วันที่ 31 มกราคม 2566 ที่สำนักจัดการทรัพยา
กรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนแจ่ม ต.แม่แรม อ.แม่ริม กว่า 100 คน นำโดยนายเอกรินทร์นทีไพรวัลย์ ประธานกลุ่มฯ ได้ตั้งแถวและเดินขบวน เพื่อยื่นหนังสือกับนายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1พร้อมขอคัดสำเนาผังแปลงที่ดิน ทะเบียนรายชื่อผู้ครอบครอง ตามมติคณะรัฐมนตรี
(ครม.) วันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เพื่อนำไปใช้ต่อสู้คดีบุกรุก และถือครองพื้นที่โดยมิชอบในศาล มีนายสุรศักดิ์ นัสบุสย์ ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ เป็นผู้รับเรื่องดังกล่าว ตามหนังสือเลขรับที่ 1470 ลงวันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 10.23 น.
ภายหลังรับหนังสือดังกล่าว นายสุรศักดิ์พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ชี้แจงถึงแนวทางบริหารจัดการ เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ม่อนแจ่ม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ริมแบบบูรณาการแนวทางใหม่ โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ อ.แม่แจ่ม ที่เป็นต้นแบบ หรือโมเดล เพื่อนำไปใช้กับพื้นที่ม่อนแจ่ม พร้อมใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ป่าสงวน ก่อนนัดหมายกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อรับสำเนาเอกสารดังกล่าว ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เวลา 10.00 น. ณ ที่ว่าการ อ.แม่ริม ตามลำดับ
นายเอกรินทร์ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯมีสมาชิก 116 ราย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีบุกรุก และถือครองที่ดินโดยมิชอบกว่า 30 รายบางคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบถาม บางคดีอยูระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาล ซึ่งม่อนวิวงามถูกดำเนินคดีเป็นรายแรก เมื่อปี 2563 และมีผู้ถูกดำเนินคดีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ หรือที่พักบนม่อนแจ่มได้รับความเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีราษฎรอา
ศัยกว่า 3,500 คน มีที่ดินครอบครองเพียง2,800 ไร่ เท่านั้น ไม่มีการบุกรุกเพิ่มเติมอย่างใด
การขอคัดสำเนาดังกล่าว เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
ต่อสู้คดีในชั้นศาล เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้นำหลักฐานดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาไต่สวนคดีซึ่งอ้างว่าเอกสารหาย ในช่วงเกิดน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่แล้ว แต่อ้างว่าได้เข้าไปสำรวจรังวัดการถือครองแปลงที่ดินแต่ละราย ตามมติ ครม. 11 พฤษภาคม 2542 แล้ว ตามโครงการจัดการทรัพยากรที่ดิน และป่าไม้ เมื่อปี 2552 หรือ 14 ปีที่ผ่านมา พบว่าราษฎรส่วนใหญ่อยู่อาศัยทำกิน หลัประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 984 แปลง เนื้อที่ 2,799 ไร่ 0 งาน 32 ตารางวา และเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 หรือ 2 จึงได้จัดทำผังแปลงที่ดิน ทะเบียนรายชื่อ ผู้ครอบครองดังกล่าว
“เบื้องต้นพบว่าเอกสารหลักฐานการรังวัดที่ดินตามข้ออ้างเจ้าหน้าที่ เชื่อเป็นเอกสารหลักฐานเท็จ เพราะไม่มีผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้ครอบครองที่ดินข้างเคียง เป็นผู้นำเจ้าหน้าที่เข้าไปรังวัดแปลงที่ดินดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าแสดง และพิสูจน์ในชั้นศาล จึงต้องขอคัดสำเนาเอกสารหลักฐานดังกล่าว เพื่อใช้เป็นหลักฐานโต้แย้งการดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงต้องนำมาพิสูจน์ชั้น
ศาล เพื่อขอความเป็นธรรม เชื่อได้รับความธรรมจากศาลด้วย” นายเอกรินทร์ กล่าว
จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ลงรายชื่อ เพื่อขอคัดสำเนาดังกล่าว เนื่องจากมีส่วนได้เสียการถือครองที่ดิน และการพัฒนาพื้นที่ม่อนแจ่ม เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย ก่อนแยกย้ายกลับภูมิลำเนาตามลำดับ
///////////
Discussion about this post