
วันที่ 14 ม.ค. 66 ณ ห้องประชุมแก้วกินรี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายสังศิต พิริยะรัง สรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำกิน ปัญหาโรงงานยางพาราส่งกลิ่นเหม็น และแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรให้กับชาวบ้านตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านดังกล่าวซึ่งได้รับผลกระทบ
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า เป็น การทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการการแก้ปัญหาความยาก จน และความเหลื่อมล้ำ และคณะกรรมการ สว. พบประชาชนภาคอีสานตอนบน เพื่อที่จะมาแก้ไขปัญหาใหญ่ที่สุดที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมา คือ ปัญหาที่ดินในคำป่าหลาย ซึ่งยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งเป็นผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ซึ่งทางอนุกรรมาธิ การ ท่านชีวภาพ ชีวธรรม และเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ชี้แจงให้กับชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านในที่ประชุมได้รับทราบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมน ตรี ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่า ชาวบ้านที่ประสบปัญหาต่าง ๆ สามารถแก้ไขได้ด้วยมติคณะรัฐมนตรี และกฎหมายของป่าไม้ ทำให้ชาวบ้านมีความสบายใจที่จะกลับไปทำมาหากินได้เป็นปกติสุข เป็นการยุติความขัดแย้งต่าง ๆ การดำเนินคดีต่าง ๆ ซึ่งเป็นคดีแห้ง คือคดีไม่มีตัวตน ไม่มีผู้ต้องหา ซึ่งมติของคณะรัฐมนตรีแล้ว ชาวบ้านกลับไปทำมาหากินได้ โดยมีผู้แทนของกลุ่ม พีมูฟ คือ คุณอดิศักดิ์ ฯ ซึ่งเป็นผู้นำประชา ชนมาก็ได้รับทราบแล้ว มีความเข้าใจตรงกัน ระหว่างภาคประชา ชนกับภาครัฐ
ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้มารับฟังปัญหาของชาวบ้าน เช่นเรื่องโรง งานยางในคำป่าหลาย ซึ่งมีอยู่กันจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกินเหม็นก็ดี น้ำเสียก็ดี เรื่องของน้ำยางที่ตกบนถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ วันนี้ประธานบริษัทที่ทำธุรกิจยาง มาเป็นตังแทนชี้แจง ซึ่งมาแสดงความจริงใจที่จะร่วมแก้ปัญหากับประชาชน และได้ขอ ร้องผู้ประกอบการในคำป่าหลาย ได้รวมตัวกันเป็นชมรม เป็นกลุ่มก้อน เป็นสมาคม ร่วมกันทำงานกับประชาชน ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการได้กล่าวอ้างว่า จะพยายามหามาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันกลิ่มเหม็น และน้ำเสียแล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็ไม่พอใจ เพราะว่าได้รับผลกระทบจากกลิ่น และน้ำเสียมีปลาตายเป็นจำนวนมากเป็นประจำ โดยให้ อบจ. เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา และร่วมแก้ไขปัญหาของประชาชนด้วย และเรื่องของไฟฟ้า ถนนหนทาง ได้พูดคุยกับกรมป่าไม้แล้ว ถ้าต้องการให้ทำเป็นจดหมายแจ้งกับกรมป่าไม้ และกรมอุทยาน เพื่อสามารถดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ ไม่เป็นอุปสรรคเลย ขอเพียงขอให้แจ้งให้มีการทำงานร่วมกัน โดยท่านผู้ว่าฯ และนายก อบจ.มุกดาหาร มีความตั้งใจเรื่องปากท้องของชาวบ้าน เรื่องของเกษตรอินทรีย์ คิดว่าในช่วงเวลา 1-2 ปี จะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นชองพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร
ด้านนายอดิศักดิ์ ตุ้มอ่อน ผู้ประ สานงาน หรือกลุ่ม พีมูฟ เปิดเผยว่า จากการที่แก้ไขมาคือมีคณะทำงานมาตั้งแต่ต้นแล้ว บทบาทหนึ่งที่ สว. ลงมานำแนวนโยบายที่มีข้อมูล ก็จะดำเนินนโยบายต่อ จะทำอย่างไรให้พี่น้องไม่ถูกดำเนินคดี ก็พอใจระดับหนึ่ง แต่ว่ายังไม่นิ่งนอนใจมีคดีค้างเก่าอยู่ ไม่มีลายลักษณ์อักษรว่าจะยกคดีไหม ถ้ามีการปลดล็อคคดี พี่น้องจะเข้าทำประโยชน์ได้ ใช้ชีวิตปกติสุข ไม่ต้องหวาดระแวงว่าเจ้าหน้าที่มาไล่จับกุม
กรณีปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่ป่าดงหมู ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนเรื่องที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผลการตรวจสอบพื้นที่แปลงที่ดินที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 67 แปลง เนื้อที่ 649.89 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ตรวจยึด จำนวน 405.54 ไร่ และพื้นที่ไม่ได้ตรวจยึด จำนวน 244.54 ไร่ โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2561 มีแนวทางดังนี้ 1. มีที่ทำกินก่อนปี 2545 จำนวน 144.19 ไร่ ตรวจยึด 6.38 ไร่ ไม่ได้ตรวจยึด 137.81 ไร่ 2. มีที่ทำกินระหว่างปี 2545 – 2557 จำนวน 492.01 ไร่ ตรวจยึด 338.38 ไร่ ไม่ได้ตรวจยึด 90.63 ไร่ 3. ทำกินหลัง ปี 2557 จำนวน 76.69 ไร่ ตรวจยึด 60.78 ไร่ ไม่ได้ตรวจยึด 15.91 ไร่
โดยมติคณะกรรมการตามคำสั่งจังหวัดมุกดาหาร ที่ 2123/2562 ลว 25 มิ.ย. 2562 กำหนดแนวทางดังนี้ ทำกินก่อนปี 2545 เห็นควรผ่อนผันให้ราษฎรเข้าทำกินและระงับการดำเนินคดีกับแปลงที่ถูกยึดพร้อมระงับโครงการปลูกป่า เห็นควรผ่อนผันให้ราษฎรที่ยาก ไร้และไม่มีที่ทำกินเข้าทำประ โยชน์ และระงับการดำเนินคดีกับแปลงที่ถูกตรวจยึด พร้อมระงับโครงการปลูกป่า ร่วมกันพิจารณาแนวทางและกฏหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันปลูกฟื้นฟูป่า
จากการตรวจสอบที่ดินทั้ง 67 แปลง อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดิน จำนวน 20 แปลง ดังนี้ 1.พื้นที่ตรวจยึดดำเนินคดี จำนวน 13 แปลง อยู่ในเขตที่มี พรฎ. ประกาศเขตปฎิรูปที่ดิน แต่ไม่ทับซ้อนการรังวัดจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร 2.พื้นที่ตรวจยึดดำเนินคดีบางส่วน จำนวน 3 แปลง ทับซ้อนการรังวัดจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร 3.พื้นที่ตรวจยึดไม่ดำเนินคดี จำนวน 7 แปลง ทับซ้อนการรังวัดจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร(บางส่วน) หมายเหตุ และมีพื้นที่ตรวจยึดไม่ดำเนินคดี อีกจำนวน 9 แปลง อยู่ในพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ (RF 5 ) ซึ่งที่ดิน จำนวน 9 แปลง ส.ป.ก. ได้มีการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร และอยู่ระหว่างดำเนินการยกเลิกการจัดที่ดินและเพิกถอนเอกสาร ส.ป.ก.4-01 และ4. สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 (ขอนแก่น) ได้หารือกรณีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู แปลงที่ 2 ตำบลคำป่าหลาย ไปยังกรมป่าไม้แล้ว โดยกรมป่าไม้ได้ตอบข้อหารือว่า ข้อหารือดังกล่าวได้เคยมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตอบข้อหารือเป็นแนวทางปฎิบัติในประเด็น การครอบครองเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงหมู แปลงที่ 2 ฯ กรณีพื้นที่ตรวจยึดดำเนินคดีไว้แล้วตามนัยหนังสือสำนักงานป้องกันรักษาป่า และควบคุมไฟป่า ที่ ทส 1605.33/ 2430 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2564..
อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร
Discussion about this post