วันนี้ 15 มีนาคม 2566 ที่ ศาลาจัตุรมุข หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา พล.ต.ต.นเรวิช สุคนธวิท ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมหย่อนบัตรลงคะแนน เลือก ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ มาทำหน้าที่คณะกรรมการข้าราช การตำรวจ ครั้งแรกในรอบ 9 ปี โดย ก.ตร.มีหน้าที่
- กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม และจัดระบบข้าราชการตำรวจ รวมทั้งนโยบายและมาตรฐานการอบรมและพัฒนาข้าราชการตำรวจ 2.ออกกฎ ก.ตร. ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือมีมติเกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ 3. กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับอัตรากำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมและให้บริการแก่ประชาชน 4. พิจารณาให้ความเห็นชอบการคัดเลือกข้าราชการตำรวจ เพื่อดำเนินการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ 5. กำกับดูแลการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราช การตำรวจของผู้บังคับบัญชาทุกขั้นตอนให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้และกฎ ก.ตร.โดยเคร่งครัด
- ประเมินผลการบริหารทรัพยา กรบุคคลของข้าราชการตำรวจ
- เกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการตำรวจไปให้สถานีตำรวจ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่
ตามโครงสร้าง “ก.ตร.” มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน, ผบ.ตร. รองประธาน, กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ก.พ., เลขาธิการ ก.พ.ร., รอง ผบ.ตร. 5 คน (ตามลำดับอาวุโส), จเรตำรวจแห่งชาติ, ผู้ทรงวุฒิประเภท ก. 3 คน และ ข. 3 คน (มาจากเลือกตั้ง) โดยมี ผบช.สง.ก.ตร. เป็นเลขานุการ รอง ผบช.สง.ก.ตร. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิประเภท (ก) ตามกฎหมายมีได้ 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเภท (ข) 3 คน วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี เพียงวาระเดียว มาจากการเลือกตั้ง
กฎหมายบัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาจัดการเลือกตั้งแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม ผู้ที่ได้รับเลือกจะได้เป็นตัวแทนของตำรวจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการสืบทอดอำนาจอย่างเช่นที่เคยเป็นมา.
Discussion about this post