ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) บ้านนากลาง หมู่ 9 ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามภาพรวมการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ แปลงใหญ่ผัก จังหวัดพังงา โดยมีนางสาวนิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ผู้บริ หารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ และกลุ่มเกษตรกรร่วมให้การต้อนรับ โดยได้ร่วมกันเก็บผลผลิตผักสลัด พร้อมชิมกันแบบสดๆ และมีเรื่องฮาๆ เมื่อรัฐมนตรีตัดเมล่อนเบิกฤกษ์ให้กับกลุ่มเกษตรกรยัง
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ พร้อมกับซื้อ
เมล่อนที่ตัดในราคา 3,000 บาท แต่เมื่อล้วงเงินจ่าย ปรากฏว่าในกระเป๋ามีแต่กระดาษ ไม่มีเงิน จึงยืมเงินจากอธิบดีกรมส่งเสริมการ เกษตรจ่ายให้กับเกษตรกรสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับผู้ร่วมงาน
นส.เบญจมาศ ส่องแสง ประธานกลุ่มยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดพังงา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกผักของจังหวัดพังงา ผ่านระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงาขึ้นโดยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ ปัจจุบันแปลงใหญ่ผักจังหวัดพังงามีเกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 5 กลุ่ม ใน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพังงา อำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง มีจำนวนสมา ชิกรวม 169 ราย พื้นที่รวม 131 ไร่ 3 งาน โดยได้ปลูกพืชตามความต้องการของตลาด เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือ มะนาว บวบ กวางตุ้ง แตงกวา ตะไคร้ ผักเหลียง เป็นต้น
ในปีพ.ศ. 2566 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการ เกษตร ในการขับเคลื่อนการดำ เนินงานแปลงใหญ่ผักทั้ง 5 แปลงและได้ดำเนินงานเริ่มตั้งแต่การสร้างกระบวนการกลุ่ม การประชุมเพื่อวางแผนการผลิตของกลุ่ม การบริหารจัดการถ่ายทอดความรู้ และการประสานงาน ด้านการตลาดล่วงหน้าโดยเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันความต้องการของตลาดด้านพืชผักปลอดภัยมีทั้งตลาดในท้องถิ่นโรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล รวมทั้งโมเดลเทรด แต่เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มียังไม่เพียงพอและไม่สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการของตลาดได้ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผน เพื่อขยายกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น จากการขับเคลื่อนร่วมกันของหลายภาคส่วนทำให้รู้ว่าจะต้องรวบรวมปัญหาที่พบและวิธีจัดการ และทำเป็นโครงการเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัดพังงา ในการจัดทำคำของบประมาณโครงการ เพื่อการขยายพื้นที่การผลิต รวมทั้งการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาจุดรวบรวมผลผลิต โรงคัดบรรจุตามมาตร ฐาน GMP และกิจกรรม Phangnga wellness Festival ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักกับผู้ประกอบการ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างการท่องเที่ยวและการเกษตร/โดยโครงการต่างๆ/จะเป็นการวางรากฐาน/เพื่อให้เกิดโมเดลเศรษฐ กิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งได้รับการบรรจุเป็นคำของบประมาณจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว ซึ่งในปีงบประ มาณ พ.ศ. 2566 นี้ จังหวัดพังงาได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2,275,000 ในการพัฒนาศักย ภาพการผลิตผัก การฝึกอบรม การจัดทำแปลงต้นแบบการปลูกผัก ระบบเกษตร Smart Farm ยุคดิจิทัล การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสนับสนุนโรงเรือนปลูกผักแบบยกพื้น และปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การปลูกผักโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในอนาคต
ทั้งนี้ จังหวัดพังงามีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 61 แปลง แบ่งเป็น ด้านพืช จำนวน 54 แปลง ปศุสัตว์ จำนวน 6 แปลง และด้านประมง จำนวน 1 แปลง ซึ่งทุกแปลงยังคงดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการคือ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน ทำให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา.
จักรพันธ์ รัตนอาภรณ์ / พังงา
Discussion about this post