
วันที่ 20 มกราคม 2566 นายศุภธนิศร์ ภูเวียงจันทร์ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกฟักทองดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เผยว่า ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตร อ.ดอยหล่อ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ฟักทองแฟนซีเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะเชื่อกันว่าเป็นสิ่งมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟักทองแฟนซีสีเหลืองและสีขาวที่มีรูปทรงคล้ายถุง เปรียบเสมือนถุงเงินถุงทอง และเป็นการฟูมฟักเงินทอง ทำให้ได้รับความนิยมนำไปไหว้เจ้าช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับปีจีนเได้ปิดประเทศให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวเทศกาลตรุษจีนแล้ว ทำให้ตลาดฟักทองมีความคึกคัก หลังจากที่เงียบเหงามานานมากว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งกลุ่มได้ปลูกและผลิตฟักทองแฟนซีมากว่า 20 ปีแล้ว และเป็นแห่งเดียวในประเทศ
ช่วงโควิดระบาด ฟักทองเฉลี่ยลูกละ 12-15 บาท ตามขนาดและความสวย ปีนี้ช่วงตรุษจีนได้ตกแต่งผลผลิตให้เข้ากับเทศกาล เพื่อนำไปประดับ หรือไหว้เจ้า ทำให้เพิ่มมูลค่าเป็นลูกละ 50-100 บาท ซึ่งฟักทองดังกล่าว นำไปใช้รับประทานสด และแปรรูปเป็นอาหารคาวและหวานได้ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 6 เดือน มีตลาดส่งออกไปยังมาเลเซีย ลาว กัมพูชา รวมมูลค่าผลผลิตกว่า 15 ล้านบาท
นางธัญญรัตน์ ปาระมี เกษตรอำเภอดอยหล่อ กล่าวว่า ฟักทองแฟนซี เป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่มีปัญหาเรื่องโรค และแมลงรบกวน เนื่องจากพืชตระกูลฟักมีภูมิต้านทานของโรคที่สูง ใช้เวลาปลูกระยะสั้น เพียง 55 วัน ช่วงพฤศจิกายนถึงมกราคม จากนั้นเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ มีต้นทุนปลูกฉลี่ย 5,000-8,000 บาท/ไร่ มีรายได้จากการขายผลผลิตเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ไร่ละ 15,000 บาท นับเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ส่วนปีนี้มีพื้นที่ปลูกกว่า 80 ไร่ มีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดรวม 300,000 ลูก แต่ตลาดมีความต้องการ ถึง 500,000 ลูก จำเป็นต้องพัฒนาสายพันธุ์และเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นทเพื่อตอบสนองความต้องการตลาด และผู้บริโภคด้วย
////////
Discussion about this post