วันที่ 9 ต.ค 65 ขบวนแห่จองพาราของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีนี้สุดอลังการงานสร้าง เมื่อช่วงค่ำของคืนวันที่ 8 ตุลาคม 2565 นำโดย นายเชษฐา โมสิก รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่อง สอน นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่อง สอน พร้อมด้วยนายปกรณ์ จีนาคำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่อง สอน และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดินนำขบวนแห่จองพารา ในงานประเพณี “ปอยเหลินสิบเอ็ด” หรืองานเทศกาลออกพรรษา ประจำปี 2565 ที่บริเวณสามแยกหอนาฬิ กา ไปตามถนนขุนลุมประพาส ท่ามกลางประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่รอชมอยู่สองข้างทาง ปีนี้ หน่วยงานและชุมชนต่างๆ ตกแต่งจองพารา สวยงด งามตระการตาเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 12 ขบวน ถือได้ว่าเป็นการแห่จองพาราอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าทุกปี มีผู้ร่วมงานกว่า 2 พันคน ในชุดไทยใหญ่ละลานตา เป็นประ เพณีที่สื่อให้เห็นถึงความเลื่อมใส ต่อความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวไทยใหญ่ ท่ามกลางความชุ่มช่ำของสายฝนที่โปรยลงมาตลอดเส้นทางขบวนแห่ เปียกปอนกันถ้วนหน้า แต่ก็ไม่มีใครท้อถอย โดยมีนางรำหญิงสาวชาวไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ จนไปถึงวัยกลางคน มาฟ้อนรำตามขบวนมากกว่า 300 ชีวิต
ภายในขบวน มีการรำนก รำโต รำกลองก้นยาว รำกลองมองเซิง การฟ้อนรำ โดยขบวนแห่จองพาราไปสิ้นสุด ที่บริเวณสี่แยกใจกลางเมือง นับเป็นระยะทางประมาณ 3 กม. ซึ่งในงานประเพณีแห่จองพาราดังกล่าว ผู้ที่มาร่วมงานส่วนใหญ่จะสวมชุดไต หรือชุดไทยใหญ่ประจำถิ่นของชาวแม่ฮ่อง สอน เป็นที่สวยงามอย่างมาก บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน จากขบวนของแต่ละชุมชนที่เรียกกันว่า “ป๊อก” รวมทั้งหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ในบรรยากาศของเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียง ไม่มีดนตรีสมัยใหม่มาผสม ประกอบกับการแสดงทางวัฒน ธรรม อาทิ กิงกะหล่า นก โต รวมทั้งการละเล่นและดนตรีพื้นบ้านที่แสดงออกถึงความร่าเริง สนุก สนาน เปี่ยมด้วยความเป็นมิตร ไมตรี ต้อนรับผู้มาเยือน
“ สำหรับชาวไทยใหญ่ใน จ.แม่ ฮ่องสอน งานประเพณีแห่จองพารา ถือเป็นงานสำคัญอีกงานหนึ่ง ที่ทุกคนเลื่อมใสและศรัทธาในความเชื่อทางพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และร่วมกันจรรโลงประ เพณีดังกล่าวให้สืบทอดตลอดไป เป็นการร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน “
“จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในวันออกพรรษา ชาวไทยใหญ่เชื่อว่าบ้านใดได้จัดทำจองพาราบูชาพระพุทธเจ้า เชื่อว่าครอบครัวจะมีความสุข หมู่บ้านใดได้ช่วยกันจัดทำจองพาราบูชาไว้ ที่วัดประจำหมู่บ้าน ในช่วงเทศกาลออกพรร ษา มีความเชื่อว่าทุกคนในหมู่บ้านจะมีความสุขกันถ้วนหน้า และส่งผลไปถึงการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ประ กอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ จะได้ผลผลิตดีด้วย
ขบวนแห่จองพารา เป็นกิจกรรมหนึ่งในงานประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด หรืองานประเพณีออกพรรษาของชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นเอก ลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกงานหนึ่ง ปราสาทพระตามคติความเชื่อของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ โดยจะจัดขึ้นในเดือน 11 ระหว่างขึ้น 13-14 ค่ำ ประชาชนจะซื้ออาหารและสิ่งของต่าง ๆ สำหรับไปทำบุญที่วัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เมื่อถึงรุ่งเช้ามืดของวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา จะมีการตักบาตรเทโวโรหณะ ตอนกลางคืนตามบ้านเรือนและวัดต่าง ๆ จะมีการจุดประทีปโดมไฟสว่างไสว มีการแห่ “จองพารา” หรือ “ปรา สาทรับเสด็จพระพุทธเจ้า” ซึ่งตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม มีการแสดงการละเล่นพื้นเมืองและมหร สพต่าง ๆ ซึ่งชาวไทใหญ่มีความเชื่อที่ว่าถ้าได้จัดทำจองพาราหรือปราสาทพระรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่บ้านของตนเองแล้วครอบครัวจะอยู่เย็นเป็นสุข “จองพารา” จะประ กอบด้วยโครงที่ทำจากไม้ไผ่ บุด้วยกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระ ดาษสีบุลายศิลปะชาวไต มีลวด ลายสวยงาม ชาวบ้านจะนำอาหารที่ประกอบด้วย ข้าวสวย ขนม ผลไม้ ใส่ในกระทงใบตองวาง หรือใส่ภาชนะไว้บนจองพารา จุดธูปเทียนกล่าวอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้มาเสด็จประทับที่จองพาราเพื่อเป็นสิริมงคล และจะตั้งไปจนครบ 7 วัน เมื่อสิ้นสุดการบูชา ก็จะนำจองพาราไปทิ้งหรือเผา บ้างก็เก็บเอาไว้
บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุก สนาน จากขบวนของแต่ละชุมชนที่เรียกกันว่า “ป๊อก” รวมทั้งหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา ในบรรยา กาศของเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียง ไม่มีดนตรีสมัยใหม่มาผสม ประกอบกับการแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ กิงกะหล่า นก โต รวมทั้งการละเล่นและดนตรีพื้นบ้านที่แสดงออกถึงความร่าเริง สนุกสนาน เปี่ยมด้วยความเป็นมิตรไมตรี ต้อนรับผู้มาเยือน.
Discussion about this post