
วันที่ 9 มีนาคม 2566 นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน เปิดระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนการศึกษา ออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะ ชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่อง สอนครั้งที่1 โดย โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ อาคารอเนกประสงค์ บุญชูตรีทอง โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการออก แบบผังพื้นที่เฉพาะชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ตระหนักถึงความสำคัญ ของการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมือง จากผังเมืองระดับต่างๆ ที่ดำเนินการไว้ไปสู่การปฏิ บัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา อนุรักษ์ พื้นที่ชุมชนและพื้นที่ที่มีความสำคัญ ให้เป็นไปตามกรอบของยุทธศาสตร์ซาติ แผนพัฒนาประเทศระดับต่างๆ ตลอดจนพันธสัญญาระดับนานา ชาติ ให้มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพและอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยการออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะ จะประกอบไปด้วย รูปแบบการพัฒนาอนุรักษ์หรือฟื้นฟูแผน ผังต่างๆโครงการพั ฒนาและการออกแบบรายละเอียดที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปจัดทำงบประมาณ และการก่อสร้างที่เป็นรูปธรรม ได้ดังนั้น เพื่อให้การนำเสนอหลักการ แนวทาง แนวคิด วิธีการพัฒนาพื้นที่ การอนุรักษ์หรือพื้นฟูที่มีศักยภาพอย่างเหมาะสม มีแผนดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ชัดเจน และยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการ และผังเมือง จึงได้ดำเนินการออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้บรรลุวัตถุประสงค์
นายศรัณยู มีทองคำ รองผู้ว่าราช การจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นกระ บวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อการกำหนดแนว ทางและรูปแบบการพัฒนา อนุรักษ์ ชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน แห่งนี้ชุมชนเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่มี “ประวัติศาสตร์” ความเป็นมาอย่างยาวนานที่สะท้อนถึงวิวัฒนาการของชุมชนจากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง “ด้านสังคมและวัฒนธรรม”ที่สะท้อนถึงความศรัทธาและเลื่อมใสในพุทธศาสนา และการดำรงอยู่ของขนบ ธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิต จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และ “ด้านศิลปกรรม” ที่สะท้อนถึงศิลปะสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว และเป็นอัตลักษณ์ การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองของเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และซ้อนทับกับพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่าและชุมชนดั้งเดิม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาหรืออนุรักษ์ที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การดำรงอยู่ของเมืองแม่ฮ่องสอนอย่างยั่งยืน.
Discussion about this post