ณัฐวัตร ลาพิงค์/เชียงราย
เมื่อค่ำคืนวันที่ 5พ.ย.2565 ที่บ้านหาดบ้าย ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม “ทอสายบุญ จุลกฐิน ถิ่นไทลื้อ” โดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายให้การต้อนรับ ซึ่งภายในงานมีการแสดงการเล่าเรื่องความเป็นมาขอพี่น้องไทลื้อ การแสดงแสงสีเสียงอย่างยิ่งใหญ่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
ประเพณี “ทอสายบุญ จุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ” ชาวบ้านหาดบ้าย และวัดหาดบ้าย ได้หยุดจัดมา 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 จึงได้มีการสืบสารประเพณีต้องนำกลับมาให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก เพื่อสืบทอดประเพณีนี้ต่อไป และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาท่องเที่ยว ที่บ้านหาดบ้าย
ซึ่งที่บ้านหาดบ้าย เป็นอีกจุดที่ถือว่าเป็นอันซีนไทยแลนด์อีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดินริมแม่น้ำโขงแห่งเดียวในประเทศไทย เนื่องแม่น้ำโขงในประเทศไทยอยู่ทางทิศตะวันออก แต่เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นโค้งแม่น้ำโขง ทำให้ที่บ้านหาดบ้าย เป็นจุดเดียวที่มีพระอาทิตย์ตกดินที่ฝั่งแม่น้ำโขง ถือเป็นความงดงามที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย
สำหรับ“ทอสายบุญ จุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ” เป็นการถวายผ้าจีวรเเด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาช่วงไตรมาส โดยการสืบสานตำนานผ้าทอ ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า “พิธีผ้าทอทันใจ” คือชาวไทลื้อต้องทอผ้าให้เสร็จภายในวันเดียว โดยจะเริ่มจากการเก็บฝ้าย โดยหญิงสาวพรหมจรรย์ แล้วนำมาทอเป็นเส้นผ้าไหม ก่อนจะนำมาทอเป็นผ้าผืนใหญ่ ชาวบ้านจึงค่อยตัดเย็บ ย้อม เเละถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย้ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นชาวบ้านในสมัยก่อนจึงถือกันว่า การทำจุลกฐินมีอานิสงส์มากเพราะต้องใช้ความพยายาม อดทนมากกว่ากฐินเเบบธรรมดา (มหากฐิน)
การจัดงานนี้เป็นประเพณีอันดีงามนี้ และร่วมกันสืบทอดให้คนรุ่นใหม่ ได้เห็นและสามารถนำไปแบบอย่าง ในการส่งเสริมประเพณีที่เก่าแก่เอาไว้ เพราะ “ทอสายบุญ จุลกฐิน ถิ่นไทลื้อโบราณ” ณ บ้านหาดบ้าย ไม่ได้มีเฉพาะการประเพณีที่เก่าแก่ ยังมีการทอผ้าที่ชาวไทลื้อ สืบทอดกันมาและสามารถประกอบเป็นอาชีพเรื่องของผ้าทอ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะได้ต่อไป.
Discussion about this post