
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 ที่ลานวัฒนธรรมข่วงน้อย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงาน “สืบสาน ต่อยอด กับปิดทองหลังพระฯ” เพื่อให้หมู่บ้านต้นแบบปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ใน 3 อำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ผู้แทน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดน่าน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน องค์การบริหารส่วนตำบลศรี
ภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุ ม องค์การบริหารส่วนตำบลขุนน่าน เทศบาลตำบลยอด มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และนายวีรเทพ พิรโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวรายงาน“ภาคีน่าน สืบสาน ต่อยอด”ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกันลงนามในบันทึกความร่วมมือในการสืบสาน ต่อยอด พื้นที่ต้นแบบโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริจังหวัดน่าน สาระสำคัญของบันทึกความร่วมมือดังกล่าว คือ ทุกภาคีการพัฒนาทั้งหมดตกลงที่จะเชื่อมโยงแผนชุมชนที่มีการจัดทำขึ้นก่อนหน้านี้เข้าสู่ระบบราชการปกติ โดยงบประมาณจากทั้งราชการส่วนท้องที่และท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการพัฒนาต่อไป โดยสถาบันปิดทองหลังพระฯ จะยังคงให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้เทคโนโลยี และให้คำปรึกษาต่อไป
ตัวอย่างของความร่วมมือที่เกิดขึ้น อาทิเช่น จังหวัดน่าน อำเภอท่าวังผา สองแคว และเฉลิมพระเกียรติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะให้การสนับสนุนหมู่บ้านต้นแบบในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบรรจุแผนพัฒนาหมู่บ้านในส่วนที่เกินศักยภาพของหมู่บ้าน ไว้ในแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาอำเภอ
แผนพัฒนาจังหวัด และแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกปี เพื่อให้มีงบประมาณและทรัพยากรสำหรับ
ดำเนินการตามแผน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดน่าน จะสนับสนุนด้านการพัฒนาอาชีพการเกษตร
ภายใต้นโยบาย Smart Farmer ส่งเสริมพืชทางเลือกที่มีตลาดรองรับ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูป

การตลาด การจัดการกลุ่มเกษตรกร ทั้งรูปแบบแปลงใหญ่และเกษตรอัจฉริยะ และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จังหวัดน่าน จะเสริมสร้างองค์ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน บัญชี
ตันทุนอาชีพ ให้แก่วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ และเกษตรกร สนับสนุนการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี ในการบริหารจัดการเงินของครัวเรือนและของกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันทางการเงิน สามารถบริหารการเงินของกลุ่มและครัวเรือนได้อย่างโปร่งใส สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน สนับสนุนการกระจายผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่ตลาดในช่องทางหลากหลาย ผลักดันผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านต้นแบบที่มีอัตลักษณ์ เพื่อขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พัฒนาคุณภาพการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพได้
มาตรฐาน เข้าสู่การใช้ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์จังหวัดน่าน (Nan Brand) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา น่าน จะนำงานวิจัย วิชาการ และนวัตกรรม มาพัฒนาการผลิต การแปรรูป เพื่อสร้างอาชีพ
และเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรในหมู่บ้าน เป็นต้น
ขณะที่สถาบันปิดทองหลังพระฯ จะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้หมู่บ้านต้นแบบเป็นแหล่ง เรียนรู้ในลักษณะห้องปฏิบัติการทางสังคม เปิดรับการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน และฝึกอบรม ให้แก่หน่วยงาน ภายนอก รวมทั้งเป็นพื้นที่ทดลององค์ความรู้ใหม่ๆ ความร่วมมือของภาคีการพัฒนาทั้งหมด มีเป้าหมายเพื่อให้หมู่บ้านต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ทั้ง 20 หมู่บ้าน ใน 3 อำเภอ มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันปิดทองหลังพระฯ เข้ามาดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดน่านมาตั้งแต่ปี 2552 มีรูปธรรมความสำเร็จของการพัฒนาตามศาสตร์พระราชา คือ สามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากน้ำได้ 120.214 ไร่ เพิ่มพื้นที่ป่า 209.970 ไร่ ชาวน่านได้รับประโยชน์ 35,735 ครัวเรือน รายได้ภาคการเกษตร ของเกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย ครัวเรือนละ 41,359 บาทต่อปี เป็น 92,645 บาท หรือ ประมาณ 2.2 เท่า
@@@@@@@@@@@@
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน
Discussion about this post