสนอว่า สำหรับโครงการสืบสานพระราชปณิธาน “นาหว้าโมเดล” เป็น 1 ใน 8 กิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชนที่ดำเนินงานภายใต้พระดำริ “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 และเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี โครงการศิลปาชีพ และเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกายสิ่งทอ และการอนุรักษ์ผ้าไทยให้เห็นเป็นที่ประ จักษ์ รวมถึงการพัฒนาชุมชนต้นแบบบ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นตัวอย่างชุมชนทอผ้าที่มีเอกลักษณ์ระดับประเทศ ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมผลงานและจัดพิมพ์หนังสือนาหว้าโมเดล ในรูปแบบหนังสือและอิเลคทรอนิกส์ เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ในช่องทางต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ภูมิปัญญาผ้าไทยและเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ที่สามารถนำไปออกแบบตัดเย็บให้ทันสมัยสวมใสได้ในชีวิตประจำวันทุกเพศทุกวัย
สำหรับฐานการเรียนรู้ที่ 1 “นาหว้าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์” พระธาตุประ สิทธิ์ ซึ่งเป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองประจำอำเภอนาหว้าและจังหวัดนครพนม เป็นหนึ่งในพระธาตุประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี โดยชนเผ่าไทญ้อ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2112 และมีการบูรณะต่อเติมมีลักษณะรูปแบบพระธาตุพนม ต่อมาได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุมาบรรจุไว้ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมพระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินต้นบนศาลาโรงธรรม และทรงเยี่ยมราษฎร ณ แผ่นดินนี้ คือ “นาหว้าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์”
นางวงเดือน อุดมเดชาเวทย์ หัวหน้าศิลปาชีพอำเภอนาหว้า และเป็นหนึ่งในราษฎร 6 คน ที่ถวายผ้าไหมแก่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งปี 2515 นำเสนอว่า สำหรับฐานเรียนรู้ที่ 2 ตามรอยต้นกำเนิดศิลปาชีพ ณ กลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2515 ดิฉันได้ถวายผ้าไหมให้กับสมเด็จพระพันปีหลวง พระองค์ทรงตรัสว่า “สวยมากจ๊ะ” ทอเองหรือจ๊ะ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรผ้าไหมแล้ว ทรงพอพระราชหฤทัยและทรงดำริริเริ่มให้ราษฎรชาวนาหว้า ทอผ้าไหมส่งให้สำนักพระราชวังสวนจิตรลดา ตามระบบราชการผ่านอำเภอ/จังหวัด ส่งต่อให้สำนักราชเลขานุการในพระองค์ผนวกเข้าเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ โดยมอบหมายให้คุณหญิงมะลิ มูลศาสตร์สาทร ควบคุมดูแลกิจกรรมของโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2515 ซึ่งเรียกโครงการนี้ว่า “สมาชิกทอผ้าไหมกลุ่มนาหว้า” สมาชิกเริ่มแรกส่วนใหญ่อยู่ที่ตำบลนาหว้า ตำบลนาคูณใหญ่ ต่อมามีการขยายรับสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี เพิ่มจากตำบลท่าเรือ ตำบลนางัว (บ้านนาคอย) และตำบลบ้านเสียว (บ้านโคกสะอาด) ทอผ้าไหมส่งสำนักพระราชวังฯ ต่อเนื่องทุกปี จึงกล่าวกันว่า “เป็นกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกในประ เทศไทยที่ทอผ้าไหมส่งสำนักพระราช วัง” และในปี พ.ศ.2522 สำนักราชเลขานุการในพระองค์ ได้ผนวกเข้าใน “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระ บรมราชินีนาถ” จึงถือว่า สมาชิกทอผ้าไหมกลุ่มนาหว้า เป็นกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
นางรัชต์วรรณ ไวยากรณ์ พัฒนา การอำเภอนาหว้า นำเสนอว่า สำหรับฐานเรียนรู้ที่ 3 “สืบสาน รักษา ต่อยอดภูมิปัญญาทอผ้า สู่ความยั่งยืน” เป็นระยะเวลากว่า 60 ปี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระมหากรุณา ธิคุณต่อการอนุรักษ์และสืบสานการผลิตผ้าจากภูมิปัญญาพื้นถิ่นของชาวไทย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ทรงตั้งพระทัยมั่นที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ ของสม เด็จย่าของพระองค์ ในการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรและทรงทอดพระ เนตรกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มแรกฯ และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทย งานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วัดธาตุประสิทธิ์ และโรงเรียนนาหว้าพิทยาคม ด้วยพระวิสัยทัศน์และพระอัจฉริยภาพของพระองค์หญิงในการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นถิ่นของไทย จึงเป็นที่มาของโครงการตามแนวพระดำริ “นาหว้าโมเดล” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาตนเองทางด้านการถักทอผืนผ้าจากภูมิปัญญาพื้นถิ่น นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัย และเป็นสากล
นายนพดล พลซื่อ นายอำเภอนาหว้า นำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมสาวไหมว่า สำหรับงานฟื้นฟูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในพื้นที่อำเภอนาหว้า ได้ดำเนินการตามพระดำริของพระองค์หญิง ให้มีการฟื้นฟู “การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม” สำหรับโครงการนาหว้า โมเดล เพื่อให้ช่างทอผ้าสามารถนำเส้น ใยจากหนอนไหมไปผลิตผืนผ้าได้ทุกเมื่อตามต้องการ โดยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรเส้นใย โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่า ส่วนราชการ/กำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ /ทต.นาหว้า /ทต.ท่าเรือ /โรงเรียน ซึ่งเราดำเนินการแล้ว 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 ณ ศูนย์ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สวนสาธารณะดอนยาวบ้านนางัว หมู่ที่ 2 ตำบลนางัว พื้นที่ 3 ไร่ ปลูกต้นหม่อน จำนวน 2,800 ต้น มีโรงเลี้ยงไหม จำนวน 3 โรง สามารถเลี้ยงหนอนไหมได้แล้ว 2 รอบ จุดที่ 2 ณ บ้านท่าเรือ ได้ปลูกต้นหม่อน ณ สวนสาธารณะหนองเรือ จำนวน 2 ไร่ 1,800 ต้น และปลูกตามหัวไร่ปลายนา สามารถเลี้ยงไหมได้ 5 รอบ จำนวน 6 โรงเลี้ยง จุดที่ 3 ณ โรงเรยนนางัวราษฎร์รังสรรค์ ปลูกต้นหม่อน จำนวน 300 ต้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน/เยาวชน สืบทอดและเรียนรู้ภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าของบรรพบุรุษ
นางจิรภา แมดมิ่งเหง้า รองประ
ธานกลุ่มทอผไหมบ้านท่าเรือ นำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมย้อมสีธรรมชาติว่า พระองค์หญิงทรงพระราชทานเฉดสีเพื่อนำไปใช้ไล่โทนสีในการย้อมสีธรรมชาติ โดยการย้อมสีธรรมชาติวัตถุดิบหลักจะหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ใบไม้ เปลือกต้นไม้ ให้สีต่าง ๆ อาทิ ใบหูกวาง ใบเพา ใบสมอ จะให้โทนสีเหลือง เปลือกประดู่ จะให้โทนสีน้ำตาล เปลือกมะม่วง จะให้โทนสีเหลือง เป็นต้น
นายนพดล พลซื่อ นายอำเภอนาหว้า นำเสนอเพิ่มเติมว่า การย้อมสีธรรมชาติจะทำให้ผู้ย้อม ผู้ทอ และผู้สวมใส่ ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน อำเภอนาหว้าได้ริเริ่มและรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกส่วนราชการ และชาวอำเภอนาหว้า หันมาปลูกต้นไม้ให้สี ซึ่งเรามีพื้นที่ตัวอย่างที่ปลูกไปแล้ว ได้แก่ พื้นที่ศูนย์เรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านนางัว มีปลูกต้นจาน ที่เป็นสัญลักษณ์นาหว้าโมเดล /ต้นหว้า /ต้นสัก /ประดู่ /คูณ/ เพกา /หูกวาง รวมกว่า 1,000 ต้น
นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม นำเสนอเพิ่มเติมว่า ผืนผ้าที่ผ่านการค้น การสืบ การมัด การย้อมสีธรรมชาติ จากเส้นใยไหมที่เลี้ยงเอง ถูกทอออกมาได้อย่างสวยงาม ก็ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะขับเคลื่อนงานสนองพระดำริ ตามภารกิจหลักของ “โครงการนาหว้า โมเดล” คือ การสืบสานภูมิปัญญาหัตถศิลป์พื้นถิ่น การฟื้นฟูลายผ้า การพัฒนาลวด ลายใหม่ให้ทันสมัยสวมใส่ได้ทุกวัยทุกวัน และความเป็นมาของโครงการศิลปาชีพ ในวันนี้เกิดผลสำเร็จ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีอาชีพทอผ้า มีการออกแบบแปร รูปผ้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้มีอาชีพมีงานทำและมีรายได้ เกิดขึ้น ก็ด้วยความร่วมมือและตั้งใจมุ่งมั่นของทุกภาคส่วน ซึ่งจากการดำเนินงานของศูนย์หัตถกรรมและจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านวัดธาตุประสิทธิ์ ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายของ SDGs ใน 3 ประเด็น ดังนี้ ด้านการขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ด้านการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เกิดการจ้างงาน และการมีงานที่เหมาะสม ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ การดำเนินกิจกรรมฯ ครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยเคร่งครัด.
Discussion about this post