วันที่ 27 ต.ค.65 นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน พร้อมด้วย นายพงษ์พีระ ชูชื่น นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน นายนพรัตน์ ศรีพวก รักษาการท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายไพฑูรย์ สำราญไพรวัลย์ รองนายก อบจ.แม่ฮ่องสอน เป็นสักขีพยาน การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ให้ 7 องค์กรท้องถิ่น ประกอบด้วย นายปกรณ์ จีนาคำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่
ฮ่องสอน นายอุกฤษฏ์ แสงาม นายกองค์ อบต.ปางหมู , นายอภิชาต ปัญญามูลวงษา นายก อบต.ผาบ่อง, นายสมศักดิ์ ณ มาดคำ นายก อบต.หมอกจำแป่ , นายนิรันดร์ จันทร์แค้น นายกองค์ อบต.ห้วยผา นาสยอาวุธ ขยันดี นายกอบต.ห้วยโป่ง และ นายไชยา ประหยัดทรัพย์ นายก อบต. ห้วยปูลิง จัดทำโครงการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ให้ได้รับการบริการสาธารณะที่มีประ สิทธิภาพและรวดเร็วเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และการจัดทำบริการสาธารณะ การแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เพื่อนำ ข้อสรุปที่ได้ไปพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กรปก ครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อาทิ เช่น การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การส่งเสริมการกีฬา การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ และกิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนใในท้องถิ่นและการรับฟังปัญหาภายในพื้นที่เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายปกรณ์ จีนาคำ นายกเทศมน ตรีเมืองแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า องค์ กรปกครองท้องถิ่นแต่ละพื้นที่มีความพร้อมที่แตกต่างกัน มีข้อจำกัดในระเบียบ ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึง การทำ MOU ความร่วมมือในการจัดการบริการสาธารณะขององค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นช่องทางที่จะทำให้แต่ละท้องถิ่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ตามศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น เช่น รถบรรทุกน้ำของเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีจำ
นวนมากกว่าท้องถิ่นอื่น ๆ หากท้องถิ่นใกล้เคียงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถบรรทุกน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง ภัยพิบัติต่าง ๆ ก็สามารถประสานกับเทศบาลโดยตรงได้เลย รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรม การศึกษาและอื่น ๆที่ได้ร่วมมือกัน เมื่อก่อนการประสานงานขอความช่วยเหลือระหว่างท้องถิ่นจะต้องทำเป็นหนังสือทำให้เกิดการล้าช้า แต่เมื่อมี MOU เป็นการบูรณาการร่วมกัน เพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันดี ทำให้การทำงานง่ายขึ้นประชาชนได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วขึ้น เป็นการลดงบประมาณท้องถิ่นได้มาก เพราะเพียงอาศัยท้องถิ่นแต่ละแห่งช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ประโยชน์ตกอยู่ที่ประชาชนที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพ.
Discussion about this post