ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home ทุกมุมทั่วไทย

เปิดสูตร(ไม่)ลับ !! ความอร่อย ซีอิ๊วโบราณ เคียงคู่ความอร่อยไก่เบตง

2 เดือน ago
in ทุกมุมทั่วไทย, อาหาร-ร้านเด็ด
Reading Time: 1 min read
14 0
A A
0
เปิดสูตร(ไม่)ลับ !! ความอร่อย ซีอิ๊วโบราณ เคียงคู่ความอร่อยไก่เบตง
8
SHARES
33
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

เปิดสูตรซีอิ๊วโบราณเบตง คู่ความอร่อยไก่สับเบตง ตกทอดจากบรรพบุรุษร้อยปีพิถีพิถันหมัก 6 เดือน กว่าจะวางขายวัฒนธรรมของความเค็มไม่ได้มีแค่เกลือ การนำเกลือมาหมักกับสิ่งอื่นๆ ด้วยความละเมียดละไมเพื่อนำมาปรุงอาหารเป็นภูมิปัญญาของคนในภาคพื้นเอเชีย ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อนบ้านใกล้เคียงนำมาหมักปลาทำให้เรามีน้ำปลาร้ามาปรุงอาหาร ส่วนท้องถิ่นที่ใกล้น้ำจืด น้ำปลาที่ทำจากปลาสร้อยก็เป็นภูมิปัญญาของคนภาคกลางซึ่งปัจจุบันหากินได้ยาก ส่วนท้องถิ่นที่ติดทะเลก็หมักน้ำปลาจากปลากระตักซึ่งเป็นน้ำปลาส่วนใหญ่ที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบัน

จีนเป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ในภูมิภาคนี้ รู้จักใช้ถั่วเหลืองมาหลายพันปี มีการหมักซีอิ๊ว เต้า เจี้ยวกันมานาน จนถึงสมัยราช วงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960-1279) ซีอิ๊วจึงเริ่มเป็นที่นิยมทุกครัวเรือน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ดินแดนใต้สุดแดนสยาม ซึ่งมีชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งได้อพยพเข้ามาอยู่ที่นี่กว่า 200 ปีมาแล้ว ท่านเหล่านั้นต่างได้นำเอาวัฒนธรรมประเพ ณีและอาหารการกินเข้ามาด้วยซึ่ง คุณสุรพงษ์ ดีเกียรติกุล เป็นลูกหลานชาวจีนกวางตุ้งที่อพยพมาตั้งแต่รุ่นพ่อ จนมาถึงรุ่นปัจจุบัน ที่บ้านได้หมักซีอิ๊ว จำหน่ายจนเป็นที่นิยมใช้กันในครัวเรือนของชาวเบตงและภัตตาคาร ร้านอาหาร มากว่า 80 ปีโดยเฉพาะราดคู่กับไก่สับเบตง ทำให้รสชาดกลมกล่อมมากขึ้น

ซีอิ๊วใสเป็นชื่อข้างขวด ซีอิ๊วของเบตง แต่ชื่อจีนกวางตุ้งเรียกว่า “เจียงเชี่ยง” จีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ชิ้วเช้ง ส่วนคนทั่วไปทั้งประเทศเรียกตามคนแต้จิ๋วที่กรุงเทพฯ ว่า ซีอิ๊วขาว ส่วนซีอิ๊วข้น จีนกวางตุ้งเรียก “ชายเหยา” จีนฮกเกี้ยนเรียก เต่าอิ๋ว คนทั่วไปเรียกตามคนแต้จิ๋วกรุงเทพฯ ว่า ซีอิ๊วดำ ส่วนซอสปรุงอาหารหลายยี่ห้อชื่อจีนบ้างไทยบ้างเป็นซอสถั่วเหลืองที่ปรุงแต่งขึ้นมาใหม่ มีใช้ไม่เกิน 40 ปีที่ผ่านมา จนในปัจจุบันมีความรู้สึกสำหรับคนทำอาหารว่าจะขาดไม่ได้เลยทีเดียว

โดยเมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 ผู้สื่อข่าวได้มาที่โรงผลิตซีอิ้ว ตราขี่เฮียง ซึ่ง คุณจิตนา ดีเกียรติกุล ได้บอกวิธีการหมักซีอิ้ว สูตรขี่เฮียง ว่า การหมักซีอิ้วจะ หมักแบบโบราณโดยมีสูตรหรือกรรมวิธีในการหมักถั่วเหลืองให้เป็นซีอิ๊วเป็นสูตรที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งแต่ ละสูตรมีความแตกต่างกัน เริ่มต้นการหมักตามสูตรของ คุณสุรพงษ์ คือนำเมล็ดถั่วเหลืองคุณภาพเกรดเอมาคัดเลือกทีละเมล็ด เอาเมล็ดเสียและสิ่งเจือปนออก โดยถั่วจะซื้อมาเป็นล็อตๆ ใช้หมดแล้วซื้อใหม่เพื่อให้ได้ถั่วที่ใหม่อยู่เสมอ หลังจากนั้น จะนำไปล้างหลายๆ น้ำแล้วแช่น้ำสะอาดที่ผ่านการกรองด้วยเครื่องกรองของที่ร้านก่อนตั้งแต่ตอนค่ำจนกระทั่งถึงเช้าของวันพรุ่งนี้เปลือกถั่วจะเริ่มร่อนออก เวลาใกล้สว่างจะเป็นเวลาที่เริ่มต้มถั่ว โดยใช้น้ำสะอาดใส่ปริมาณให้ท่วมเมล็ดถั่วเหลืองในหม้อสแตนเลสซึ่งสามารถบรรจุถั่วได้ 100 กิโลกรัมพอดี ใช้ไฟแรงในช่วงแรกจนกระทั่งน้ำเดือดแล้วค่อยราไฟให้อ่อนลง ประมาณ 10 โมงเช้าก็จะปิดไฟ รอให้ถั่วเย็นลงโดยปิดฝาให้สนิทจนกระทั่งถึงเช้าอีกวันหนึ่ง เอาถั่วออกมาผึ่งให้พอหมาดๆ ก็นำมาคลุกกับแป้งสาลีให้ทั่ว ใส่ภาชนะแบน ทิ้งไว้ 3 วันในห้องเก็บที่ทำขึ้นมาเฉพาะเพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อน และปราศจากการรบกวนของแมลงต่างๆ

คุณจิตนา บอกอีกว่า หมักอย่างน้อย 6 เดือน ในจำนวนถั่วเหลือง 100 กิโลกรัมจะหมักได้ 4 โอ่งพอดี เมื่อใส่ถั่วเหลืองที่คลุกแป้งสาลีในโอ่งแล้วก็จะละลายน้ำเกลือตามสูตรของที่นี่ซึ่งเป็นน้ำเกลือที่รอจนตกตะกอนแล้วจึงใส่น้ำจนท่วมเมล็ดถั่ว โอ่งที่หมักถั่วเหลืองต้องอยู่กลางแจ้งเพื่อตากแดดทุกวัน โอ่งที่ใช้หมักถั่วเหลืองนี้เป็นโอ่งที่ซื้อมาจากหาดใหญ่เป็นโอ่งที่เหมาะสำหรับใช้หมักโดยเฉพาะอายุแต่ละใบประมาณ 80 กว่าปี ปัจจุบันโรงงานในหาด ใหญ่ไม่ได้ผลิตมานานแล้ว ได้ทดลองใช้โอ่งจากที่อื่นมักมีปัญ หาเรื่องรั่วซึม ในตอนเช้าเมื่อแดดออกจะต้องเปิดฝาไว้เพื่อรับแดดตรงๆ ในช่วงเย็นแดดหมดก็จะปิดฝา ต้องคอยระวังในช่วงหน้าฝนจะต้องปิดฝาไม่ให้มีน้ำฝนตกใส่ ซีอิ๊วที่ดีจะต้องหมักอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงที่แดดดี ถ้าเป็นช่วงที่มีฝนตกมากอาจจะยืดไปถึง 7 เดือน ถั่วเหลืองหมักที่ได้ที่แล้วจะมีกลิ่นหอม น้ำมีสีคล้ำ เมล็ดถั่วเหลืองไม่เปื่อย

เมื่อครบกำหนดหลังจากตรวจดูคุณภาพของถั่วเหลืองที่หมักแล้ว ก็จะกรองเอาแต่น้ำมาต้มให้เดือดประมาณ 15 นาที ซีอิ๊วจะมีกลิ่นหอมตลบ อบอวลไปทั่ว ทิ้งไว้จนเย็นก็นำมาใส่ภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ไว้รอบรรจุขวด สำหรับซีอิ๊วข้นหรือซีอิ๊วดำก็จะใช้น้ำเกลือใส่ในโอ่งเดิมแล้วหมักต่อไปอีก 3 เดือนจะกลายซีอิ๊วข้น โดยไม่ได้ใส่กากน้ำตาลเหมือนซีอิ๊วดำที่เราบริโภคกันในปัจจุบัน

เนื่องจากการหมักซีอิ๊วใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดคือ 6 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก เคยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลมาทำงานวิจัยโดยใช้จุลินทรีย์อื่นมาย่อยสลายสามารถเร่งระยะเวลาได้เร็วกว่าเพียง 1 เดือนเท่านั้นก็เป็นซีอิ๊วแล้ว แต่กลิ่นและรสชาติที่ได้ไม่เหมือนซีอิ๊วสูตรเดิมที่เคยทำ จึงไม่สามารถผลิตมาจำหน่ายได้ ในช่วงเทศกาลกินเจที่ผ่านมา ซีอิ๊วขาว และซีอิ๊วดำ เป็นเครื่องปรุงรสที่ให้ความเค็มในอาหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะน้ำปลาเป็นของคาวที่ไม่ใช้ในเทศกาลกินเจ แต่ “ซีอิ๊วใสและซีอิ๊วข้น ตราตะวัน ผลิตโดย ขี่เฮียง” เป็นผลิต ภัณฑ์ที่ผลิตจากถั่วเหลืองชั้นดี หมักในวิถีธรรมชาติแบบโบราณตามแบบฉบับของชาวจีนเบตง เหมาะสำหรับการใช้ในเทศกาลกินเจนี้เป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่น่าเสียดายที่ลูกหลานของคุณสุร พงษ์ ไม่ได้สืบทอดเจตนาการทำซีอิ๊ว ขี่เฮียง อีกต่อไป เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาหมักนานอีกทั้งมี ต้นทุนสูงไม่คุ้มทุน ประกอบกับแต่ละท่าน ลูกหลาน ต่างไปร่ำเรียนจนจบในระดับปริญาเมื่อเรียนจบต่างมีอาชีพรับราชการและอาชีพอื่นที่มั่นคงกว่า ทำให้ผลิตภัณฑ์ ขี่เฮียง ซีอิ๊วชั้นดี ต้นตำรับพื้นเมืองเบตงไม่มีผู้สืบทอด
อย่างไรก็คาม ผลิตภัณฑ์แปรรูปพื้นบ้านของเรา ถูกเทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบทุนทำลายไปหลายๆ อย่าง ด้วยกรรมวิธีที่ต้องใช้เคมีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจส่งผลต่อสุข ภาพโดยเราไม่รู้ตัว แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแบบวิถีธรรมชาติเป็นกระบวนการปราศจากเคมี ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายต่างถูกทอดทิ้งปราศจากการเหลียวแลของคนรุ่นหลังและเป็นที่น่าเสียดาย ที่คนในปัจจุบันพอใจกับความอร่อย ความทันสมัย บรรจุภัณฑ์ สวย ความสะดวก และอุดหนุนระบบทุน จนลืมรากเหง้าของตัว ซึ่งวันหนึ่งพิษภัยของระบบ นายทุนจะย้อนกลับมาหาตัว หากเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ คนในประเทศเราจะเหลือแค่นาย จ้างกับลูกจ้าง ชีวิตเสรีของคนที่เป็นนายตัวเองก็จะหมดไป

หากสนใจซีอิ๊วหมักแบบพื้นบ้านโบราณกว่า 80 ปีของอำเภอเบตง จังหวัดยะลานำไปปรุงอาหาร ติด ต่อได้ที่ คุณจินตนา ดีเกียรติกุล เบอร์โทรศัพท์ (073) 231-149 หรือติดต่อได้ที่ ถนนสมันตรัฐ ซอย 1 เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา.

Tags: ยะลา
อ่านเพิ่มเติม
Previous Post

มทบ.210 ให้การต้อนรับ สนง.ฝ่ายเสนาธิการในพระองค์ 904 พร้อมสำรวจพื้นที่และร่วมประชุมเตรียมการรับเสด็จฯ

Next Post

ช่างซ่อมรถยนต์สุดเจ็บใจ 2 ต่อ สั่งซื้อไอโฟนมือสอง ได้โรลออนใช้แล้วกับเสื้อยืดเก่า เผยถ้าได้ขวดเต็ม 5 ขวด จะไม่มาแจ้งความ

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

กระบะเสยท้ายกระบะ ข้ามเกาะกลางชนประสานงา พ่วง 18 ล้อ เจ็บ 4 ราย !!
ทุกมุมทั่วไทย

กระบะเสยท้ายกระบะ ข้ามเกาะกลางชนประสานงา พ่วง 18 ล้อ เจ็บ 4 ราย !!

1 วัน ago
1
ราชบุรี – พ่อแม่กอดร่างลูกชายร่ำให้ หลังหนีไปเล่นน้ำกับเพื่อนจมน้ำดับ
ทุกมุมทั่วไทย

ราชบุรี – พ่อแม่กอดร่างลูกชายร่ำให้ หลังหนีไปเล่นน้ำกับเพื่อนจมน้ำดับ

1 วัน ago
10
จนท.กรมอุทยานฯ ใช้ยาซึมยิงช้างป่าในชุมชนแม่น้ำคู้ สร้างความผวาให้กับชาวบ้าน หลังเคยทำร้ายคนงานกรีดยางเสียชีวิต !!
ทุกมุมทั่วไทย

จนท.กรมอุทยานฯ ใช้ยาซึมยิงช้างป่าในชุมชนแม่น้ำคู้ สร้างความผวาให้กับชาวบ้าน หลังเคยทำร้ายคนงานกรีดยางเสียชีวิต !!

1 วัน ago
22
ระทึก ไฟไหม้รถจยย.หนุ่มร้านสะดวกซื้อ ลุกท่วมวอดทั้งคัน !!  
ทุกมุมทั่วไทย

ระทึก ไฟไหม้รถจยย.หนุ่มร้านสะดวกซื้อ ลุกท่วมวอดทั้งคัน !!
  

1 วัน ago
2
Next Post
ช่างซ่อมรถยนต์สุดเจ็บใจ 2 ต่อ สั่งซื้อไอโฟนมือสอง ได้โรลออนใช้แล้วกับเสื้อยืดเก่า เผยถ้าได้ขวดเต็ม 5 ขวด จะไม่มาแจ้งความ

ช่างซ่อมรถยนต์สุดเจ็บใจ 2 ต่อ สั่งซื้อไอโฟนมือสอง ได้โรลออนใช้แล้วกับเสื้อยืดเก่า เผยถ้าได้ขวดเต็ม 5 ขวด จะไม่มาแจ้งความ

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

“อรนุช เยี่ยมสมบัติ” ประธานชมรมสตรีไทยดีเด่นกาฬสินธุ์
เดินหน้าบริการสังคม

24 ชั่วโมง ago
3

ผู้ว่าฯ นครพนม ชวนผู้ร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมสะสมบุญเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง กับกิจ กรรมปั่นเพื่อผู้ป่วยมะเร็งยากไร้

24 ชั่วโมง ago
2

กลับมาอีกครั้งกับโยคะริมหาด ในงาน “Hua Hin Yoga Festival 2023” ตลอดเดือนแห่งความรัก

1 วัน ago
23

ประกาศความพร้อมจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์

1 วัน ago
2

ศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดงานประเพณีแห่ไหว้องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์

1 วัน ago
33

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : gumpon999@gmail.com
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเราในการนับจำนวนและที่มาของการเข้าชม เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพไซต์ของเราได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดได้รับความนิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และทราบว่าผู้เยี่ยมชมเข้าดูส่วนใดบ้าง ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้จัดเก็บไว้จะถูกรวมไว้ด้วยกัน จึงทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน เราจะไม่ทราบว่าคุณเข้าชมไซต์ของเราเมื่อใด

บันทึกการตั้งค่า