เมื่อวันที่ 20 พ.ย.65ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดม ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัต กรรม (อว.) เป็นประธานเปิดนิทรรศการ “คันฉ่องส่องเพ็ชร์ : มรดกภูมิปัญญาแห่งพริบพรี” มีนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราช การจังหวัดเพชรบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ จ.เพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราช ภัฏเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ คณะครู อาจารย์ และนักศึกษาให้การต้อนรับ ณ หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เปิดเผยถึงเมืองเพชรบุรีหลังชมนิทรรศการ “คันฉ่องส่องเพ็ชร์ : มรดกภูมิปัญญาแห่งพริบพรี” ว่าเพชรบุรีเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุด ซึ่งได้มาดูด้วยตาตัวเองเล็งเห็นคุณค่าที่ควรเร่งสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อสร้างคนทางด้านศิลปะสุนทรียภาพให้เป็นตระกูลเพชร ซึ่งไม่ใช่เพียงทำเพื่อความดีงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงปาก ท้องของชาวเพชรบุรีและจังหวัดใกล้เคียงในอนาคตด้วย ที่จะทำมาหากินเลี้ยงตนเองด้วยงานศิลปะสุนทรียภาพ ยิ่งวันเวลาผ่านไปเท่าไหร่ ก็จะมีมูลค่า ยิ่งสูงขึ้น สูงขึ้น ยืนยันจากข้อมูลประเทศไทย ขณะนี้ไทยเป็นชาติที่มีมรดกทางวัฒนธรรมหรืออารยธรรมดีเป็นอันดับ 7 ของโลก และเพชรบุรีสามารถนำศักยภาพนี้มาดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งหวังให้ทุกภาคีเครือข่าย คนเมืองเพชรได้ร่วมกันทำให้เมืองเพชรกลับมาเป็นอยุธยาที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ได้ ที่จะยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้าง สรรค์ ที่มีมูลค่าอยู่แล้วให้มีคุณ ภาพสูงยิ่งขึ้นไปอีก และยิ่งไปกว่านั้นศิลปะสุนทรีอารยะของไทย ไม่ได้เป็นของชาติไทยเพียงอย่างเดียวแต่เป็นของเอเชียอาคเนย์ เป็นคุณค่าของโลกด้วย
นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกล่าวย้ำว่า “มรดกอันล้ำค่าของเพชรบุรี มีคุณค่าต่อการศึกษาวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ที่คู่ควรกับการอนุรักษ์ เป็นต้นแบบนิทรรศการศิลปะพื้นบ้าน ที่จะร่วมสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ศิลป กรรมแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาในผลงานศิลปกรรม ที่จับต้องไม่ได้ไปสู่นวัตกรรมที่จับต้องได้
สำหรับการจัดงาน“คันฉ่องส่องเพ็ชร์ : มรดกภูมิปัญญาแห่งพริบพรี” “สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำเสนอผลงานผ่านงานหัตถศิลป์พื้นบ้านที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี โดยได้ร้อยเรียงเรื่องราวของวัตถุจัดแสดงชิ้นต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเพชรบุรี เช่น งานปูนปั้น หัวละครชาตรี หัววัว งานฉลุกระดาษ หนังใหญ่ เทียนแห่นาค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคันฉ่องฝังลายไม้มูกที่เป็นเครื่องสะท้อนเรื่องราวของชาวเพชรบุรีทั้งแง่ความผูกพันกับธรรมชาติและความเชื่อพื้นถิ่น” ผู้สนใจสามารถเข้ารับชมนิทรรศการ “คันฉ่องส่องเพ็ชร์ : มรดกภูมิปัญญาแห่งพริบพรี” เชิดชู ผลงานหัตถ ศิลป์พื้นบ้านเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี สามารถเข้าเยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ หอวัฒนธรรมเฉลิม พระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Discussion about this post