จากกรณีชาวบ้านร้องเรียนตรวจสอบถังเหล็กบรรจุน้ำบ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ในโครงการสนับสนุนน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแก้ปัญหาภัยแล้ง ของสำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬ สินธุ์ ที่มีการนำแผ่นเหล็กมาล้อมต่อเรียงกันขึ้นไปตั้งไว้พื้นดิน และใช้พลาสติกรองรับน้ำด้านใน ทำ ให้ชาวบ้านเกรงว่าถังน้ำดังกล่าวจะรับน้ำหนักไม่ไหว และจะใช้ประโยชน์ได้ไม่นานไม่คุ้มงบประ มาณ 5 แสนบาทเพราะไม่เคยเห็นถังลักษณะนี้มาก่อน ซึ่ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดกาฬสินธุ์ และ ป.ป.ช.กาฬสินธุ์ พร้อมเข้ามาตรวจสอบ ตามข่าวที่เสนอแล้วนั้น
ล่าสุดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ (ทสจ.) ทีมข่าวได้เข้าพบ นายยศวัฒน์ เธียรสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ทสจ.กาฬสินธุ์ โดย ผอ.ทสจ.ได้เรียก นายประดิษฐ์ สุดชาดา หน.กลุ่มงานส่วนสิ่งแวดล้อมฯ เป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบโครงการนี้มาชี้แจงแทน เนื่องจาก นายยศวัฒน์ เธียรสวัสดิ์ แจ้งว่า พึ่งเดินทางมารับตำแหน่ง ทสจ. กาฬสินธุ์ แทน นายอัครพงษ์ เขียวแจ่ม ที่ย้ายไป จ.อุบลราชธานี
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ตนรับผิดชอบจำนวน 12 บ่อ จากจำนวน 19 บ่อ ในโครงการสนับสนุนน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแก้ปัญหาภัยแล้ง ของสำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผ่านมาเมื่อมีการร้อง ขอให้ตรวจสอบในเรื่องคุณภาพของโครงสร้างและถังน้ำในลักษณะนี้ หลักการที่ตนได้ดำเนินการนั้นได้อธิบายว่า การประกอบกิจการอุตสาหกรรมต้องขออนุ ญาต สินค้าอุตสาหกรรมที่จะส่งไปให้ผู้อุปโภค บริโภค ต้องปลอด ภัย ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้ประกอบการรายนี้ได้รับรองมาตรฐานโรงงานผลิตในระดับ ISO จึงเห็นว่าในเรื่องของมาตรฐาน มอก.จึงเป็นมาตรฐานที่บังคับอยู่แล้ว
“การก่อสร้างถังน้ำบาดาลในลักษณะนี้เป็นการเทียบเคียงจากถังเหล็กยกสูงของกองทุนพลัง งาน เป็นหอถังสูง โดยหลักการแบบเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ออกแบบ แต่โดยความเป็นราชการ ราชการมีหน้าที่บริการสาธารณะ เรื่องนี้เป็นการทำเพื่อประโยชน์ประชา ชน ซึ่งไม่คุ้นตากับเกษตรกร อาจจะมีความกังวล แต่ขอให้สบายใจได้ การออกแบบ วัสดุที่นำมาดำเนินการ ได้มาตรฐาน การก่อสร้างเป็นไปตามรูปแบบราย การ มีวิศวกรควบคุมงาน ดำเนินการตามรูปแบบมาตรฐาน ยืนยันดำเนินการถูกต้อง” นายประดิษฐ์ กล่าวฯ
ด้าน นายยศวัฒน์ เธียรสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ทสจ.กาฬ สินธุ์ กล่าวว่า ตนเพิ่งย้ายมารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปแล้ว อย่างไรก็ตามจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทราบว่า มีการลงพื้นที่ตรวจสอบที่ถังบ่อบาดาล ใน ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ จ.กาฬ สินธุ์ จำนวน 1 จุด และมีการราย งานไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งนี้ ได้มีการหารือกับผู้รับจ้าง ให้มีแก้ไขโดยติดสายล่อฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงตามที่ชาวบ้านร้องขอมา ขณะที่ในส่วนของการเพิ่มความสูงของเหล็กค้ำยันนั้น ทางผู้รับจ้างและวิศวกรยืนยันถึงความปลอดภัย จึงไม่ได้แก้ไขให้ ซึ่งเท่าที่ทราบโครงการดังกล่าวมีทั้งหมด 19 จุด มีการลงพื้นที่ตรวจสอบเพียง 1 จุด แก้ไขโดยติดตั้งสายล่อฟ้า 12 จุด ส่วนที่เหลืออีก 7 จุด ยังไม่มีรายงานเข้ามา ซึ่งตนจะลงพื้นที่ตรวจสอบด้วยตัวเอง ในกรณี ถังน้ำไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.นั้น เรื่องนี้คงต้องไปดูให้เห็นกับตา เพราะ ถังน้ำในลักษณะนี้ก็ไม่เคยเห็น ซึ่งก็คงต้องตรวจสอบให้ชัดแจ้งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตในโครงการนี้
สำหรับกรณีได้รับการเปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 ชาวบ้านร้องเรียนให้ ดำเนินการตรวจสอบการก่อสร้างบ่อบาดาลทั้ง 19 โครงการ ของทสจ.กาฬสินธุ์ ที่จัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงจ้างแยกงบประมาณโครงการละไม่เกิน 500,000 บาท รวมงบประมาณเกือบ 10 ล้านบาทครั้งนี้ เพราะพบว่าอาจจะมีการแก้ไขแบบแปลน และกำหนดทีโออาร์ขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะถังกักเก็บน้ำเหล็กขนาดกว่า 2 หมื่นลิตร ซึ่งไม่มี มอก. แต่ตั้งราคากลางไว้สูงถังละกว่า 120,000 บาท ทำให้หลายคนสงสัยว่าการออกแบบกำหนดทีโออาร์โครงการนี้ด้วยงบประมาณที่สูงในการก่อสร้างถังบาดาล ทำไมไม่เหมือนกับโครงการถังบาดาลอื่นๆที่เคยทำมา ที่สำคัญเจ้าหน้าที่อ้างว่าได้ใช้แบบคล้ายกับถังน้ำของกรมพลังงานฯ แต่ก็ไม่เคยเห็นถังแบบนี้มาก่อนเนื่องจากการก่อสร้างพบว่ามีการนำแผ่นเหล็กคล้ายแผ่นสังกะสีสรรไทแยกชั้นส่วนมาล้อมต่อเรียงกันขึ้นไป และใช้แผ่นพลาสติกยัดรองน้ำด้านใน ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่การก่อสร้างบ่อบาดาลทั่วไป จึงสงสัยว่าโครงการนี้ฯส่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่รับจ้าง หรือผู้รับเหมาหรือไม่ จึงขอให้หน่วยงาน โดยเฉพาะสำนัก งานตรวจแผ่นดิน (สตง.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และปปช.เข้ามาตรวจสอบทั้ง 19 โครงการ เพื่อประ โยชน์และให้คุ้มค่ากับเงินภาษีของประชาชนและงบประมาณแผ่นดิน.
Discussion about this post