
วันที่ 23 มกราคม 2566 เวลา 09.39 น. ที่บริเวณศาลเจ้าเด่นหวั่วโองมู้ ริมแม่น้ำโขงบ้านอาจสามารถ หมู่ 5 ตำบลอาจ สามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 และ นางสาวศุภพานี โพธิ์สุนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนคร พนม เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณี “วันรวมใจไทแสก ประจำปี 2566” โดยมีนายก้องเกียรติ อุเต็น รองผู้อำนวยฝ่ายการพยาบาล รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ และ นายปรีชา บุตรภักดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจ การพิเศษและสวัสดิการ จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ ร่วมในพิธีฯ นายไพรัตน์ สุสิงห์ กำนันตำบลอาจสามารถ เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายปรีชา ศรีสงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจสามารถ เป็นผู้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมพิธีฯ
การจัดงานประเพณี “วันรวมใจไทแสก” ในครั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีชนเผ่าไทแสก 1 ใน 9 ชนเผ่า ของจังหวัดนครพนม ที่มีมาแต่โบราณ จากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิมที่มีบรรพ บุรุษอพยพมาจากจีนและเวียด นาม กระจายมาอยู่ตามชายแดนแม่น้ำโขง ดินแดน 12 ปันนา รวมถึง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว และข้ามฝั่งแม่น้ำโขง มาอยู่ที่ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือ ประมาณ พ.ศ.2367 – 2394
ทุกปีจะจัดช่วงเดือนมกราคม ช่วงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 กิจกรรมสำคัญ มีพิธีกินเตรดเดน เป็นภาษาไทแสก หมายถึงจัดพิธีบวงสรวงไหว้บรรพบุรุษ คล้ายตรุษจีน การแสดงแสกเต้นสาก เพื่อเป็นสิริมงคล แสดงซุ้มวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทแสกของชุมชนต่างๆ สำหรับประเพณี วันรวมใจไทแสก ไฮไลท์สำคัญหลังเสร็จพิธีทำบุญ บวงสรวงไหว้บรรพบุรุษเจ้าปู่โองมู้ คือ การแสดงแสกเต้นสาก เกิดจากพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในอดีตเดิมเพื่อบูชาบวงสรวงบรรพบุรุษ เป็นต้นตำรับหนึ่งเดียวในไทย กระทั่งปัจจุบัน นำมาเป็นการละเล่นแสดงโชว์ในงานพิธีสำคัญ ถือเป็นการแสดงที่ยากต้องใช้ความชำนาญ ใช้ผู้แสดงกว่า 10 คน นำไม้ยาว 2-3 เมตร เป็นคู่ มานั่งกระทบ เป็นจังหวะ เดิมโบราณใช้สากตำข้าว ปัจจุบันได้หันมาใช้ไม้ที่จัดขึ้น เพื่อการแสดงจากนั้นจะมีการจัดคู่รำเป็นคู่ 3 – 5 คู่ จะกระ โดดสลับไปในช่องของไม้ที่กระ ทบกัน ควบคู่กับการรำที่เข้าจังหวะ ถือเป็นการแสดงที่ต้องใช้ความชำนาญ หากผิดพลาดอาจถึงขั้นบาดเจ็บ จะต้องฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
เอกลักษณ์ของชาวไทแสกเดิมจะมีชุดประจำถิ่นจากผ้าฝ้ายสีเข้ม ขลิบสไบสีแดง มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ทุกปี ชาวไทแสกจะต้องมีการทำบุญกราบไหว้สักการบูชา เจ้าเด่นหวั่วปู่โองมู้ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถือเป็นบรรพบุรุษที่ก่อตั้งหมู่บ้าน ดูแลชาวไทแสกมาแต่อดีต จึงได้ร่วมกันจัดสร้างศาลขึ้น เป็นที่รวมจิตใจ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการจัดจำหน่าย สินค้าโอท็อป มีการจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเปิดร้านอาหารเมนูปลาจุ่มในพื้นที่ ขาดไม่ได้ ใครมาเยือนจะต้องได้ชื่นชม ประเพณีแสกเต้นสาก ที่หาดูยาก เป็นการสืบสานพิธีความเชื่อ นำมาสู่การแสดง ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะต้องใช้ความชำนาญหาดูยาก ตื่นตาตื่นใจ และสนุกสนาน ควบคู่กันไป ใครอยากสัมผัสวิถีชีวิต เอก ลักษณ์ วัฒนธรรมชนเผ่าไทแสก อย่าลืมมาเที่ยว ชุมชนไทแสก ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม.
Discussion about this post