ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
ทอล์คนิวส์ ออนไลน์
No Result
View All Result
Home เกษตร

เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนเฝ้าระวัง ด้วงหมัดผักเข้าทำลายพืชตระกูลกะหล่ำ หนอนกระทู้หอมในหอมแดง แนะวิธีป้องกัน !!

2 เดือน ago
in เกษตร
Reading Time: 1 min read
10 0
A A
0
เกษตรจังหวัดนครพนม เตือนเฝ้าระวัง ด้วงหมัดผักเข้าทำลายพืชตระกูลกะหล่ำ หนอนกระทู้หอมในหอมแดง แนะวิธีป้องกัน !!
6
SHARES
23
VIEWS
Share on FacebookTwitterLINE

วันที่ 8 ธ.ค.65 นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวนผักควรระมัดระวังด้วงหมัดผักเข้าทำลายผลผลิต ซึ่งด้วงหมัดผักสามารถพบการระบาดอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในแหล่งปลูกผักเก่าที่เป็นการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอและหากพบตัวแมลง หรือใบพืชผักถูกกัดกินเป็นรูพรุน ให้รีบดำเนินการป้องกัน หรือขอคำแนะ นำจากเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อการควบคุม และหาทางป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง จากสภาพอากาศในช่วงนี้มีอากาศที่ร้อน สลับมีฝนตกในบางพื้นที่ทำให้การแพร่ระบาดของด้วงหมัดผัก เริ่มมีปริมาณมากขึ้นและมีการเข้าทำ ลายพืชผัก เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว กะหล่ำดอก บรอกโคลี ฯลฯ) ในระยะ ทุกระยะการเจริญ ต้องเตรียมรับมือกับด้วงหมัดผัก ซึ่งตัวอ่อนด้วงหมัดผักจะเข้ากัดกิน หรือชอนไชเข้าไปกินบริเวณโคนต้น หรือรากของผัก ทำให้พืชผักนั้นเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโต และถ้ารากถูกทำลายมากๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ส่วนตัวเต็มวัยจะชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย ด้วงหมัดผักจะชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกลทำให้การแพร่กระจายและเข้าทำลายพืชผักได้และดีรวดเร็ว จึงควรเฝ้าระวังการระบาดอย่างใกล้ชิด โดยในประ เทศไทยจะพบด้วงหมัดผักเข้าทำลายพืชผัก อยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดปีกเหลืองแถบน้ำตาล Phyllotreta flexuosa และ ชนิดปีกด่าหรือปีกสีน้ำเงินเข้ม Phyllotreta chontanica

ด้วงหมัดผัก จะชอบวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มบริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบพืชและตามพื้นดินไข่รูปร่างคล้ายไข่ไก่ขนาด 0.13 x 0.27 มิลลิเมตร สีขาวอมเขียว ผิวเรียบเป็นมันและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนก่อนฟักเป็นตัว ระยะไข่ 3 – 4 วัน ตัวหนอนมีสีขาว ส่วนหัวและส่วนท้องปล้องแรกมีสีน้ำตาล มีจุดสีน้ำ ตาลตามล่าตัวและแผ่นสีน้ำตาลอยู่ทางด้านบนของปล้องสุดท้ายของล่าตัว หนอนอาศัยอยู่ในดิน ระยะหนอน 10 – 14 วัน และเข้าดักแด้ในดิน ส่วนปีกและขาของดักแด้แยกจากล่าตัวเป็นอิสระเคลื่อนไหวได้ ระยะดักแด้ 4 – 5 วัน ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็กความยาวประมาณ 2 – 2.5 มิลลิ เมตร ปีกคู่หน้าสีด่ามีแถบเหลืองสองแถบพาดตามความยาวด้านล่างล่าตัวสีด่าขาคู่หลังขยายใหญ่และโตกว่าขาคู่อื่นๆ หนวดเป็นแบบเส้นด้าย อายุตัวเต็มวัย 30 – 60 วัน ผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง เพศเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 80 – 200 ฟอง ด้วงหมัดผักในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือชนิดปีกเหลืองแถบน้ำตาล และ ชนิดปีกด่าสีน้ำเงินเข้ม แต่มากกว่า 80% เป็นชนิดปีกเหลืองแถบน้ำตาล ด้วงหมัดมีนิสัยที่สังเกตง่ายคือ เมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดโดยอาศัยขาหลัง สามารถดีดตัวไปได้ไกล ด้วงหมัดผักเป็นแมลงปีกแข็งชนิดเดียวที่เป็นศัตรูสำคัญของผักตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้ากวางตุ้ง กะหล่ำดอก ผักกาดหัว ตัวอ่อนของด้วงหมัดผักชอบกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผักทำให้ผักเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโตถ้ารากถูกทำลายมากๆ ก็อาจทำให้ผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดกินด้านล่างของผิวใบทำให้ใบมีรูพรุน อาจกัดกินลำต้น และกลีบดอกด้วยแนว ทางในการการป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้ การไถตากดินไว้เป็นเวลานาน เพื่อทำลายตัวอ่อน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบจะเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง ใช้เชื้อแบค ทีเรีย (บีที) บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เช่น โนโวดอร์เอฟซี โดยพ่นหรือราด ทุก 7 วันหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน การใช้สารฆ่าแมลง เช่น คาร์บาริล 85% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรไทโอฟอส 50% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ๆ ที่มีการระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารฆ่าแมลง เช่น โทลเฟนไพแรด 16% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด และควรพ่นสารสลับกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์เพื่อชะลอการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง

หากเกษตรกรผู้ปลูกผัก พบเห็นการเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก หรือมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน และสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม.

อ่านเพิ่มเติม
Previous Post

เขตอันตราย !! หินบนภูเขาพังถล่ม รองผู้ว่าฯ พัทลุง ประกาศปิดตาย ห้ามเข้าเด็ดขาดรอตรวจสอบ !!

Next Post

ผู้แทนเกษตรชาวสวนยางจากภาคเหนือยื่นหนังสือร้องเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย

คุณอาจสนใจสิ่งเหล่านี้

Related Posts

เปิดฉาก!แล้ว !! “งานเกษตรภาคอีสานปี 66”กลับมาแล้ว ! มข.จัดเกษตรภาคอีสาน ปี66 เต็มรูปแบบหลังโควิด-19ระบาด
การศึกษา

เปิดฉาก!แล้ว !! “งานเกษตรภาคอีสานปี 66”กลับมาแล้ว ! มข.จัดเกษตรภาคอีสาน ปี66 เต็มรูปแบบหลังโควิด-19ระบาด

2 วัน ago
22
ชาวบ้านโอด !! มะนาวลูกละ 8 บาท มะละกอกิโลละ 50 บาท ถั่วฟักยาว แตงกวา ราคาปรับพุ่งขึ้นรายวัน !!
เกษตร

ชาวบ้านโอด !! มะนาวลูกละ 8 บาท มะละกอกิโลละ 50 บาท ถั่วฟักยาว แตงกวา ราคาปรับพุ่งขึ้นรายวัน !!

5 วัน ago
1
สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ประชาสัมพันธ์ผลไม้ประจำฤดู กาล ณ สวนองุ่นแก๊สกับรอง บ้านสวนปากบาง อ.พรหมบุรี
เกษตร

สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ประชาสัมพันธ์ผลไม้ประจำฤดู กาล ณ สวนองุ่นแก๊สกับรอง บ้านสวนปากบาง อ.พรหมบุรี

5 วัน ago
5
ปราจีนบุรี ผู้ใหญ่บ้านปลูกข้าวโพดเหนียวม่วงแต้ม
เกษตร

ปราจีนบุรี ผู้ใหญ่บ้านปลูกข้าวโพดเหนียวม่วงแต้ม

1 สัปดาห์ ago
40
Next Post
ผู้แทนเกษตรชาวสวนยางจากภาคเหนือยื่นหนังสือร้องเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย

ผู้แทนเกษตรชาวสวนยางจากภาคเหนือยื่นหนังสือร้องเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย

Discussion about this post

ประชาสัมพันธ์

“อรนุช เยี่ยมสมบัติ” ประธานชมรมสตรีไทยดีเด่นกาฬสินธุ์
เดินหน้าบริการสังคม

24 ชั่วโมง ago
3

ผู้ว่าฯ นครพนม ชวนผู้ร่วมงานนมัสการองค์พระธาตุพนมสะสมบุญเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง กับกิจ กรรมปั่นเพื่อผู้ป่วยมะเร็งยากไร้

24 ชั่วโมง ago
2

กลับมาอีกครั้งกับโยคะริมหาด ในงาน “Hua Hin Yoga Festival 2023” ตลอดเดือนแห่งความรัก

1 วัน ago
23

ประกาศความพร้อมจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์

1 วัน ago
2

ศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดงานประเพณีแห่ไหว้องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ลำนารายณ์

1 วัน ago
33

ติดต่อเรา

  • โทร : 080-592-9659
  • อีเมล : gumpon999@gmail.com
  • Facebook Fanpage

© 2020 www.talknewsonline.com

No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ข่าวทอล์คนิวส์
    • ข่าวเกษตร
    • กองทัพไทย
    • การเมือง
    • การเมืองท้องถิ่น
    • การศึกษา
    • ท่องเที่ยวและกีฬา
    • อาหาร-ร้านอาหารเด็ด
  • เมืองไทยวันนี้
    • ทุกมุมทั่วไทย
    • ถิ่นสยาม เมืองศรีวิไล
  • กระแสโซเชียล
  • พระพุทธศาสนา
  • ดูดวง
  • ประชาสัมพันธ์
  • ที่นี้มีปัญหา
  • ติดต่อเรา

© 2020 www.talknewsonline.com

Welcome Back!

Login to your account below

Forgotten Password?

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยเราในการนับจำนวนและที่มาของการเข้าชม เพื่อให้เราสามารถวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพไซต์ของเราได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เราทราบว่าหน้าใดได้รับความนิยมมากที่สุดและน้อยที่สุด และทราบว่าผู้เยี่ยมชมเข้าดูส่วนใดบ้าง ข้อมูลทั้งหมดที่คุกกี้เหล่านี้จัดเก็บไว้จะถูกรวมไว้ด้วยกัน จึงทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ หากคุณไม่อนุญาตให้คุกกี้เหล่านี้ทำงาน เราจะไม่ทราบว่าคุณเข้าชมไซต์ของเราเมื่อใด

บันทึกการตั้งค่า