
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการ จ.ประจวบคีรี ขันธ์ เป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ที่ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดฯ มี นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ หัวส่วนราชการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศ ไทย สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฯ สำนักงานทาง หลวงชนบท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ ผู้แทนจากที่ว่าการอำเภอทั้ง 8 อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมประชุม โดยแต่ละอำเภอได้มีการรายงานจุดที่มักมีปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ เช่น พื้นที่ ต.วังพงก์ อ.ปราณบุรี พื้นที่ ต.ไร่เก่า ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด พื้นที่ ต.กุยบุรี อ.กุยบุรี พื้นที่ ต.บ่อนอก ต.อ่าวน้อย ต.คลองวาฬ อ.เมืองประจวบฯ พื้นที่ ต.กำเนิดนพคุณ ต.พงศ์ประศาสน์ ต.แม่รำพึง ต.ธงชัย อ.บางสะพาน ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ได้มีการสำรวจออกแบบระบบระบายน้ำไว้แล้ว แต่ปัญหาน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้กับทางรถไฟ ส่วนหนึ่งมาจากการถมที่ดินของภาคเอกชนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำของร่องน้ำเดิม ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นจะใช้วิธีการขุดลอกร่องระบายน้ำใหม่ให้ไปเชื่อมต่อกับทางระบายน้ำบล็อกคอนเวิร์ตที่การรถไฟฯ สร้างไว้เพื่อเร่งรัดการระบายน้ำออกสู่แหล่งน้ำในพื้นที่ให้เร็วขึ้น
ส่วนอีกจุดคือบริเวณที่เป็นทางลอดใต้ทางรถไฟซึ่งมักมีปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฝนตกหนัก การรถไฟฯ จะประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้ามาดูแล เช่น การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมถึงระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้มีความปลอด ภัยในการสัญจรของประชาชน
ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดฯ มีความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจน โดยถือเป็นเรื่องระดับนโยบายที่อาจจะต้องมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการดูแลได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจังหวัดจะมีการเสนอเรื่องไปยังส่วนกลางดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเพื่อให้เป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาความปลอดภัยบริเวณทางลอดใต้ทางรถไฟ จากการสำรวจตั้งแต่ อ.หัวหิน ถึง อ.บางสะพานน้อย พบว่ามีทางลอดใต้ทางรถไฟรวมจำนวน 21 จุด ซึ่งการรถไฟฯ ยอมรับว่าจำเป็นต้องยกเลิกการใช้งานทางลอดในบางจุดและอาจพิจารณาการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟแทนในจุดที่มีความสำคัญ ขณะที่ทางลอดบางจุดจะยังคงการใช้งานไว้เพราะเห็นถึงความจำเป็นต่อการสัญจรของประชาชนในพื้นที่.
Discussion about this post